การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20ในคนพิการทางการเคลื่อนไหว เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทนำ: คนพิการเป็นบุคคลที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการมีส่วนร่วมทางสังคมจากผลการศึกษาก่อนหน้าพบปัญหาคนพิการจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิคนพิการที่รัฐจัดไว้ให้ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการรับรู้และเข้าถึงสิทธิคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 20 โดยศึกษาในคนพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นประเภทของคนพิการที่มีจำนวนมากที่สุดในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการข้อมูลสิทธิคนพิการและพัฒนางานด้านคนพิการเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนพิการให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 ในคนพิการทางการเคลื่อนไหว เขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ประเภทเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 ในคนพิการทางการเคลื่อนไหว เขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์จำนวน 366 คน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่าทั้งหมดของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในการสำรวจนี้ 366 คน ได้รับทราบถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา20 ของตนเองในด้านเบี้ยคนพิการมากที่สุดและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ร้อยละ 98.9 โดยการรับรู้บริการล่ามภาษามือน้อยที่สุดคือร้อยละ 13.4 และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ร้อยละ 0.8 ส่วนการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิคนพิการด้านบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ 26 รายการพบว่ารับรู้การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน การเยี่ยมบ้าน กิจกรรมการให้บริการเชิงรุกมากที่สุดร้อยละ 80.0 และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ร้อยละ 72.7 ส่วนการรับรู้สิทธิคนพิการด้านบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์น้อยที่สุดในด้านพลบำบัดร้อยละ 9.6 และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ร้อยละ 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลเป็นหน่วยงานของรัฐที่คนพิการได้รับข้อมูลสิทธิคนพิการมากที่สุดร้อยละ 51.1
สรุป: คนพิการรับรู้และเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 20 ในด้านสวัสดิการเบี้ยความพิการมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการรับรู้และเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลงานด้านคนพิการควรให้ข้อมูลถึงสิทธิประโยชน์และขั้นตอนในการขอรับบริการแก่คนพิการที่พึงจะได้รับในลักษณะเชิงรุกเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้เป็นไปตามพระพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ
คำสำคัญ: คนพิการ สิทธิคนพิการพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 61 ก/หน้า 8/27 กันยายน 2550.

กลุ่มสถิติสุขภาพและภาวะทางสังคม กองสถิติสังคม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. แถลงผล “การสำรวจความ พิการ พ.ศ. 2560”[อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563]. เข้าถึงไค้จาก: URL:http:// www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Re lease/2562/N29-03-62-l.aspx

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสุรินทร์. สถิติจดทะเบียนคนพิการจังหวัดสุรินทร์. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563.]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www. surin.m-society.go.th/

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับคนพิการ(ท.๗๔ XXXXXXXX). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563.]. เข้าถึงได้จาก URL: https:// www.nhso.go.th/files/userfiles/fHe/2016 /02/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9% 88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8% AD%20%E0%B8%97_74.pdf

กนกวรรณ จีนา, พินิจ ทิพย์มณ. ปัญหาทางกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการในการเข้าถึงสิทธิทางการแพทย์. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563], เข้าถึงได้จาก: URL:https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แห่งชาติ-บัณฑิตวิทยาลัยสาขารัฐประคาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. การศึกษาการส่งเสริมอาชีพ และการมีงานทำตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550; 9-44 [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://e-research.sia rn.edu/wp-content/uploads/2013/12/%E0%B8%9 A%E0%B8%97%E0%B8%97_2_24%E0%B8 %AA%E0%B8%8456.pdf.

สาวิตรี รัตนชูชาติ. การเช้าถึงสิทธิชองคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วน หนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ.2552. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563], เข้าถึงได้จาก: URL:http://libraryl.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19570.pdf.

เจิมจันทร์ เดชปั้น. การศึกษาเข้าถึงสิทธิการได้รับบริการคุณภาพชีวิตและการพัฒนาระบบ บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวจังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2559. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2560;1:15-28.

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี พ.ศ.2557. กรมกิจการ ผู้สูงอายุ.[อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563], เข้าถึงได้จาก: URL:http://www. dop.go.th/th/know/2/58.

พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ และคณะ. การติดตามการเข้าถึงสิทธิของคนพิการและการพัฒนารูปแบบ ระบบสวัสดิการที่ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556

กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ. ยกเครื่องบัญชีรายการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ; 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563], เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.nationalhealth.or.th/node/3024.