การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าขาดผ่านกล้องวีดิทัศน์ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าจะทำให้ข้อเข่าสูญเสียความมั่นคง ส่งผลในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวันการพยาบาลปริศัลยกรรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ แสดงผลลัพธ์การดูแลองค์ประกอบทั้งหมดของการใช้กระบวนการพยาบาล ครอบคลุมบุคลากรที่ให้การพยาบาล ต้องมีความรู้ ความสามารถในการประเมินเพื่อนำสู่ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และเลือกปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายในระดับเท่ากับหรือมากกว่าก่อนผ่าตัด จากการทบทวนแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าขาดผ่านกล้องวิดิทัศน์ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ พบว่ารูปแบบการพยาบาลแบบเดิมเน้นการช่วยและส่งเครื่องมือผ่าตัดไม่มีการประสานข้อมูลผู้ป่วยระหว่างหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย เช่น ติดเชื้อที่แผลผ่าตัด เลื่อนผ่าตัดเนื่องจากเครื่องมือผ่าตัดไม่พร้อม การมีรอยกดทับจากการผ่าตัดเป็นเวลานาน ผู้ป่วยลงน้ำหนักโดยไม่ใช้ไม้ค้ำยันหลังผ่าตัด ส่งผลให้ต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำ ระยะเวลาผ่าตัดยาวนานเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าขาดผ่านกล้องวิดิทัศน์ (ACLR) ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการระหว่าง 1 พฤษภาคม พ.ศ.2562 - 31 ตุลาคม พ.ศ.2564 มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหา ประชากรได้แก่ แพทย์ผ่าตัด 2 คน พยาบาลหอผู้ป่วย 2 คน นักกายภาพบำบัด 1 คน แฟ้มประวัติผู้ป่วยผ่าตัด ACLR 337 แฟ้ม 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการพยาบาล 3) การทดลองใช้รูปแบบการพยาบาล ประชากรได้แก่ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด 50 คน ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ACLR โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 – 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ได้แก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ACLR ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ACLR ที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกสลับกันครั้งละ 1 คนระหว่าง 2 กลุ่ม 4) การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุงรูปแบบทางพยาบาล เก็บข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ใช้สังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์รูปแบบบริการพยาบาลที่มีอยู่เดิม โดยการประชุม Focus Group ทีมสหสาขาวิชาชีพ ส่วนขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตทักษะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติอนุมานใช้ Paired Samples t-test, Independent t-test, chi square test สถิติพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ACLR ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญควรประกอบด้วย การพยาบาลระยะก่อน ขณะและหลังผ่าตัด โดยมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการผ่าตัดที่ปลอดภัยทั้ง 3 ระยะ คือ การจัดให้มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยการให้ความรู้และฝึกอบรม การจัดทำคู่มือการพยาบาลผู้ป่วย การให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด โดยเฉพาะการฟื้นฟูสมรรถนะหลังผ่าตัด ส่วนผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ACLR ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ พบว่า 1) ผู้ป่วยที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลผ่าตัดที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญมีความรู้ในการปฏิบัติตัวมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.001) และมีความพึงพอใจในบริการพยาบาลมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.001) 2) พยาบาลห้องผ่าตัดมีความรู้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ACLR หลังใช้รูปแบบมากกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.001) 3) พยาบาลห้องผ่าตัดมีทักษะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ACLR หลังใช้รูปแบบเพิ่มขึ้นจากก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.001) 4) พยาบาลห้องผ่าตัดมีความพึงพอใจในรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ACLR ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60.0 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อประโยชน์โดยรวมของรูปแบบพยาบาลมากที่สุด (Mean 4.1) 5) ผู้ป่วยที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญมีความปลอดภัยจากการผ่าตัดทั้ง 4 ด้าน คือการบาดเจ็บจากการจัดท่าผ่าตัด การบาดเจ็บจากการใช้เครื่องรัดห้ามเลือด การติดเชื้อที่แผลผ่าตัดและการเลื่อนผ่าตัดไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p˂0.05) 6) ผู้ป่วยที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลผ่าตัด ACLR ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญมีระยะเวลาผ่าตัดต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.001)
สรุปผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าขาดผ่านกล้องวิดิทัศน์ที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญที่พัฒนาขึ้น ช่วยลดระยะเวลาผ่าตัด ผู้ป่วยมีความรู้ในการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดและมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น พยาบาลห้องผ่าตัดมีความรู้และทักษะในการพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
National Statistics Office. The 2015 Physical Activity Survey. [Internet]. 2016. [cited 2020 Nov. 28]. Available from:URL: http://www.nso.go.th/sites/2014en/Pages/survey/Social/Health/Physical-Activity-Survey.aspx.
Tapouh J, Moifo B, Zoé C, Guifo M, Tebere H, Edzimbi A, et al. Potential Association between Anterior Cruciate Ligament Tear and “Bi-Collateral” Ligamentous Rupture: A Retrospective Study. Open J Radiol 2015;5(4):217-23. doi: 10.4236/ojrad.2015.54030.
วุฒิพงศ์ สุทัศนีย์. Advances in Cruciate Ligament. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานสถิติผ่าตัด พ.ศ.2561-2563. บุรีรัมย์; ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ : 2564. (เอกสารอัดสำเนา).
ธัญรดี จิรสินธิปก, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, สุวิภา นิตยางกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, สารา วงษ์เจริญ. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
อุษาวดี อัศดรวิเศษ ความก้าวหน้าทางการพยาบาลปริศัลยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ็นพีเพรส; 2561.
ลัดดา เหลืองรัตนมาศ. แนวทางการออกแบบการวิจัยละพัฒนา. [อินเตอร์เน็ท]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563]. ค้นได้จาก:URL: http://164.115.41.60/knowledge/?p=377.
Polit DF, Hungler BP. Nursing Research: Principles and Methods. 5th. Philadelphia : J.B. Lippincott co; 1995.
Association of periOperative Registered Nurses. AORN’s Guidelines for Perioperative Practice : Safe Surgery Together . [Internet]. 2015. [Cited 2020 Nov. 28]. Available from: URL: https://www.aorn.org/guidelines/purchase-guidelines.
Aday LA, Andersen R. Development of indices of access to medical care. Michigan : Ann Arbor : Health Administration Press; 1975.
มลฤดี เกษเพชร,นิโรบล กนกสุนทรรัตน์,ประกาศิต จิรัปปภา. ปรแกรมพัฒนาคุณภาพการดูแลกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2563;7(2):41-56.
สมจิต จันทร์บาง, ศุภร วงศ์วทัญญู, สุภาพ อารีเอื้อ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยศัลยกรรมสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556;19(2):264-76.
ทิพวรรณ วงษ์ใจ, จีราพรรณ อันบุรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(3):51-68.
ลักษณาจันทราโยธากร, กัญจน์ชยารัตน์ อุดคำมี. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านความปลอดภัยในการผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564;29(1):28-38.
ละมิตร์ ปึกขาว , เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, กาญจนา หัถรังษี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อ กระจก แบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2563;29(5):863-75.
กาญจนา อุบลพงศ์, ฑิฆัมพร ชาวขมิ้น, อรทัย พงษ์อำไพ, ชนิดา พื้นผา. การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2555;39(3):51-64.
ธันยมัยปุรินัย,แคทรียา เทนสิทธ์, ชวลิต โพธิ์งาม. การพัฒนาแนวทางการเตรียมผู้ป่วยเพื่อลดอุบัติการณ์งดและลดการเลื่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(3):521-30.