ผลลัพธ์การตั้งครรภ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะแท้งคุกคามในโรงพยาบาลมหาสารคาม

Main Article Content

วกุล ลัญจกรสิริพันธุ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะแท้งคุกคามเป็นภาวะที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และยังไม่มีการศึกษาภาวะนี้ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของภาวะแท้งคุกคามและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะแท้งคุกคามในโรงพยาบาลมหาสารคาม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยเป็นแบบ prospective comparative study เก็บข้อมูลโดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะแท้งคุกคามที่รักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 101 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 48 ราย, อายุมารดาอยู่ระหว่าง 15 - 39 ปี มีค่าเฉลี่ย 27.1 ± 5.8 ปี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแท้งคุกคามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มีประวัติแท้งบุตรมาก่อน และตรวจพบการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามคือ แท้งเอง 25 ราย (ร้อยละ 25.2) คลอดก่อนกำหนด 11 ราย (ร้อยละ 11.1) ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด 3 ราย (ร้อยละ 3.0) placenta previa 4 ราย (ร้อยละ 4.0) คลอดปกติ 19 ราย (ร้อยละ 19.2) ผ่าตัดคลอด 28 ราย (ร้อยละ 28.2) birth asphyxia 5 ราย (ร้อยละ 5.0) ทารกได้เข้ารักษาที่หอทารกป่วย 5 ราย (ร้อยละ 5.0)
สรุปผลการศึกษา: ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของภาวะแท้งคุกคามที่รักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล และปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาของภาวะแท้งคุกคามที่รักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้า ผลการศึกษานี้มีประโยชน์นำมาใช้ในการรักษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Alizart M, Saunus J, Cummings M, Lakhani SR. Molecular classification of breast carcinoma. Diagn. Histopathol 2012;18(3):97–103.

Sivasane DS. Daver R G. Study of pregnancy outcome of threatened abortion and its correlation with risk factors in a tertiary care hospital of Mumbai. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol 2018;7(11):4598–603. doi:10.18203/2320-1770.ijrcog20184514

Dongol A, Mool S, Tiwari P. Outcome of pregnancy complicated by threatened abortion. Kathmandu Univ Med J (KUMJ) 2011;9(33):41-4. doi: 10.3126/kumj.v9i1.6261.

สมพงษ์ กิตติพิบูลย์. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ที่โรงพยาบาลตราด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2008;23(1(Suppl 2)):465–73.

Saraswat L, Bhattacharya S, Maheshwari A, Bhattacharya S. Maternal and perinatal outcome in women with threatened miscarriage in the first trimester: a systematic review. BJOG 2010;117(3):245-57. doi: 10.1111/j.1471-0528.2009.02427.x.

Boriboonhirunsarn D, Buranawattanachoke S. Ultrasonographic characteristics in patients clinically diagnosed with threatened abortion. J Med Assoc Thai 2007;90(11):2266-70.

Weiss JL, Malone FD, Vidaver J, Ball RH, Nyberg DA, Comstock CH, et al. Threatened abortion: A risk factor for poor pregnancy outcome, a population-based screening study. Am J Obstet Gynecol 2004;190(3):745-50. doi: 10.1016/j.ajog.2003.09.023.

ภาวิน พัวพรพงษ์. ผลของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งตรวจพบการเต้นของหัวใจตัวอ่อนหรือทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง. 2543;7(1):1-6.

Kanmaz AG, İnan AH, Beyan E, Budak A. The effects of threatened abortions on pregnancy outcomes. Ginekol Pol 2019;90(4):195-200. doi: 10.5603/GP.a2019.0035.