การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และผลการใช้สื่อในการให้ความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกแก่ผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูกสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะต้นเกือบทุกราย ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วยในด้านนี้มีผลสำคัญต่อผลการฟื้นฟูสภาพในระยะยาว แต่ทว่าการให้สุขศึกษาด้วยการสอนแบบปากเปล่าที่ทำอยู่ทั่วไปยังมีข้อจำกัดในด้านการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนให้กับผู้รับการสอน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการถ่ายทอดความรู้ที่ไม่ครบถ้วนและไม่เหมือนกันทุกครั้งที่ทำการสอนอีกด้วย การใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อการสอนเป็นวิธีการหนึ่งที่สะดวกและมีศักยภาพที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างทักษะในการดูแลผู้ป่วยได้ดี ผู้วิจัยได้จัดทำสื่อการสอนชนิดวีดิทัศน์ขึ้นเพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้และภาพเคลื่อนไหวแนะนำการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการดูแลป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ แต่ยังไม่เคยได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการสอนนี้มาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของวีดิทัศน์ให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกก่อนกลับบ้านทั้งในด้านทฤษฎีและและทักษะการปฏิบัติจริง รวมถึงความพึงพอใจและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงสื่อการสอนนี้ต่อไป
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็น Intervention research ในรูปแบบ one-group pretest-posttest design ทดสอบก่อนและหลังดูวีดิทัศน์ความยาว 7.53 นาที โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกในระยะแรกหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่1 มิถุนายน-31 สิงหาคม พ.ศ.2563 และ 15 มีนาคม – 22 เมษายน พ.ศ.2564 ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการทดสอบด้านทฤษฎีและด้านทักษะ โดยด้านทักษะจะถูกประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังรับชมวีดิทัศน์โดยใช้สถิติ McNemar’s test สำหรับตัวแปรจัดกลุ่ม และ dependent t-test สำหรับตัวแปรต่อเนื่องที่มีการกระจายแบบปกติหลังการทดสอบความรู้และทักษะจะมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อวีดิทัศน์และรวบรวมข้อเสนอแนะ รวมถึงช่องทางที่ต้องการทบทวนเนื้อหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกในระยะหลังออกจากโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: มีจำนวนผู้ดูแลที่เข้าร่วมการศึกษา 110 คน อายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.2) และบุตรของผู้ป่วย (ร้อยละ 54.6) ชีวิตประจำวันในครอบครัวใช้ภาษาไทยเป็นหลัก (ร้อยละ 54.6) หลังชมวีดิทัศน์พบว่าผู้ดูแล มีคะแนนรวม ความเข้าใจทางทฤษฎีเฉลี่ยก่อนและหลังรับชมวีดิทัศน์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) คือค่าคะแนนก่อนและหลังการชมวีดิทัศน์เท่ากับ (mean±SD)8.6(±0.2) และ 9.5(±0.1) คะแนนตามลำดับ ในด้านผลการทดสอบด้านทักษะนั้น ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องมากกว่าก่อนชมวีดิทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ทั้งในส่วนคะแนนการจัดท่านอนที่ได้คะแนนก่อนและหลังการดูวีดิทัศน์เท่ากับ (mean±SD)0.04(±0.03) และ 6.8(±0.2) คะแนนตามลำดับ คะแนนการขยับข้อเพื่อป้องกันข้อติดที่ได้คะแนนก่อนและหลังการดูวีดิทัศน์เท่ากับ (mean±SD)0.8(± 0.1)และ 6.0(±0.2) คะแนนตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการที่ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในภาคปฏิบัติคือระดับการศึกษา (p-value = 0.002) ทั้งนี้ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อวีดิทัศน์และต้องการทบทวนความรู้ซ้ำที่บ้านผ่านช่องทางยูทูป (Youtube) รวมถึงต้องการเอกสารให้ความรู้ที่มีรูปขนาดใหญ่ชัดเจนมากกว่าเอกสารให้ความรู้แบบดั้งเดิม
สรุป: วีดิทัศน์ให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้ดูแลก่อนกลับบ้าน ได้ผลในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในด้านความรู้ทั่วไปและทักษะการปฏิบัติจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL:http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic ร้อยละ2061.pdf.
Joel Stein, Murray E. Brandstater. Stroke rehabilitation. In Delisa JA, ed. Rehabilitation medicine: principle and practice. 5th edition. Philadelphia : J.B. Lippincott; 2010: 551-74.
Hettiarachchi C, Conaghan P, Tennant A, Bhakta B.Prevalence and impact of joint symptoms in people with stroke aged 55 years and over. J Rehabil Med 2011;43(3):197-203. doi: 10.2340/16501977-0648.
Teasell R. Musculoskeletal complications of hemiplegia following stroke. Semin Arthritis Rheum 1991;20(6):385–95.
Kondo I, Hosokawa K, Soma M, Iwata M, Maltais D. Protocol to prevent shoulder-hand syndrome after stroke. Arch Phys Med Rehabil 2001;82(11):1619-23. doi: 10.1053/apmr.2001.25975.
Kim HJ, Lee Y, Sohng KY. Effects of bilateral passive range of motion exercise on the function of upper extremities and activities of daily living in patients with acute stroke. J Phys Ther Sci 2014;26(1):149-56. doi: 10.1589/jpts.26.149.
พรพิมล มาศสกุลพรรณ, ทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล, กาญจนา ริ้วทอง, พรทิพย์พา ธิมายอม, พรพิมล วิเชียรไพศาล, บรรณาธิการ. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพ : บริษัทธนาเพรส จำกัด; 2559.
Gagliano ME. A literature review on the efficacy of video in patient education. J Med Educ 1988;63(10):785-92. doi: 10.1097/00001888-198810000-00006.
Brame CJ. Effective Educational Videos: Principles and Guidelines for Maximizing Student Learning from Video Content. CBE Life Sci Educ 2016;15(4):es6. doi: 10.1187/cbe.16-03-0125.
Denny MC, Vahidy F, Vu KY, Sharrief AZ, Savitz SI. Video-based educational intervention associated with improved stroke literacy, self-efficacy, and patient satisfaction. PLoS One 2017;12(3):e0171952. doi: 10.1371/journal.pone.0171952.
สายใจ นกหนู, จุฑามาศ ทองบุญ, มณีภรย์ บกสวัสดิ์. การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ในการทำกายภาพบำบัดแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560;31(4):667-76.
ญนัท วอลเตอร์, โรชินี อุปรา, ประกายแก้ว ธนสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(2):100-16.
รัตนโชติ เทียนมงคล. การศึกษาลักษณะฟอนต์ที่เหมาะสมต่อประจักษภาพสำหรับผู้สูงวัยในบริบทตัวอักษรไทยบนหน้าจอแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์. Veridian E-Journal (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ) 2560;10(3):1067-82.
คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)ระดับจังหวัดบุรีรัมย์ปี 2561 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานคุณภาพชีวิตของคนจังหวัดบุรีรัมย์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2561. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://buriram.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/28/2019/07/%E0%B8%A3%E0%B8% B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0% B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2% E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8% B4%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87% E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0% B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8% 94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5% E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0% B9%8C-%E0%B9%96%E0%B9%91-1.pdf.
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์ (2563). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://www.buriram.go.th/downloads/buriram-gen.pdf.