การลดลงของความชุกอัตราการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยภายหลังการใช้แนวทางการดูแลใหม่ในหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

Main Article Content

นุกูล ปุ๋ยสูงเนิน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight, LBW) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีอัตราการเสียชีวิต อัตราการเจ็บป่วยสูง ภาวะทุพโภชนาการ และการมีพัฒนาการล่าช้าในทุกด้านมากกว่าทารกแรกเกิดน้ำหนักปกติ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิด LBW ในปี งบประมาณ 2561 และปีงบประมาณ 2564 ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาเนื่องจากมีการเปลี่ยนแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ LBW ในปีงบประมาณ 2562 โดยการประเมินโภชนาการหญิงตั้งครรภ์เฉพาะรายโดยโภชนากร และติดตามน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยการอัลตร้าซาวด์ประเมินน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional observation study ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาในปีงบประมาณ 2561 และปีงบประมาณ 2564 โดยทบทวนเวชระเบียนดูผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย มัธยฐาน และแสดงข้อมูลเชิงคุณภาพเป็น ร้อยละ เปรียบเทียบสัดส่วน ระหว่างกลุ่มโดยใช้ chi-square test หรือ fisher exact test
ผลการศึกษา: จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดเข้ามาในการศึกษาทั้งหมด 852 ราย ในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 345 ราย ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 507 ราย พบว่าความชุกของ LBW ทั้งหมดในปีงบประมาณ 2561 และปีงบประมาณ 2564 เท่ากับร้อยละ 9.9 และร้อยละ 6.3 ตามลำดับ พบความชุกลดลงร้อยละ 3.5 (p-value=0.06) พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ LBW ในปีงบประมาณ 2564 ที่ได้รับการดูแลตามแนวทางใหม่ทั้งหมด 269 คน (ร้อยละ 53.1) มีอัตรา LBW ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.01) จากผลการวิเคราะห์พบว่าอัตรา LBW ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยต่อไปนี้คือ คลอดตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป (p-value=0.04) คลอดก่อนกำหนด (p-value=0.005) น้ำหนักก่อนตั้งมากกว่าหรือเท่ากับ 45 กิโลกรัม (p-value=0.02) ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง 18.5 – 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร(p-value=0.03) น้ำหนักขึ้นน้อยตลอดการตั้งครรภ์ (p-value=0.02) ไม่เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด (p-value=0.048)
สรุป: หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อ LBW ที่ได้รับการดูแลตามแนวใหม่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ LBW ส่งผลให้มีอัตรา LBW ลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global nutrition targets 2025 : low birth weight policy brief; 2014. Geneva : World Health Organization; 2014.

Wardlaw T, Blanc A, Zupan J, Ahman E, The United Nations Children's fund, World Health Organization. Low birthweight: country, regional and global estimates. Geneva : World Health Organization ; 2005.

กรมอนามัย ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight Rate) ระดับเขตสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbwr/index?year=2021

Lee AC, Kozuki N, Cousens S, Stevens GA, Blencowe H, Silveira MF, et al. Estimates of burden and consequences of infants born small for gestational age in low and middle income countries with INTERGROWTH-21st standard: analysis of CHERG datasets. BMJ 2017;358:j3677. doi: 10.1136/bmj.j3677.

Laopaiboon M, Lumbiganon P, Rattanakanokchai S, Chaiwong W, Souza JP, Vogel JP, et al. An outcome-based definition of low birthweight for births in low- and middle-income countries: a secondary analysis of the WHO global survey on maternal and perinatal health. BMC Pediatr 2019;19(1):166. doi: 10.1186/s12887-019-1546-z.

Desta SA, Damte A, Hailu T. Maternal factors associated with low birth weight in public hospitals of Mekelle city, Ethiopia: a case-control study. Ital J Pediatr 2020;46(1):124. doi: 10.1186/s13052-020-00890-9.

Mangklabruks A, Rerkasem A, Wongthanee A, Rerkasem K, Chiowanich P, Sritara P, et al. The risk factors of low birth weight infants in the northern part of Thailand. J Med Assoc Thai 2012;95(3):358-65.PMID: 22550834

Pongcharoen T, Gowachirapant S, Wecharak P, Sangket N, Winichagoon P. Pre-pregnancy body mass index and gestational weight gain in Thai pregnant women as risks for low birth weight and macrosomia. Asia Pac J Clin Nutr 2016;25(4):810-7. doi: 10.6133/apjcn.092015.41.

Luangkwan S, Vetchapanpasat S, Panditpanitcha P, Yimsabai R, Subhaluksuksakom P, Loyd RA, et al. Risk Factors of Small for Gestational Age and Large for Gestational Age at Buriram Hospital. J Med Assoc Thai 2015;98 (Suppl 4):S71-8. PMID: 26201137

Chen Y, Li G, Ruan Y, Zou L, Wang X, Zhang W. An epidemiological survey on low birth weight infants in China and analysis of outcomes of full-term low birth weight infants. BMC Pregnancy Childbirth 2013;13:242. doi: 10.1186/1471-2393-13-242.

Triped O, Arj-Ong S, Aswakul O. Maternal Risk Factors of Low Birth Weight at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2012; 20(1);12-20.

Mumbare SS, Maindarkar G, Darade R, Yenge S, Tolani MK, Patole K.

Maternal risk factors associated with term low birth weight neonates: a matched-pair case control study. Indian Pediatr 2012;49(1):25-8. doi: 10.1007/s13312-012-0010-z.

Figueiredo ACMG, Gomes-Filho IS, Batista JET, Orrico GS, Porto ECL, Cruz Pimenta RM, et al. Maternal anemia and birth weight: A prospective cohort study. PLoS One 2019;14(3):e0212817. doi: 10.1371/journal.pone.0212817.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล, ยศพล เหลืองโสมนภา. การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น : ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2558;32(2):147-56.

Prasitlumkum M. Risk of Low Birth Weight and Adverse Pregnancy Outcomes in Adolescent Pregnancies at Chainat Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2009; 17(2):93-7.

Tantayakom C, Prechapanich J. Risk of Low Birth Weight Infants from Adolescent Mothers: Review Case Study in Siriraj Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2008; 16(2):103-8.

American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Committee opinion no. 548: weight gain during pregnancy. Obstet Gynecol 2013;121(1):210–2.

สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แบบประเมินภาวะโภชนาการ NAF (Nutrition alert form) . [อินเตอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: AW_NAF_Form2016_3days (spent.or.th)

กรมอนามัย. แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์อายุ 19 ปีขึ้นไป. [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/mother%20and%20child/a5-08.pdf.

กรมอนามัย แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์อายุ 14-18 ปี [อินเตอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/mother%20and%20child/a5-09.pdf

กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อทารกน้ำหนักน้อย. 2565.