การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ประสงค์ รัศมียูงทอง
ยอดชาย สุวรรณวงษ์
สุภาพร พูลเพิ่ม
สิทธานนท์ แจ่มหอม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ชุมชนรอยต่อชายขอบเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดมักมีข้อจำกัดในด้านการเข้าถึงข้อมูลสื่อสาร และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามสุขภาพ เช่น โรคติดต่อ โรคอุบัติซ้ำ ซึ่งชุมชนรอยต่อชายขอบของจังหวัดสระบุรี มีอัตราการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกสูง การสื่อสารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการด้านสุขภาพ ดังนั้นการมีรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจะช่วยลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกิดจากภัยคุกคามสุขภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจังหวัดสระบุรี
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ ศึกษาเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565–กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมเชิงองค์ประกอบด้านการสื่อสารสุขภาพกลุ่มตัวอย่าง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพ และ 3) ทดสอบความเหมาะสมด้านประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ เครือข่ายสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจังหวัดสระบุรี และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารความเสี่ยง เลือกแบบเจาะจง แบบลูกโซ่ และสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: รูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจังหวัดสระบุรี มี 8 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดนโยบายและมาตรการการสื่อสารสุขภาพระดับท้องถิ่น 2) จัดตั้งคณะกรรมการด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพจากตัวแทนเครือข่าย 3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรอบรู้ด้านการสื่อสารสุขภาพในชุมชน 4) พัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวด้านการสื่อสารสุขภาพ 5) สร้างศูนย์การเรียนรู้สุขภาพชุมชนแบบครบวงจรเพื่อบริการด้านข้อมูลสุขภาพ 6) การพัฒนาสื่อและช่องทางการสื่อสารชุมชนโดยบูรณาการวัฒนาธรรมการสื่อสารชุมชนกับเทคโนโลยีการสื่อสารวิถีใหม่ 7) การฝึกซ้อมการเผชิญภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระหว่างเครือข่ายชุมชนเขตติดต่อจังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียง และ 8) การประเมินด้านประสิทธิภาพมาตรการชุมชนและความพึงพอใจของชุมชน
สรุปผล: รูปแบบมีความเหมาะสมด้านประโยชน์ (x ̅ = 4.41, S.D.= 0.79) และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติจริงในชุมชนจังหวัดสระบุรี (x ̅ = 3.95, S.D.= 0.91) โดยรวมในระดับมาก ภาคีเครือข่ายสามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารความเสี่ยงในพื้นที่รอยต่อชายขอบระหว่างจังหวัดได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ไตรศุลี ไตรสรณกุล. กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตรายและกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง. [อินเทอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565]; ค้นได้จาก : URL: https://www.thaigov.go.th/ news/contents/details/59491

โสภิต นาสืบ. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการทบทวน ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลกและในประเทศไทย. นนทบุรี : กลุ่มเทคโนโลยีและระบาดวิทยา กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ; 2564.

อรอุมา รัตนบรรณกิจ. บทความวิชาการ ผลกระทบทางด้านสุขภาพจิตจากวิกฤตการระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19. [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก : URL: https://www.senate.go.th/document/Ext26534/26534832_0002.PDF.

สกุลศรี ศรีสารคาม. กระบวนการของสื่อสังคมในการกำหนดวาระข่าวสาร เพื่อการขับเคลื่อนประเด็นสังคมสู่การรับรู้และการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2560; 2(1): 236-49.

World Health Organization. Risk communications and community engagement (RCCE). [Internet]. 2022 [Cited 2022 Aug 14]. Available from: URL: https://www.who.int/emergencies/risk-communications.

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. การสื่อสารสุขภาพดิจิทัล. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก : URL: https://touchpoint.in.th/digital-health-communication/.

หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, สตพร จุลชู, มธุดารา ไพยารมณ์, พิกุลแก้ว ศรีนาม. ปัจจัยและกลไกในการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยต่อมาตรการในการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคและมาตรการด้านสาธารณสุขและสังคม กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ; 2564.

มธุรส ทิพยมงคลกุล. ระบาดวิทยาภูมิศาสตร์ในงานสาธารณสุข. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42(3): 44-54.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทย–สถานการณ์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก : URL: http://social.nesdc.go.th/ social/Portals/0/Documents/1000UNFPArevPolicy%20Brief%20Thai20041169.pdf.

พลเดช ปิ่นประทีป. ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ; 2562.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มภาคกลางตอนบน 1. ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสระบุรี. [อินเทอร์เน็ต] . 2565. [สืบค้น 13 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก : URL: http://www.osmnorthcentral1.go.th/saraburi/about.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย จังหวัดสระบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก : URL: https://ssjsaraburi.moph.go.th/epidemic/report/0ecc726fabb67c64dea5f41a 7136e44b.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดสระบุรีปี พ.ศ. 2565 สัปดาห์ที่ 48. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ssjsaraburi.moph.go.th/epidemic/report/538b5e5d394ebfa 64f1f63187e8e dc99.pdf.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี. รายงานการประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5/PM10) จังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 1/2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก: http://sri.disaster.go.th/site3/download-src.php?did=43107.

ปรีชา โอภาสสวัสดิ์, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพในการรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของชุมชนในจังหวัดสระบุรีกรณีสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2564;6(2): 232-24.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. รายงานการถอดบทเรียนความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อระดับพื้นที่จังหวัดสระบุรี. การประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลจังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 8/2565. จังหวัดสระบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ; 2565.

ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล, ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล, วิภาวี เอี่ยมวรเมธ, ภาสนันทน์ อัศวรักษ์. ภูมิสังคมทางวิถีชีวิตและคุณค่าของพื้นที่สาธารณะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำกรณีศึกษาชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสิ่งแวดล้อม 2561; 22(3):41-8.

Creswell J W. A concise introduction to mixed methods research. Michigan : Sage Publications ; 2015.

Keeves PJ. “Model and Model Building. ”In : Keeves PJ, edited. Educational Research Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford : Pergamon Press ; 1988.

บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น ; 2554.

Krejcie R V, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1973;30(3): 607-10.

ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ, ย่าร่อนะ ศรีอาหมัด, รอมซี แตมาสา. รูปแบบการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดยะลา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2564;9(7):2963-78.

เมธาวี จำเนียร, เมธี แก้วสนิท. การสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;24(2):155-66.

Ratzan SC, Payne JG, Bishop C. The status and scope of health communication. J Health Commun 1996;1(1):25-41. doi: 10.1080/108107396128211.

Berlo DK. The Process of Communication. New York : Holt Rinehart and Winston ; 1960.

วิมล โรมา. ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงานชุมชนลดลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBI NCDs) สำหรับบุคลากรสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 17 มกราคม 2561;โรงแรม ทีเค. พาเลซ & คอนเวนชั่น. นนทบุรี; 2561: 1-60. (เอกสารอัดสำเนา).

ชุติมา ถวัลย์ปรีดา, ภัทรกันย์ ระเบียบดี, รัฐพงษ์ แซ่ย่าง, วริศรา นบนอบ, สุเมธา ทัศนเปรมสิน, อัญเชิญพร ธิติยศศักดิ์, และคณะ. ชุมชนแห่งการเรียนรู้กับการพัฒนาชุมชน. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2564; 1(2): 97-111.

กำจร หลุยยะพงศ์, สมสุข หินวิมาน, กาญจนา แก้วเทพ. การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะ. นนทบุรี : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ; 2560.

ยุภา นารินนท์. ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน 2563; 1(3): 38-44.