อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอของมะเร็งศีรษะและคอในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ชญาดา เมืองแก้ว

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอ (neck dissection) เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองของมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ ( head and neck cancer) นั่นคือมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma ของอวัยวะบริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ ริมฝีปาก จมูก ช่องปาก กล่องเสียง โพรงหลังจมูก (nasopharynx) คอหอยส่วนบน (oropharynx) และคอหอยส่วนล่าง (hypopharynx) รวมถึงมะเร็งไทรอยด์ชนิดต่างๆและมะเร็งต่อมน้ำลายชนิดต่างๆอีกด้วย เนื่องจากกายวิภาคบริเวณคอมีขนาดเล็กและมีอวัยวะที่สำคัญ (vital structure) อยู่ในบริเวณที่จะทำการผ่าตัดจำนวนมากดังนั้นปัจจัยที่ผู้ป่วยจะนำมาพิจารณาร่วมก่อนการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอ คือ ผลที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอและวิธีการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอที่พบได้ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษา แบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยการหาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่เข้ารับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอในโรงพยาบาล ศรีสะเกษตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2564 จำนวน 74 คนโดยนำข้อมูลที่ได้มาแปลผลและหาความสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA และ ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) มัธยฐาน (median) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation, SD) fisher exact test, chi-square และ T-test independent
ผลการศึกษา: ในการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่มาผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอจำนวน 74 คนระยะเวลาการผ่าตัดโดยเฉลี่ย 3.9 ±1.6 ชั่วโมง (mean ±SD) และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 10.9 ±6.2 วัน(mean ±SD) ซึ่งจากการศึกษานี้พบว่า อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอคือร้อยละ 39.2 โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือท่อน้ำเหลืองรั่ว (chyle leakage) ร้อยละ10.8 เส้นประสาทสมองและไขสันหลังคู่ที่ 11 บาดเจ็บ (spinal accessory nerve injury) พบร้อยละ 6.8 พบเลือดออกเลือดคั่งหลังการผ่าตัดร้อยละ 4.1 เส้นประสาทใบหน้าเป็นอัมพาตทำให้มุมปากตก (Marginal mandibular nerve injury) ร้อยละ 4.1 แผลติดเชื้อหรือแผลแยกร้อยละ 2.7 และปอดอักเสบหลังผ่าตัดร้อยละ 2.7 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือเพศ (p-value =0.04) การรักษาที่เคยได้รับก่อนการผ่าตัดเช่นฉายแสงและเคยผ่าตัดที่คอมาก่อน (p-value = 0.015) การผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานาน (p-value <0.001 ) การผ่าตัดแบบ radical neck dissection(p-value= 0.028 ) และ Neck stage (N ตาม TNM staging) โดยพบว่า N stage ที่สูงขึ้น สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.016)
สรุป: อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอคือร้อยละ 39.2 โดยภาวะรั่วของท่อน้ำเหลืองที่คอ (chyle leakage) พบมากที่สุดคือร้อยละ 10.8 และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอคือเพศ เคยได้รับการรักษาก่อนการผ่าตัด การผ่าตัดแบบ radical neck dissection N stage สูง และระยะเวลาการผ่าตัดที่นานขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lydiatt WM, Patel SG, O'Sullivan B, Brandwein MS, Ridge JA, Migliacci JC. Head and Neck cancers-major changes in the American Joint Committee on cancer eighth edition cancer staging manual. CA Cancer J Clin 2017;67(2):122-37. doi: 10.3322/caac.21389.2

Davidson BJ, Newkirk KA, Harter KW, Picken CA, Cullen KJ, Sessions RB. Complications from planned, posttreatment neck dissections. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1999;125(4):401-5. doi: 10.1001/archotol.125.4.401.

Crile G. Landmark article Dec 1, 1906: Excision of cancer of the head and neck. With special reference to the plan of dissection based on one hundred and thirty-two operations. By George Crile. JAMA 1987;258(22):3286-93. doi: 10.1001/jama.258.22.3286.

Suarez, O. El problema de las metastasis linfáticas y alejadas del cáncer de laringe e hipofaringe. Braz J Otorhinolaryngol 1963; 23:83-99.

Dedivitis RA, Guimarães AV, Pfuetzenreiter EG Jr, Castro MA. [Neck dissection complications]. [Article in Portuguese]. Braz J Otorhinolaryngol 2011;77(1):65-9. doi: 10.1590/s1808-86942011000100011.

Gane EM, Michaleff ZA, Cottrell MA, McPhail SM, Hatton AL, Panizza BJ, Prevalence, incidence, and risk factors for shoulder and neck dysfunction after neck dissection: A systematic review. Eur J Surg Oncol 2017;43(7):1199-1218. doi: 10.1016/j.ejso.2016.10.026.

Ryu YJ, Cho JS, Yoon JH, Park MH. Identifying risk factors for recurrence of papillary thyroid cancer in patients who underwent modified radical neck dissection World J Surg Oncol 2018;16(1):205. doi: 10.1186/s12957-018-1496-1.

Shaha AR. Complications of neck dissection for thyroid cancer. Ann Surg Oncol 2008;15(2):397-9. doi: 10.1245/s10434-007-9724-x.

McMullen C, Rocke D, Freeman J. Complications of Bilateral Neck Dissection in Thyroid Cancer From a Single High-Volume Center. JAMA Otolaryngol Head Neck Surg 2017;143(4):376-81. doi: 10.1001/jamaoto.2016.3670.

Cherian A, Ramakant P, Paul MJ, Abraham DT.Management of Chyle Leak in the Neck Following Thyroid Cancer Surgery: A Single Center Experience. World J Endocr Surg 2015;7(1):6-9.

พิชชาพร ธนาพงศธร. การรั่วไหลของท่อน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า 2558;16(2):36-47.

Kierner AC, Zelenka I, Heller S, Burian M. Surgical anatomy of the spinal accessory nerve and the trapezius branches of the cervical plexus. Arch Surg 2000;135(12):1428-31. doi: 10.1001/archsurg.135.12.1428.

Roy S, Shetty V, Sherigar V, Hegde P, Prasad R. Evaluation of Four Incisions Used For Radical Neck Dissection- A Comparative Study. Asian Pac J Cancer Prev 2019;20(2):575-80. doi: 10.31557/APJCP.2019.20.2.575.

Agrawal G, Gupta A, Choraria A, Tiwari S, Chaudhary V. Comparison of standard modified shrobingers incision versus transverse cervical incision for neck dissection – our experience. Otolaryngol Case Rep 2018;6:47–50. https://doi.org/10.1016/j.xocr.2018.01.001

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th.ed. New York : John Wiley&Sons, Inc.; 1995:180.