ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

คมเลนส์ สุนทร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 เป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายทั่วประเทศไทย และรวมถึงในอำเภอห้วยราช เพื่อให้การวางแผนการทำงานของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางย้อนหลัง ( retrospective cross sectional study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนโรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 105 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi-Square Test
ผลการศึกษา: พบว่าจากผู้ป่วยโควิด-19 105 รายเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง 93 ราย (ร้อยละ 88.6) โดยปัจจัยด้านอายุ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว และผลการตรวจภาพรังสีทรวงอก มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value เท่ากับ 0.008, 0.001, <0.001 และ 0.033 ตามลำดับ
สรุป: การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่ออาการของผู้ป่วยโควิด-19 มีทั้ง ปัจจัยด้านบุคคลและด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้มีอายุมาก ผู้มีดัชนีมวลกายสูง ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ จึงเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังว่าอาจเป็นกลุ่มที่เกิดอาการ และสามารถเกิดอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นควรให้ข้อมูลแก่ประชาชนและส่งเสริมการป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Yüce M, Filiztekin E, Özkaya KG. COVID-19 diagnosis -A review of current methods. Biosens Bioelectron 2021;172:112752. doi: 10.1016/j.bios.2020.112752.

Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet 2020;395(10223):497-506. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30183-5.

Du P, Li D, Wang A, Shen S, Ma Z, Li X. A Systematic Review and Meta-Analysis of Risk Factors Associated with Severity and Death in COVID-19 Patients. Can J Infect Dis Med Microbiol 2021;2021:6660930. doi: 10.1155/2021/6660930.

ฐิติพร สุวัฒนะพงศ์เชฏ, ชญานิน นิติวรางกูร, วราวุฒิ สุขเกษม, สิทธิ์ พงษ์กิจการุณ. Rama Co-RADS: เกณฑ์คัดแยกระดับความผิดปกติจากภาพรังสีทรวงอกสำหรับการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยยืนยันโควิด-19. Rama Med J 2021;44( 2):50-62. doi:10.33165/rmj.2021.44.2.

Sah P, Fitzpatrick MC, Zimmer CF, Abdollahi E, Juden-Kelly L, Moghadas SM, et al. Asymptomatic SARS-CoV-2 infection: A systematic review and meta-analysis. Proc Natl Acad Sci U S A 2021;118(34):e2109229118. doi: 10.1073/pnas.2109229118.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564;7(1):64-71.

Bhaskaran K, Bacon S, Evans SJ, Bates CJ, Rentsch CT, MacKenna B, et al. Factors associated with deaths due to COVID-19 versus other causes: population-based cohort analysis of UK primary care data and linked national death registrations within the OpenSAFELY platform. Lancet Reg Health Eur 2021;6:100109. doi: 10.1016/j.lanepe.2021.100109.

Omrani AS, Almaslamani MA, Daghfal J, Alattar RA, Elgara M, Shaar SH, et al. The first consecutive 5000 patients with Coronavirus Disease 2019 from Qatar; a nation-wide cohort study. BMC Infect Dis 2020;20(1):777. doi: 10.1186/s12879-020-05511-8.

ภาวศุทธิ์ เบิกบาน. การศึกษาผลของภาวะอ้วนต่อการเกิดภาวะปอดบวมระดับรุนแรงของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม ในจังหวัดสระบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(2):550-64.

COVID-19 and Obesity: The 2021 Atlas | World Obesity Federation. [Internet]. [cited 2022 March 22]. Available from: https://www.worldobesity.org/resources/resource-library/covid-19-and-obesity-the-2021-atlas.

สิทธิชัย บรรจงเจริญเลิศ, พิศาล ชุ่มชื่น. อัตราตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2565;2(1):25-36.

ณัฐ อารยะพงษ์. อาการแสดงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็ก. วารสารการ แพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(3):663-74.

Williamson EJ, Walker AJ, Bhaskaran K, Bacon S, Bates C, Morton CE, et al. Factors associated with COVID-19-related death using OpenSAFELY. Nature 2020;584(7821):430-6. doi: 10.1038/s41586-020-2521-4.

บรรพต ปานเคลือบ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลชุมชน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: vachira-2021-09-02_10-19-20_074077.pdf (vachiraphuket.go.th).

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี พ.ศ.2564 ของประเทศไทย. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2564.

พิชญามณฑ์ วรรณโก, อรุณรัตน์ สู่หนองบัว. ความสัมพันธ์ของวัคซีนโควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลชัยภูมิ ปีพ.ศ.2564-2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16 (3):1057-69.