ประสิทธิภาพของการเจาะคอน้อยกว่า 10 วันหลังใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ชุติมา ชัยช่วงโชค

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุไม่รู้สึกตัวต้องใส่เครื่องช่วยหายใจทางปาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นภาวะปอดติดเชื้อ มีการศึกษาพบว่าการเจาะคอเร็วขึ้นสามารถช่วยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วรวมถึงลดการติดเชื้อในปอดได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: ศึกษาระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (T-piece weaning) และอุบัติการณ์การเกิดปอดติดเชื้อ (Pneumonia) เมื่อผู้ป่วยได้รับการเจาะคอ (tracheostomy) ในระยะเวลาที่ต่างกัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา Therapeutic research รูปแบบ Ambi-spective observational cohortdesign ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุที่ได้รับการเจาะคอในระยะเวลาต่างกัน ตั้งแต่มกราคม 2562 ถึงมิถุนายน 2564 แบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอหลังใส่ท่อช่วยหายใจน้อยกว่า 10 วัน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับการเจาะคอตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป ศึกษาหาความแตกต่างของระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจและอัตราการเกิด ปอดติดเชื้อ
ผลการศึกษา: มีผู้เข้ารับการศึกษา 100 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอน้อยกว่า 10 วันจำนวน 47 คน เจาะคอตั้งแต่ 10 วันขึ้นไปจำนวน 53 คน เป็นเพศชาย 80% อายุเฉลี่ย 39 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอน้อยกว่า 10 วัน หย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วกว่าเฉลี่ย 1.49 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดอัตราการเกิด pneumonia ลงได้ 21% โดยมี NNP (number needed to prevent) เท่ากับ 4.76
สรุป: ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บรุนแรงที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจทางปากควรได้รับการเจาะคอภายใน 10 วัน เนื่องจากจะทำให้หย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วและลดการเกิดปอดติดเชื้อได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสะสมจากอุบัติเหตุทางถนน ปีพ.ศ.2564. [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. ค้นได้จาก:URL: https://www.thairsc.com/.

ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563. [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://roadsafety.disaster.go.th/inner.roadsafety-1.196/download/menu_7766/#s

นครชัย เผื่อนปฐม,ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท พรอสเพอรัสพลัสจำกัด; 2562.

Deng H, Fang Q, Chen K, Zhang X. Early versus late tracheotomy in ICU patients: A meta-analysis of randomized controlled trials. Medicine (Baltimore) 2021;100(3):e24329. doi: 10.1097/MD.0000000000024329.

Rizk EB, Patel AS, Stetter CM, Chinchilli VM, Cockroft KM. Impact of tracheostomy timing on outcome after severe head injury. Neurocrit Care 2011;15(3):481-9. doi: 10.1007/s12028-011-9615-7.

Shaw JJ, Santry HP. Who Gets Early Tracheostomy?: Evidence of Unequal Treatment at 185 Academic Medical Centers. Chest 2015;148(5):1242-50. doi: 10.1378/chest.15-0576.

Dunham CM, Cutrona AF, Gruber BS, Calderon JE, Ransom KJ, Flowers LL. Early tracheostomy in severe traumatic brain injury: evidence for decreased mechanical ventilation and increased hospital mortality. Int J Burns Trauma 2014;4(1):14-24. eCollection 2014. PMC3945824

Alali AS, Scales DC, Fowler RA, Mainprize TG, Ray JG, Kiss A, et al. Tracheostomy timing in traumatic brain injury: a propensity-matched cohort study. J Trauma Acute Care Surg 2014;76(1):70-6; discussion 76-8. doi: 10.1097/TA.0b013e3182a8fd6a.

de Franca SA, Tavares WM, Salinet ASM, Paiva WS, Teixeira MJ. Early Tracheostomy in Severe Traumatic Brain Injury Patients: A Meta-Analysis and Comparison With Late Tracheostomy. Crit Care Med 2020;48(4):e325-e331. doi: 10.1097/CCM.0000000000004239.

Zirpe KG, Tambe DV, Deshmukh AM, Gurav SK. The Impact of Early Tracheostomy in Neurotrauma Patients: A Retrospective Study. Indian J Crit Care Med 2017;21(1):6-10. doi: 10.4103/0972-5229.198309.

Touman AA, Stratakos GK. Long-Term Complications of Tracheal Intubation. In: Erbay RH, edited. Tracheal Intubation. [Internet]. 2021. [Cited 2021 June 1]. Avilable from:URL: https://www.intechopen.com/chapters/59759.

Robba C, Galimberti S, Graziano F, Wiegers EJA, Lingsma HF, Iaquaniello C, et al. Tracheostomy practice and timing in traumatic brain-injured patients: a CENTER-TBI study. Intensive Care Med 2020;46(5):983-94. doi: 10.1007/s00134-020-05935-5.

Lu Q, Xie Y, Qi X, Li X, Yang S, Wang Y. Is Early Tracheostomy Better for Severe Traumatic Brain Injury? A Meta-Analysis. World Neurosurg 2018;112:e324-e330. doi: 10.1016/j.wneu.2018.01.043.