ความวิตกกังวล ความเครียด และการป้องกันตนเองของประชาชนในหมู่บ้านที่ถูกสั่งปิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์

Main Article Content

นิภา สุทธิพันธ์
ทิตยาวดี อินทรางกูร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 -4 ของประเทศไทย พบระบาดเป็นกลุ่มก้อนในครอบครัว ชุมชน ภาครัฐได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมป้องกันการแพร่กระจาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งปิดพื้นที่ห้ามเข้าออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพจิตใจเศรษฐกิจ สังคมของประชาชน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความวิตกกังวล ความเครียด การป้องกันตนเองและผลกระทบที่เกิดขึ้น ของประชาชนในหมู่บ้านที่ถูกสั่งปิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และ ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดระหว่างลักษณะทางประชากร (เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา) และความวิตกกังวล
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบตัดขวาง เลือกเจาะจงหมู่บ้านที่ถูกสั่งปิดในตำบลบ้านยาง สวายจีกและหัววัว อำเภอเมือง บุรีรัมย์ คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 125 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชาชนในหมู่บ้านใช้แบบคัดกรองความวิตกกังวลแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต และแบบสอบถามการป้องกันตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรความวิตกกังวล กับความเครียด โดยใช้Correlation coefficient และ Simple regression
ผลการศึกษา: พบว่าส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลในระดับปานกลางและสูง ร้อยละ 51.2 และ ร้อยละ 27.2 มีความเครียดเล็กน้อยร้อยละ 52 เครียดปานกลางร้อยละ 36.8 ส่วนใหญ่มีการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับดีร้อยละ 83.2 ผลกระทบที่ได้รับจากการถูกสั่งปิดหมู่บ้านที่พบส่วนใหญ่คือ ขาดรายได้ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 44.8 ไม่ได้ขายผลผลิตร้อยละ 23.2 เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด แต่ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.6) และสามารถอธิบายความผันแปรของความเครียดได้ร้อยละ 33.1 (R2 = 0.3)
สรุป: ประชาชนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางถึงสูง มีความเครียดเล็กน้อย มีการป้องกันตนเอง ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเครียด การสั่งปิดหมู่บ้านส่งผลให้ประชาชนขาดรายได้ ดังนั้นควรมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และเฝ้าระวังภาวะทางจิตใจที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

ยง ภู่วรวรรณ. ผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด ด้านสังคม. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL:https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=3.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ท]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL:https://www.thaigov.go.th/ news/contents/details/29344.

ศูนย์โควิดจังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลผู้ป่วยโควิดระลอกใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม2564]. ค้นได้จาก:URL:http://www.buriram.go.th/covid-19/situation.php

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์. คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ที่ 25/2564 30/2564 และ 35/2564 เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุม. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://www.buriram.go.th/covid-19/command-25-2564.pdf.

นุชนาฎ รักษี, กนกพร ดอนเจดีย์, นันทนัช สงศิริ, วินันดา ดีสวัสดิ์, สาลินี จันทร์เจริญ, อารีย์ อยู่ภู่. การศึกษาความเครียด ความวิตกกังวล และความสัมพันธ์ในครอบครัวของประชาชนไทยภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกแรก. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายไทย 2564;17(1):94-108.

Rosenman RH, Byme DG, edited. Anxiety and the Heart: the series in health Psychology and Behavioral Medicine. New York: Hemisphere Publishing Corporation; 1990.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานในคลินิกคลายเครียด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์. แบบจำลองความเครียดในคนกลุ่มน้อย : กรอบแนวคิดของภาวะเสี่ยงทางสุขภาพจิตในคนกลุ่มน้อยทางเพศและเพศสภาวะ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562;33(1):1-17.

Wang C, Pan R, Wan X, Tan Y, Xu L, McIntyre RS, et al. A longitudinal study on the mental health of general population during the COVID-19 epidemic in China. Brain Behav Immun 2020;87:40-8. doi: 10.1016/j.bbi.2020.04.028.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563;65(4):400-8.

Taylor S, Landry CA, Paluszek MM, Fergus TA, McKay D, Asmundson GJG. COVID stress syndrome: Concept, structure, and correlates. Depress Anxiety 2020;37(8):706-14. doi: 10.1002/da.23071.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. [Internet]. 1970 [cited 2019 August 19]. Available from:URL: https://home.kku.ac.th/sompong/guest_speaker /

KrejcieandMorgan_article.pdfnews/detail/935343?_cf_chl_captcha_tk=pmd_Yp7bxkDlb_ wTjG7OL3buTqLioN21k.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. ค้นได้จาก : URL: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/21aug2563-1.pdf

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิดของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(1):12-21.

พัสกร องอาจ, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19: กรณี ศึกษา นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารนโยบายสารณสุขและกฎหมาย 2563;7(1):88-102.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563;21(2):2-39.