ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ

Main Article Content

จินดาพร ไชยโคตร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: อัตราการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการได้แก่ ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้นเกิดเชื้อจุลชีพดื้อยาต้องใช้ยาต้านจุลชีพเพิ่มขึ้นทำให้เกิดอัตราป่วยและอัตราตายที่สูงขึ้นรวมถึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลที่มากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย intensive care unit(ICU) เกินกว่า 48 ชั่วโมง
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบติดตามย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยศึกษาในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย ICU อายุรกรรมตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไปโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ICU แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลศรีสะเกษดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยเวชระเบียนผู้ป่วยในและโปรแกรม Him-pro โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มที่เกิดปอดอักเสบติดเชื้อและกลุ่มที่ไม่เกิดปอดอักเสบติดเชื้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, โดยผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 8 วันมีอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจมากกว่าผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลมากกว่าหรือเท่ากับ 8 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Cox proportional hazard model พบว่าผู้ป่วยที่เป็น nephrotic syndrome เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นปอดติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจเป็น 9.7 เท่า (HR Adjusted HR9.7,95%CI 2.1-44.1) ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นปอดติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ1.9เท่า (HR (Adj)1.9, 95% CI 1.1-3.4) ผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นปอดติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ 1.8 เท่า (HR (Adj)1.8, 95% CI 1.1-2.9) การใช้ยากลุ่ม clindamycin ในขณะที่นอนในโรงพยาบาลจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ 1.8 เท่า (HR(Adj)1.8, 95% CI 1.2-2.7) การใช้ยากลุ่ม penicillin ในขณะที่นอนในโรงพยาบาลจะลดความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจร้อยละ 43(HR(Adj)0.6, 95% CI 0.4-0.9)
สรุป: พบว่าผู้ป่วย nephroticsyndrome ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภาวะน้ำหนักเกินการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ clindamycinจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยICU เกินกว่า 48 ชั่วโมง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kalil AC, Metersky ML, Klompas M, Muscedere J, Sweeney DA, Palmer LB, et al. Management of Adults With Hospital-acquired and Ventilator-associated Pneumonia: 2016 Clinical Practice Guidelines by the Infectious Diseases Society of America and the American Thoracic Society. Clin Infect Dis 2016;63(5):e61-e111. doi: 10.1093/cid/ciw353.

Chawla R. Epidemiology, etiology, and diagnosis of hospital-acquired pneumonia and ventilator-associated pneumonia in Asian countries. Am J Infect Control 2008;36(4 Suppl):S93-100. doi: 10.1016/j.ajic.2007.05.011.

อนุชา อภิสารธนรักษ์. โรคปอดอัเสบที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล. ใน: พรรณทิพย์ ฉายากูล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, สุรภี เทียมกริม, ยุพิน ศุพุทธมลคล, ศศิธร ลิขิตนุกูล, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2548: 1369-82.

Baker D, Quinn B. Hospital Acquired Pneumonia Prevention Initiative-2: Incidence of nonventilator hospital-acquired pneumonia in the United States Am J Infect Control 2018;46(1):2-7. doi: 10.1016/j.ajic.2017.08.036.

Werarak P, Kiratisin P, Thamlikitkul V. Hospital-acquired pneumonia and ventilator-associated pneumonia in adults at Siriraj Hospital: etiology, clinical outcomes, and impact of antimicrobial resistance. J Med Assoc Thai 2010;93 Suppl 1:S126-38.

Wałaszek M, Kosiarska A, Gniadek A, Kołpa M, Wolak Z, Dobroś W, et al. The risk factors for hospital-acquired pneumonia in the Intensive Care Unit. Przegl Epidemiol 2016;70(1):15-20, 107-10.

Fortaleza CM, Abati PA, Batista MR, Dias A. Risk factors for hospital-acquired pneumonia in nonventilated adults. Braz J Infect Dis 2009;13(4):284-8. doi: 10.1590/s1413-86702009000400009.

Hebert LA, Cosio FG, Birmingham DJ. Complement and complement regulatory proteins. In: Neilson E, Couser WG, eds. Immunologic renal diseases. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2001: 367.

Acedo SC, Gambero S, Cunha FG, Lorand-Metze I, Gambero A. Participation of leptin in the determination of the macrophage phenotype: an additional role in adipocyte and macrophage crosstalk. In Vitro Cell Dev Biol Anim 2013;49(6):473-8. doi: 10.1007/s11626-013-9629-x

Agrawal S, Gollapudi S, Su H, Gupta S. Leptin activates human B cells to secrete TNF-α, IL-6, and IL-10 via JAK2/STAT3 and p38MAPK/ERK1/2 signaling pathway. J Clin Immunol 2011;31(3):472-8. doi: 10.1007/s10875-010-9507-1.