ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศาสตรา เข็มบุบผา

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นภาวะทางจิตเวชที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการที่เหมาะสมและวางแผนการดูแลรักษา หากสามารถป้องกันหรือรักษาภาวะซึมเศร้าได้ตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถลดอุบัติการณ์การฆ่าตัวตาย ลดภาวะทุพพลภาพ แลเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านด่าน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Analytical cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับบริการในคลินิกโรคไตเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านด่าน ในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2564 ทั้งหมด 183 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายความชุกรวมถึงใช้ Chi-square test และ Fisher Exact test ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (9Q≥7) คิดเป็นร้อยละ 29 โดยสถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะของโรคไตเรื้อรัง มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนเพศ อายุ อายุที่เริ่มเป็นโรคไต ระยะเวลาที่เป็นโรคไต โรคประจำตัวอื่น การได้รับการบำบัดทดแทนไต ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
สรุป: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีภาวะซึมเศร้า บุคลากรสาธารณสุขควรให้ความสำคัญในการคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะของโรคไตเรื้อรังมีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย ดังนั้นควรเน้นการเฝ้าระวัง ให้คำปรึกษา และให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เข็มบุบผา ศ. . . (2022). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(1), 91–102. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/256979
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kidney Disease Improving Global Outcomes. KDIGO 2012 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney Int Suppl 2013;3(1):1-150.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558;5:5-18.

Palmer S, Vecchio M, Craig JC, Tonelli M, Johnson DW, Nicolucci A, et al. Prevalence of depression in chronic kidney disease: systematic review and meta-analysis of observational studies Kidney Int 2013;84(1):179-91. doi: 10.1038/ki.2013.77.

จุฑามาศ วารีแสงทิพย์. การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัทเอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์; 2553.

รัศมี บัณณสิทธิ์รัตน์. ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสุขภาพจิต, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะแพทย์ศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Ahlawat R, Tiwari P, D'Cruz S. Prevalence of depression and its associated factors among patients of chronic kidney disease in a public tertiary care hospital in India: A cross-sectional study. Saudi J Kidney Dis Transpl 2018;29(5):1165-73. doi: 10.4103/1319-2442.243972.

ชุตินันท์ จริยากุลภิวาท, ธนศักดิ์ เทียกทอง. การประเมินภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;11(2):411-21.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(4):321-34.

ทวี ตั้งเสรี, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, อรุณ จิรวัฒน์กุล, ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, กนกวรรณ กิตติวัฒนากูล, วรสรรพ์ ปรัชญคุปต์, และคณะ. การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ฉบับปี 2009). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552;54(3):287-97.

Gupta S, Patil NM, Karishetti M, Tekkalaki BV. Prevalence and clinical correlates of depression in chronic kidney disease patients in a tertiary care hospital. Indian J Psychiatry 2018;60(4):485-8. doi: 10.4103/psychiatry.IndianJPsychiatry_272_18.

Murtagh FE, Addington-Hall J, Higginson IJ. The prevalence of symptoms in end-stage renal disease: a systematic review. Adv Chronic Kidney Dis 2007;14(1):82-99. doi: 10.1053/j.ackd.2006.10.001.

Wang WL, Liang S, Zhu FL, Liu JQ, Wang SY, Chen XM, et al. The prevalence of depression and the association between depression and kidney function and health-related quality of life in elderly patients with chronic kidney disease: a multicenter cross-sectional study. Clin Interv Aging 2019;14:905-13. doi: 10.2147/CIA.S203186.

Klang B, Bjorvell H, Clyne N. Perceived well-being in predialysis uremic patients. ANN J 1996; 23(2):223-9.

สำนักงานพัฒนาโครงการแนวทางการบริหารสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : กิตติชัย พริ้นติ้ง; 2549.

Teles F, Azevedo VF, Miranda CT, Miranda MP, Teixeira Mdo C, Elias RM. Depression in hemodialysis patients: the role of dialysis shift. Clinics (Sao Paulo) 2014;69(3):198-202. doi: 10.6061/clinics/2014(03)10.

Sinatra M, Curci A, Palo VD, Monacis L, Tanucci G. How Dialysis Patients Live: A Study on Their Depression and Associated Factors in Southern Italy. University of Bari 2011;2(9):969-77.

Kuber-Ross E, Kesster D. On grief and grieving. New York : Scribner Book Company; 2007.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2553.

สาวิตรี วิษณุโยธิน, นชพร อิทธิวิศวกุล. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2553;16(1):5-22.

Fergusson DM, Boden JM, Horwood LJ. Tests of causal links between alcohol abuse or dependence and major depression. Arch Gen Psychiatry 2009;66(3):260-6. doi: 10.1001/archgenpsychiatry.2008.543.

Fluharty M, Taylor AE, Grabski M, Munafò MR. The Association of Cigarette Smoking With Depression and Anxiety: A Systematic Review. Nicotine Tob Res 2017;19(1):3-13. doi: 10.1093/ntr/ntw140.