ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักทารกแรกเกิด

Main Article Content

นงเยาว์ สุวานิช

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: หญิงตั้งครรภ์ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามน้ำหนักทารกแรกเกิดและความรู้ด้านสุขภาพของมารดาที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: ประชากรคือ ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 31 คน ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามปกติ จำนวน 30 คนและมารดาของทารกที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระหว่างตั้งครรภ์-หลังคลอด จำนวน 30 คนเครื่องมือการวิจัย คือ น้ำหนักทารกแรกเกิดจากเวชระเบียน และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ สถิติที่ใช้ข้อมูลทั่วไป คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด เปรียบเทียบน้ำหนักแรกเกิดทารก independent sample t-test และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพจากการวัดซ้ำ One way ANOVA with repeated measures
ผลการศึกษา: 1. น้ำหนักเด็กทารกแรกเกิดที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและได้รับโปรแกรมตามปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.มารดาที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์-หลังคลอด มีความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ภายหลังจากการใช้โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ จากการวัดครั้งที่ 1-3 เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุป: โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถพัฒนาศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น และส่งผลต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008;67(12):2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์; 2554.

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สุขภาพจิตและกายในเด็ก. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2563.

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลห้วยแถลง โรงพยาบาลห้วยแถลง . ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก. นครราชสีมา : โรงพยาบาลห้วยแถลง; 2018.

นงเยาว์ สุวานิช, ธณกร ปัญญาใสโสภณ, สาโรชน์ เพชรมณี. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39(4):45-54.

เจนวิทย์ นวลแสง. จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ กับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย 2561;10(2):131-55.

นงเยาว์ สุวานิช. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์; บัณฑิตวิทยาลัย; นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2564.

รพีพร ขวัญพร้อม, จันทรัตน์ เจริญสันติ, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์. พยาบาลสาร 2564;48(1):210-21.

Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies?. Int J Public Health 2009;54(5):303-5. doi: 10.1007/s00038-009-0050-x.

จงรัก สุวรรณรัตน์, กรฐณธัช ปัญญาใส. รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2562;44(1):13-24.

อรวรรณ พินิจเลิศสกุล,ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, นิตยา สินสุกใส, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. โปรแกรมการกำกับตนเองต่อการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2562;37(2):26-42.

ศรัณยา ลาโมะ, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564;31(1):224-36.

ชุติมา ไตรนภากุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560;36(2):79-87.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, ภานุมาศ พิกุล, อนุชิต ชุมคง, สุทธิพงษ์ รักเล่ง, พีรวัฒน์ มุททารัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักทารกแรกคลอด อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(3):517-24.

World Health Organization. Health Promoting Glossary. [Internet]. 1998 [cited 2021 Jan 2]. Available from:URL: https://academic.oup.com/heapro/article/13/4/349/563193.