ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์หลัง 72 ชั่วโมง ของเด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา จำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์โดยเร็วภายหลังเกิดเหตุเพื่อให้แพทย์ได้ตรวจร่างกายเก็บหลักฐานทางคดีพิจารณาให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและยาป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งยาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และป้องกันการตั้งครรภ์ภายใน 72 ชั่วโมงและ 120 ชั่วโมงแรก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์หลัง 72 ชั่วโมง ของเด็กและวัยรุ่นหญิง ภายหลังถูกกระทำชำเรา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา etiognostic research รูปแบบ retrospective cohort design ศึกษาในเด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเราและมารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2563 ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่เข้ารับบริการศูนย์พึ่งได้ เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล สิ่งแวดล้อม และลักษณะเหตุการณ์การกระทำชำเรา ระหว่างกลุ่มผู้เสียหายที่มาเข้ารับบริการหลัง 72 ชั่วโมง กับกลุ่มที่เข้ารับบริการภายใน 72 ชั่วโมง ภายหลังเกิดเหตุกระทำชำเราวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยด้วย univariableและ multivariable logistic regression
ผลการศึกษา: ด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา จำนวน 221 ราย เข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลสุรินทร์หลัง 72 ชั่วโมง 109 คน (ร้อยละ 49.3)และภายใน 72 ชั่วโมง 112 คน (ร้อยละ 50.7) พบปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการหลัง 72 ชั่วโมง คือ มีประวัติเคยถูกกระทำชำเรามาก่อน และถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหลังกระทำชำเราในขณะที่เด็กอายุ ≤8 ปี จะเข้าถึงบริการภายใน 72 ชั่วโมงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น
สรุป: เด็กที่มีประวัติเคยถูกกระทำชำเรามาก่อนและถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหลังกระทำชำเราทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ควรติดตามเสริมพลังแก่ผู้ที่ถูกกระทำชำเรา ครอบครัวและผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องและจัดให้มีช่องทางติดต่อช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการได้รวดเร็วหากถูกกระทำชำเราซ้ำอีก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Responding to children and adolescents who have been sexually abused: WHO clinical guidelines. Switzerland: World Health Organization; 2017.
สิรินทิพย์ สมใจ. เกณฑ์ความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำทางเพศในกฎหมายอาญาไทย. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563;49(1):84-109.
Hillis S, Mercy J, Amobi A, Kress H. Global Prevalence of Past-year Violence Against Children: A Systematic Review and Minimum Estimates. Pediatrics 2016;137(3):e20154079. doi: 10.1542/peds.2015-4079.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563]. ค้นได้จาก:URL: https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/2.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499. มาตรา 276 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบคืนเมื่อ 28 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก : https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=htm.
McCall-Hosenfeld JS, Freund KM, Liebschutz JM. Factors associated with sexual assault and time to presentation. Prev Med 2009;48(6):593-5. doi: 10.1016/j.ypmed.2009.03.016.
Girgira T, Tilahun B, Bacha T. Time to presentation, pattern and immediate health effects of alleged child sexual abuse at two tertiary hospitals in Addis Ababa, Ethiopia. BMC Public Health 2014;14:92. doi: 10.1186/1471-2458-14-92.
Trangkasombat U. Sexual abuse in Thai children: a qualitative study. J Med Assoc Thai 2008;91(9):1461-7.
Classen CC, Palesh OG, Aggarwal R. Sexual revictimization: a review of the empirical literature. Trauma Violence Abuse 2005;6(2):103-29. doi: 10.1177/1524838005275087.
Wallis CRD, Woodworth MD. Child sexual abuse: An examination of individual and abuse characteristics that may impact delays of disclosure. Child Abuse Negl 2020;107:104604. doi: 10.1016/j.chiabu.2020.
Csorba R, Lampé L, Borsos A, Balla L, Póka R, Oláh E. Female child sexual abuse within the family in a Hungarian County. Gynecol Obstet Invest 2006;61(4):188-93. doi: 10.1159/000091274.
Tashjian SM, Goldfarb D, Goodman GS, Quas JA, Edelstein R. Delay in disclosure of non-parental child sexual abuse in the context of emotional and physical maltreatment: A pilot study. Child Abuse Negl 2016;58:149-59. doi: 10.1016/j.chiabu.2016.06.020.
Hornor G, Fischer BA. Child Sexual Abuse Revictimization: Child Demographics, Familial Psychosocial Factors, and Sexual Abuse Case Characteristics. J Forensic Nurs 2016;12(4):151-9. doi: 10.1097/JFN.0000000000000124.
Chen M, Chan KL. Parental absence, child victimization, and psychological well-being in rural China. Child Abuse Negl 2016;59:45-54. doi: 10.1016/j.chiabu.2016.07.009.
Hershkowitz I, Lanes O, Lamb ME. Exploring the disclosure of child sexual abuse with alleged victims and their parents. Child Abuse Negl 2007;31(2):111-23. doi: 10.1016/j.chiabu.2006.09.004.
Dolan CM, Raber MS. Responding to child sexual abuse disclosure. Nurse Pract 2017;42(12):18-26. doi: 10.1097/01.NPR.0000526762.68595.a1.
Kellogg ND, Koek W, Nienow SM. Factors that prevent, prompt, and delay disclosures in female victims of child sexual abuse Child Abuse Negl 2020;101:104360. doi: 10.1016/j.chiabu.2020.104360.
Leach C, Powell MB, Sharman SJ, Anglim J. The Relationship Between Children's Age and Disclosures of Sexual Abuse During Forensic Interviews. Child Maltreat 2017;22(1):79-88. doi: 10.1177/1077559516675723.
Manay N, Collin-Vézina D.. Recipients of children's and adolescents' disclosures of childhood sexual abuse: A systematic review. Child Abuse Negl 2021;116(Pt 1):104192. doi: 10.1016/j.chiabu.2019.104192.
Yurteri N, Erdoğan A, Büken B, Yektaş Ç, Çelik MS. Factors affecting disclosure time of sexual abuse in children and adolescents. Pediatr Int 2021;64(1):e14881. doi: 10.1111/ped.14881.
Walsh K, Zwi K, Woolfenden S, Shlonsky A. School-based education programmes for the prevention of child sexual abuse. Cochrane Database Syst Rev 2015;(4):CD004380. doi: 10.1002/14651858.CD004380.pub3.
McElvaney R, Moore K, O'Reilly K, Turner R, Walsh B, Guerin S. Child sexual abuse disclosures: Does age make a difference?. Child Abuse Negl 2020;99:104121. doi: 10.1016/j.chiabu.2019.104121.
อภิชัย แผลงศร, วรัทพร สิทธิจรูญ. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาเนื่องจากถูกล่วงละเมิดทางเพศ ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. รามาธิบดีเวชสาร 2561;41(1):38-47.