ประสิทธิผลของการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ธฤตกวิน พันธุลี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2563 พบว่าสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานมากเป็นอันดับแรกคือ ด้านคุณภาพอากาศ อันดับสอง คือด้านจิตวิทยาสังคม และอันดับสาม คือ ด้านการยศาสตร์ซึ่งงานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้เยี่ยมประเมินความเสี่ยงเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี ทำให้จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากสิ่งคุกคามลดน้อยลง แต่ผู้วิจัยมีความต้องการจะพัฒนางานและหาวิธีการดำเนินงานตามบริบทของโรงพยาบาล จึงได้ดำเนินการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความรู้ 2) ความเสี่ยงของสิ่งคุกคามทางสุขภาพในโรงพยาบาล 7 ด้าน 3) สิ่งคุกคามสุขภาพด้วยเครื่องมือทางอาชีวสุขศาสตร์ และ 4) ประเมินความพึงพอใจ ก่อนและหลังเข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre Experiment Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่เข้าอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 100 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจาก Program ซึ่งคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Two dependent means ของ App N4Studies เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ส่วน 2) แบบ RAH.01 3) แบบ RAH.02 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน (Inferential statistic) ได้แก่ Dependent or Paired samples t-test
ผลการศึกษา: การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการอบรมความเสี่ยงของสิ่งคุกคามสุขภาพ7 ด้าน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความดังเสียงเฉลี่ยและระดับอุณหภูมิความร้อนเฉลี่ยที่ตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางอาชีวสุขศาสตร์หลังการอบรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความเข้มแสงเฉลี่ยที่ตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางอาชีวสุขศาสตร์ หลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก
สรุป: การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ทำให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานมีความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงเพิ่มขึ้น สามารถจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามสุขภาพ 7 ด้านได้ดียิ่งขึ้น ผลการประเมินและการควบคุมความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานด้านแสง เสียง และอุณหภูมิความร้อนลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128, ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 12 มกราคม 2554).

อารีพิศ พรหมรัตน์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์. คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยบริการสาธารณสุข ปี 2562. สมุทรปราการ : ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมโรค; 2562.

ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์, สงครามชัย ลีทองดี, ชาญชัย ติกขะปัญโญ. การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยในของพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก 2555;13(2):38-48.

มาดีนา น้อยทับทิม, ศิรินุช ด้วงสุข, นาริสา บินหะยีดิ. แนวทางการประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ในกระบวนการผลิตอาหาร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559;8(1):127-25.

ปิยาภรณ์ เพ็ญประไพ, วีระพร ศุทธากรณ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ผลของการจัดกระทำด้านการยศาสตร์ต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และอาการปวดหลังของคนทำงานแกะสลักไม้. พยาบาลสาร 2560;44(3):77-89.

อธิปรัชญ์ พันธ์แก้ว. การศึกษาการแก้ปัญหาจุดเสี่ยงบนทางหลวงหมายเลข2 (ถนนมิตรภาพ) ตอนขอนแก่น – หินลาด ช่วงกม. 342+518 - 344+500 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, คณะวิศวกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2561.

น้อยใจยา แก้ววงษา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า 2558;2(2):9-16.

จันทิมา ทอดสนิท, ฉันทนา กล่อมจิต. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการให้คำปรึกษาของเพื่อนที่ปรึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554;5(1):22-6.

นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย, สุนิศา แสงจันทร์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันตนเองเพื่อลดการรับสัมผัสมลพิษของแรงงาน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

กิตติ อุดมศักดิ์. การนำแสงสว่างธรรมชาติมาใช้ในอาคารผู้สูงอายุกรณีศึกษาห้องนันทนาการในโครงการลิฟวิงเวล. [สารนิพนธ์วิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2560.

ยุภา ศรีสิงห์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ผลของการสร้างความตระหนักผ่านการอบรมความปลอดภัยต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง ของคนงานผลิตเครื่องเรือนไม้. วารสารพยาบาลสาร 2560;44(3):90-101.

วีรพล บูรณกิจวิสูตร, สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์. การประเมินประสิทธิผลการลดอุณหภูมิอากาศภายในคลังสินค้าโดยการปรับปรุงการระบายอากาศ. วารสารวิจัยพลังงาน 2554;8(2554/3):58-61.

วีรินท์ พรหมวงค์, ยุพิน อินทะยะ, ศิริพร ขีปนวัฒนา. การใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพอาชีวอนามัยในชุมชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 2557;4(7):53-64.