ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ธีร์ธวัช บรรลือคุณ
นฤมล พรมมาม

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ผู้ป่วยบางรายมี ภาวะแทรกซ้อนทางไต และจอประสาทตา รวมถึงมีแผลที่หายยากจากการเป็นโรคเบาหวาน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทำให้ความเป็นอยู่ของผู้ป่วยแตกต่างกัน รวมถึงการมาตามนัดหมาย วิธีการรับประทานยา พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และภาวะซึมเศร้า ล้วนส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยเบาหวาน จะสามารถนำมาพัฒนาเพื่อการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นข้อมูล ในการต่อยอดการวิจัยอื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อรัญประเทศ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2563 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ชีวิต, แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q9Q และแบบประเมิน WHOQOL-BREF-THAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเพียร์สันในการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับชีวิตกลางๆ ร้อยละ 58.4 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตได้แก่ อายุ (r=-0.127 p-value = 0.027) ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน(r=-0.166 p-value =0.004) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงลบ (r=-0.123 p-value =0.032)ในขณะที่ รายได้(r=0.205 p-value <0.001) พฤติกรรมการใช้ชีวิต (r=0.152 p-value =0.008)พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ส่วนใหญ่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับชีวิตกลางๆ ร้อยละ 58.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตได้แก่ อายุ รายได้ ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานพฤติกรรมการใช้ชีวิต ภาวะซึมเศร้า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Diabetes. [Internet]. 2018.[cited 2019 October 25]. Available from: https://www.who.int/news-room/facts-in-pictures/detail/diabetes.

สมร พรหมพิทักษ์กุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานของ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2553;40(3):343-55.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)คลังข้อมูลสุขภาพ : รายงานการตายตาม 298 กลุ่มโรค, การเข้าถึงบริการและการคัดกรองโรคเบาหวาน, รายงานอุบัติเหตุทางถนน. [อินเตอร์เน็ท]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.]. ค้นได้จาก:URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/opd10_sex.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=8881445af732eb166fa2470ba5046504.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อ ปฏิรูปการดูแลรักษาโรค เบาหวานในประเทศไทย[อินเตอร์เน็ต].2560.[สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562]. ค้นได้จาก:URL:https://www.novonordisk.

com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-rework/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20change_2017_TH.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. (2562). อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. คลินิกหมอครอบครัวตำบลสระแก้ว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ปี 2560-2562. [อินเตอร์เน็ท]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2562]. ค้นได้จาก:URL:https://skw.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=6d0c58de6b948dd0eac3c736c7584b59

Phillips D. Quality of Life Concept, Policy and Practice. 1st.ed. NewYork : Routledge;2006.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. คุณภาพชีวิต (Quality of life). [อินเตอร์เน็ต]. 2017. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562]. ค้นได้จาก:URL:https://nokimd.wordpress.com/2017/06/22/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A 9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99/.

Jing X, Chen J, Dong Y, Han D, Zhao H, Wang X, et al.Related factors of quality of life of type 2 diabetes patients: a systematic review and meta-analysis. Health Qual Life Outcomes 2018;16(1):189. doi: 10.1186/s12955-018-1021-9.

ศรีบุศย์ ศรีไชยจรูญพงศ์, ธวัชชัย อินทะสร้อย, อภิญญา เพชรวิสัย, รุ่งทิพย์ ไพศาล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชียงเครือโพธิ์ชัย ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(3):23-33.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562]. ค้นได้จาก:URL: http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180316191617.pdf

วรุณีย์ สีม่วงงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนหมู่ที่ 10 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนหมู่ที่ 10 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจำปี 2561 ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 วันที่ 25 ตุลาคม 2561. อุบลราชธานี; มหาวิทยาลัยราชธานี: 1290-7.

ศิรินทิพย์ โกนสันเทียะ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2554;17(1):31-44.

วันดี วิสุทธิ์สิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิก 360 องศาโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29(1): 33-42.

จตุรงค์ ประกายสกุล, วราภรณ์ ศิริสว่าง, วันทนีย์ ชวพงศ์.คุณภาพชีวิติ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 2561;14(1):1-15.

Chung JO, Cho DH, Chung DJ, Chung MY.Assessment of factors associated with the quality of life in Korean type 2 diabetic patients. Intern Med 2013;52(2):179-85. doi: 10.2169/internalmedicine.52.7513.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. คุณภาพชีวิตและปัจจัยทางจิตสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552; 4(2):185-96.