ประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

อารี ศุขแจ้ง
พัชรา เกษมสุข
จรินญา บุ้งทอง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นการนำแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มในส่วนของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ และแนวคิดการวางแผนจำหน่ายแบบ D-METHOD มาบูรณาการโดยมีพยาบาลทำหน้าที่ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมต่อ 1) ความรู้และทักษะของผู้ดูแล 2) การกลับมารักษาซ้ำ 3) ค่าใช้จ่ายในการรักษา และ 4) ความพึงพอใจของผู้ดูแล
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบอายุ 1 เดือน – 5 ปี 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ จำนวนกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่มๆละเท่าๆกัน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลโดยใช้การวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทำการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2564–มกราคม พ.ศ.2565 ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 2) แบบบันทึกการเก็บข้อมูลทั่วไป 3 ) แบบทดสอบความรู้ 4) แบบประเมินทักษะการดูแล 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test, Mann Whitney U test, Wilcoxon signed-rank test
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะด้านการดูแลเมื่อเด็กมีไข้ การดูแลเมื่อไอ มีน้ำมูกหรือเสมหะ การสังเกตอาการผิดปกติ และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการกลับมารักษาซ้ำในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการดูแลเรื่องยา การดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลเรื่องอาหาร พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือโรงพยาบาลควรสร้างแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐานในการจำหน่าย แบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและพัฒนาให้ครอบคลุมในกลุ่มโรคสำคัญอื่นๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bernadeta D, Max R. Pneumonia. [Internet]. 2019. [cited 2021 April 22]. Available from :URL: https://ourworldindata.org/pneumonia.

United Nations Inter-Agency Group for Child Mortality Estimation (UN IGME). Levels and trends in child mortality. [Internet]. 2019 [cited 2021 April22].Available from:URL: https://data.unicef.org/resources/levels-and-trends-in-child-mortality/.

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก, ราชวิลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. ปอดบวม. ใน: สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก, ราชวิลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ ; 2562: 116- 44.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. R506 pneumonia. ระบบรายงานและฐานข้อมูล. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564]. ค้นได้จากURL:: http://apps.doe.moph.go.th

ฆนรส ภิญญาลังกร, วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559;27(1):139-51.

ปานเทพ อุดมศักดิ์. ความชุกของปอดอักเสบที่กลับเป็นซ้ำในเด็กที่รับไว้รักษาภายในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล 2552. (เอกสารอัดสำเนา).

กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ตัวชี้วัดเฉพาะโรค. รายงานการประเมินตนเองของ PCT กุมารเวชกรรม 2563. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2563. (เอกสารอัดสำเนา)

Rudan I, Boschi-Pinto C, Biloglav Z, Mulholland K, Campbell H. Epidemiology and etiology of childhood pneumonia. Bull World Health Organ. 2008 May;86(5):408-16. doi: 10.2471/blt.07.048769.

Çelebi S, Hacimustafaoglu M, Albayrak Y, Bulur N. Recurrent Pneumonia in Children. Turk Thor 2010;11:2, 56–9.

อุษณีย์ จินตะเวช. ผลกระทบของการเจ็บป่วยต่อการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็ก. เชียงใหม่L คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2553. (เอกสารอัดสำเนา).

Roberts CA. Unaccompanied hospitalized children: a review of the literature and incidence study. J Pediatr Nurs. 2010 Dec;25(6):470-6. doi: 10.1016/j.pedn.2009.12.070.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, รุ่งตะวัน ม่วงไหมทอง, รุ่งทิพย์ เขาโคกกรวด, ลูกเกด เสนพิมาย, สาวิตรี พาชื่นใจ. บทบาทพยาบาล : ความท้าทายในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2559; 22(1) : 121-32.

ผนึกแก้ว คลังคา, วิลาวัณย์ จันโทริ, อำภา ทาเวียง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล.วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล2562 ; 32(2) : 40 – 9.

ศรีมนา นิยมเค้า, จุฑารัตน์ มีสุขโข. ปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ. พยาบาลสาร 2559 ; 43 :1-11.

Orem DE. Nursing : Concepts of practice. 4th ed. St. Louis : C.V. Mosby ; 1991.

สมจิต หนุเจริญกุล, บรรณาธิการ. การดูแลตนเอง : ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2536.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2562 ; 9(1) : 135-45.

วนิดา แสนพุก, สุดใจ ศรีสงค์, เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารกองการพยาบาล 2563 ; 47(1) : 153 – 72.

ภาวิณี ช่วยแท่น, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, สุปรียา ตันสกุล. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารสุขศึกษา 2563 ; 43(1) : 12-24.

ฆนรส ม่วงทอง, วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์, พิมพิมล ธงยี่สิบ, สมทรง เค้าฝาย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนแบบสาธิตย้อนกลับเพื่อเพิ่มความสามารถของผู้ปกครองในการดูแลทางเดินหายใจผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ.วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2554; 19(1):109 – 16.

พรทิภา ธิวงศ์, อารี ชีวเกษมสุข , วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2563) . การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารพยาบาล 2563 ; 69(2) : 21 – 9.

นิภาพร หลีกุล, สุวิณี วิวัฒน์วานิช. ผลของการใช้การวางแผนจำหน่ายต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบปละความพึงพอใจของผู้ดูแล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2557; 30(3) : 87 – 96.