ประสิทธิภาพของโคลชิซีนขนาดต่ำในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสาเหตุหลักเกิดจากตะกอนหรือตะกรันในหลอดเลือดหัวใจมีการปริแตกกระตุ้นกระบวนการเกิดลิ่มเลือดทำให้อุดตันหลอดเลือดหัวใจตามมากระบวนการอักเสบมีส่วนร่วมสำคัญในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันถ้าค่า C-reactive protein (CRP) ยังสูงอยู่บ่งบอกว่ามีการอักเสบในร่างกายและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้สูง โคลชิซีนเป็นยาต้านการอักเสบซึ่งมีข้อมูลว่าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโคลชิซีนเปรียบเทียบกับยาหลอกในการลดกระบวนการอักเสบในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง (Prospective, randomized , double blinded, placebo-controlled study) ในผู้ป่วยอายุ 18-80 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันในโรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 36 ราย สุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้ colchicine 0.6 มิลลิกรัมต่อวันและอีกกลุ่มได้ยาหลอกทั้งสองกลุ่มให้ยานาน 30 วัน ผู้ป่วยทุกรายได้รับ optimal medical treatment ดูความแตกต่างของค่า C-reactive protein การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย และผลข้างเคียงของยาโคลชิซีนกับยาหลอกโดยติดตามการวิจัยจนครบ 90 วัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้โคลชิซีน 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบกับยาหลอกไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า C-reactive protein ตั้งแต่วันที่เริ่มการศึกษา วันที่ 3 14 และ 30 (p=0.96,0.52,0.59 และ 0.30, ตามลำดับ) รวมทั้งการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายในวันที่ 1 14 30 และ 90 ก็ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกช่วงเวลาเช่นกัน (p=0.72,0.88,0.18 และ 0.29, ตามลำดับ) ผลข้างเคียงจากยาทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน
สรุป: จากการศึกษานี้ พบว่าการให้โคลชิซีนไม่สามารถลดการอักเสบ ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันและไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายเมื่อเทียบกับยาหลอก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Moreira DM, da Silva RL, Vieira JL, Fattah T, Lueneberg ME, Gottschall CA. Role of vascular inflammation in coronary artery disease: potential of anti-inflammatory drugs in the prevention of atherothrombosis. Inflammation and anti-inflammatory drugs in coronary artery disease. Am J Cardiovasc Drugs 2015;15(1):1-11. doi: 10.1007/s40256-014-0094-z.
Ridker PM, Everett BM, Thuren T, MacFadyen JG, Chang WH, Ballantyne C, et al. Antiinflammatory Therapy with Canakinumab for Atherosclerotic Disease. N Engl J Med 2017;377(12):1119-31. doi: 10.1056/NEJMoa1707914.
Ridker PM, Everett BM, Pradhan A, MacFadyen JG, Solomon DH, Zaharris E, et al. Low-Dose Methotrexate for the Prevention of Atherosclerotic Events. N Engl J Med 2019;380(8):752-62. doi: 10.1056/NEJMoa1809798.
Deftereos S, Giannopoulos G, Papoutsidakis N, Panagopoulou V, Kossyvakis C, Raisakis K, et al. Colchicine and the heart: pushing the envelope. J Am Coll Cardiol 2013;62(20):1817-25. doi: 10.1016/j.jacc.2013.08.726.
Aimo A, Pascual-Figal DA, Barison A, Cediel G, Vicente ÁH, Saccaro LF, et al. Colchicine for the treatment of coronary artery disease. Trends Cardiovasc Med 2021;31(8):497-504. doi: 10.1016/j.tcm.2020.10.007
Ajala ON, Everett BM. Targeting Inflammation to Reduce Residual Cardiovascular Risk. Curr Atheroscler Rep 2020;22(11):66. doi: 10.1007/s11883-020-00883-3.
Hemkens LG, Ewald H, Gloy VL, Arpagaus A, Olu KK, Nidorf M, et al. Colchicine for prevention of cardiovascular events. Cochrane Database Syst Rev 2016;2016(1):CD011047. doi: 10.1002/14651858.CD011047.
Deftereos S, Giannopoulos G, Angelidis C, Alexopoulos N, Filippatos G, Papoutsidakis N, et al. Anti-Inflammatory Treatment With Colchicine in Acute Myocardial Infarction: A Pilot Study. Circulation 2015;132(15):1395-403. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.115.017611.
Nidorf SM, Fiolet ATL, Mosterd A, Eikelboom JW, Schut A, Opstal TSJ, et al. Colchicine in Patients with Chronic Coronary Disease. N Engl J Med 2020;383(19):1838-47. doi: 10.1056/NEJMoa2021372.
Tardif JC, Kouz S, Waters DD, Bertrand OF, Diaz R, Maggioni AP, et al. Efficacy and Safety of Low-Dose Colchicine after Myocardial Infarction. N Engl J Med 2019;381(26):2497-2505. doi: 10.1056/NEJMoa1912388
Akodad M, Lattuca B, Nagot N, Georgescu V, Buisson M, Cristol JP, et al. COLIN trial: Value of colchicine in the treatment of patients with acute myocardial infarction and inflammatory response. Arch Cardiovasc Dis 2017;110(6-7):395-402. doi: 10.1016/j.acvd.2016.10.004
Hennessy T, Soh L, Bowman M, Kurup R, Schultz C, Patel S, et al. The Low Dose Colchicine after Myocardial Infarction (LoDoCo-MI) study: A pilot randomized placebo controlled trial of colchicine following acute myocardial infarction. Am Heart J 2019;215:62-9. doi: 10.1016/j.ahj.2019.06.003.
Bresson D, Roubille F, Prieur C, Biere L, Ivanes F, Bouleti C, et al. Colchicine for Left Ventricular Infarct Size Reduction in Acute Myocardial Infarction: A Phase II, Multicenter, Randomized, Double-Blinded, Placebo-Controlled Study Protocol - The COVERT-MI Study. Cardiology 2021;146(2):151-60. doi: 10.1159/000512772.