ความชุกและผลจากการได้รับยาไม่เหมาะสมในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้สูงอายุมักมีปัญหาโรคเรื้อรังและการได้รับยาหลายชนิดที่อาจจะไม่เหมาะสม ผู้ป่วยสูงอายุหลายรายมีภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยและยังได้รับยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic โดยในระยะยาวอาจส่งผลเสียตามมาได้
วิธีการเก็บข้อมูล: เป็นการศึกษาวิเคราะห์แบบตัดขวาง (cross-sectional analytic study) โดยทำการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ณ แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 170 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาไม่เหมาะสม 56 คน กับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา 114 คน จากนั้นให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบต่างๆ นำข้อมูลที่ได้มาแปลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) มัธยฐาน (median) Fisher’s exact test,independent t-test, Mann-Whitney u test, bivariate analysis, multivariate logistic regression
ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า ความชุกของผู้ที่ได้รับยาไม่เหมาะสมร้อยละ 32.9(95% CI 25.8 – 40.1) กลุ่มที่ได้รับยาไม่เหมาะสมมีคะแนนเฉลี่ย MoCA ต่ำกว่า 20 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) เมื่อนำมาวิเคราะห์ต่อด้วย multivariate logistic regression พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่คะแนน MoCA น้อยกว่า 20 มีโอกาสที่จะได้รับยาไม่เหมาะสมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา 2.02 เท่า (adjusted odds ratio (aOR) = 2.02 (95% CI 0.95 – 4.30))
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยและได้รับยาไม่เหมาะสมมีคะแนนการทำแบบทดสอบ MoCA ต่ำกว่าอีกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะดำเนินเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมซึ่งส่งผลเสียในระยะยาวต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
United Nations. Department of Economic and Social Affairs Population Division. World Population Ageing 2017 report. World Popul Ageing 2017 [Internet]. 2017. [Cited 2021 Sep 7]. Available from:URL: http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2017_Report.pdf.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564]. ค้นได้จาก: URL: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. อรพิชญา ไกรฤทธิ์ , กรองทอง พุฒิโภคิน , สิรินทร ฉันศิริกาญจน , ทวีวัฒน์ อัศวโภคี, ศุภศิล สระเอี่ยม. การใช้ยาร่วมกนั หลายขนานของผู้ป่วยสูงอายุที่รับบการรักษาแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารพิษวิทยาไทย 2561;33(1):35-50.
Trevisan C, Limongi F, Siviero P, Noale M, Cignarella A, Manzato E, et al. Mild polypharmacy and MCI progression in older adults: the mediation effect of drug-drug interactions. Aging Clin Exp Res 2021;33(1):49-56. doi: 10.1007/s40520-019-01420-2.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี 2561;41(1):95-104.
Harasani K, Xhafaj D, Begolli A, Olvera-Porcel MC. Prevalence of potentially inappropriate prescriptions in primary care and correlates with mild cognitive impairment. Pharm Pract (Granada) 2020;18(3):2017. doi: 10.18549/PharmPract.2020.3.2017.
Sachdev PS, Blacker D, Blazer DG, Ganguli M, Jeste D V., Paulsen JS, et al. Classifying neurocognitive disorders: The DSM-5 approach. Nat Rev Neurol 2014;10(11):634-42. doi: 10.1038/nrneurol.2014.181
ธิติพันธ์ ธานีรัตน์, อุบุญรัตน์ ธุรีราช, บุญลือ เพ็ชรรักษ์, ปิยนุช กิมเสาว์, ขวัญชนก หงษ์ชูเกียรติ, บุญธรรม ดีดวง. การพัฒนาเครื่องมือแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(2):177-86.
อรวรรณ์ คูหา, จิตนภา วาณิชวโรตม์, บูริณีบุญมีพิพิธ, นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์. โครงการการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. นนทบุรี : สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2551.
วลี รัตนวัตร์, ดาวชมพู นาคะวิโร, ภัทรพร วิสาจันทร์. ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในบุคลากรโรงพยาบาลช่วงวัยก่อนเกษียณ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(1):55–64.
เบญจมาศ สุขสถิตย์, ผดุงธรรม เที่ยงบูรณธรรม. ภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด: ความชุก ลักษณะเฉพาะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร 2560;44(1):149-60.
สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี, ปิยะภัทร เดชพระธรรม. การศึกษาความตรงเชิงเกณฑ์ของแบบสอบถาม PHQ-9 และ PHQ-2 ฉบับภาษาไทย ในการคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุชาวไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2560;27(1):30-7.
จันทนา พัฒนเภสัช. แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ Eq-5D-5L. บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. 2560. [อินเตอร์เน็ท]. [ สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564 ]. ค้นได้จาก:URL:file:///C:/Users/libraly/Downloads/A6003_EQ5D.pdf.
Ambrose AF, Paul G, Hausdorff JM. Risk factors for falls among older adults: a review of the literature. Maturitas 2013;75(1):51-61. doi: 10.1016/j.maturitas.2013.02.009.
ปิยภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต, อำไพ อยู่วัล. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบร์เธฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549;16(1):1-9.
The American Geriatrics Society. American Geriatrics Society 2019 Updated AGS Beers Criteria® for Potentially Inappropriate Medication Use in Older Adults. J Am Geriatr Soc 2019;67(4):674-94. doi: 10.1111/jgs.15767.
Bonfiglio V, Umegaki H, Kuzuya M. Potentially Inappropriate Medications and Polypharmacy: A Study of Older People with Mild Cognitive Impairment and Mild Dementia. J Alzheimers Dis 2019;71(3):889-97. doi: 10.3233/JAD-190284.
Weston AL, Weinstein AM, Barton C, Yaffe K. Potentially inappropriate medication use in older adults with mild cognitive impairment. J Gerontol A Biol Sci Med Sci 2010;65(3):318-21. doi: 10.1093/gerona/glp158.
Weigand AJ, Bondi MW, Thomas KR, Campbell NL, Galasko DR, Salmon DP, et al. Association of anticholinergic medications and AD biomarkers with incidence of MCI among cognitively normal older adults. Neurology 2020;95(16):e2295-e2304. doi: 10.1212/WNL.0000000000010643.
ศิริลักษณ์ ผ่องจิตสิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความไม่ร่วมมือในการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการแพทย์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2564;38(2):97–104.