อุบัติการณ์และลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งที่ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงสิบปีที่ผ่านมาที่โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีโดยตรง (acquired immunodeficiency syndrome [AIDS]-defining cancers) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งชนิด Kaposi’s sarcoma (KS), non-Hodgkin lymphomas (NHL) และ invasive cervical cancer ในขณะเดียวกันอุบัติการณ์ของมะเร็งในกลุ่ม non-ADIS-defining cancers ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยเองมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่แล้ว ประกอบกับได้รับการวินิจฉัยโรคที่ล่าช้า เนื่องจากโรคมะเร็งมักจะแสดงอาการเมื่ออยู่ในระยะลุกลามไปแล้ว ดังนั้น การศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะอาการของผู้ป่วยมะเร็งที่ติดเชื้อเอชไอวี จะช่วยให้แพทย์ผู้รักษามีข้อมูลประกอบการตรวจคัดกรองและประเมินอาการ นำไปสู่การวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะต้นอย่างเหมาะสมต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective observation cohort study) ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดตามมาในภายหลัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ในโรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อหาอุบัติการณ์และลักษณะของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ติดเชื้อเอชไอวี การศึกษานี้ได้ผ่านการรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมงานวิจัยโรงพยาบาลสุรินทร์
ผลการศึกษา: จากการสืบค้นข้อมูลในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรงมะเร็ง 22,514 ราย และผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี 3,967 ราย อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งภายหลังจากการติดเชื้อเอชไอวีทั้งสิ้น 55 ราย (1,386 ต่อแสนประชากร) โดยมีอายุเฉลี่ยขณะวินิจฉัยโรคมะเร็ง 42.1 ปี เป็นเพศหญิง 31 ราย (ร้อยละ 56.4) เป็นมะเร็งระยะต้น (cancer stage I-III) ร้อยละ 60 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นมะเร็งกลุ่ม AIDS-defining cancers 17 ราย (ร้อยละ 30.9) ซึ่งประกอบไปด้วย KS 4 ราย NHL 5 ราย และ invasive cervical cancer 8 ราย ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ติดเชื้อเอชไอวีจนเป็นมะเร็งเฉลี่ย 4.2 ปี (±4.5) มีเพียงผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 11.8) ตรวจพบเชื้อ HIV viral load > 40 copies/mL มีจำนวน CD4 เฉลี่ยเมื่อวินิจฉัยมะเร็ง 289.5 cells/mm3 (±226.2) (ร้อยละ CD4 18.8) และพบว่าค่า CD4 หลังจากวินิจฉัยแโรคมะเร็งลดลงเฉลี่ย 38.3 cells/mm3 (ร้อยละ CD4 1.1) โดยที่เป็นมะเร็งกลุ่ม non-AIDS-defining cancer 38 ราย (ร้อยละ 69.1) อายุเฉลี่ยขณะวินิจฉัยโรคมะเร็ง 50.1 ปี มีจำนวน CD4 เฉลี่ยเมื่อวินิจฉัยมะเร็ง 389.6 cells/mm3 (±155.7) ทั้งหมดเป็นมะเร็งชนิดก้อน (solid tumor) ที่พบมากที่สุดสามอับดับแรกคือมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งทวารหนัก โดยพบทั้งสิ้นร้อยละ 14.5, 12.7 และ 7.3 ตามลำดับ และระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ติดเชื้อเอชไอวีจนเป็นมะเร็งเฉลี่ย 8.9 ปี (±5.7) ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวมากกว่ากลุ่ม AIDS-defining cancer อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.004
สรุป: ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น และมีอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งทั้งกลุ่ม AIDS-defining cancer และ non-AIDS defining cancer น้อยกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ดังนั้นการเริ่มประเมินหรือคัดกรองมะเร็งควรจะเร็วกว่าคนทั่วไป และผลักดันให้ผู้ป่วยเข้ารับการคัดกรองและประเมินเป็นระยะอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่พบมากสุดสามอันดับแรก คือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะต้นและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม ส่งผลทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่ติดเชื้อเอชไอวีดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Reid E, Suneja G, Ambinder RF, Ard K, Baiocchi R, Barta SK, et al. Cancer in People Living With HIV, Version 1.2018, NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology. J Natl Compr Canc Netw 2018 ;16(8):986-1017. doi: 10.6004/jnccn.2018.0066.

Shiels MS, Islam JY, Rosenberg PS, Hall HI, Jacobson E, Engels EA. Projected Cancer Incidence Rates and Burden of Incident Cancer Cases in HIV-Infected Adults in the United States Through 2030. Ann Intern Med 2018;168(12):866-73. doi: 10.7326/M17-2499.

The Minority HIV/AIDS Fund. U.S. Statistics. HIV & AIDS Trends and U.S. Statistics Overview | HIV.gov. [Internet]. [Cited Mar 23 2023]. Available from: URL: HIV & AIDS Trends and U.S. Statistics Overview | HIV.gov

Angeletti PC, Zhang L, Wood C. The viral etiology of AIDS-associated malignancies. Adv Pharmacol 2008;56:509-57. doi: 10.1016/S1054-3589(07)56016-3.

Coghill AE, Pfeiffer RM, Shiels MS, Engels EA. Excess Mortality among HIV-Infected Individuals with Cancer in the United States. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 2017;26(7):1027-33. doi: 10.1158/1055-9965.EPI-16-0964

Marcus JL, Chao C, Leyden WA, Xu L, Yu J, Horberg MA, et al. Survival among HIV-infected and HIV-uninfected individuals with common non-AIDS-defining cancers. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 2015;24(8):1167-73. doi: 10.1158/1055-9965.EPI-14-1079.

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, et al. Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA Cancer J Clin 2021;71(3):209-49. doi: 10.3322/caac.21660

National Cancer Institute. Cancer Stat Facts: Anal Cancer. [Internet]. [Cited Mar 23 2023]. Available from:URL: Anal Cancer — Cancer Stat Facts

Loprinzi CL. Cancer Screening. ASCO-SEP Medical Oncology Self-Evaluation Program. 3rd. ed. NewYork: American Society of Clinical Oncology; 2013.