ผลการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ต่ออาการไม่สุขสบายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายจำนวนมากต้องเผชิญกับอาการไม่สุขสบาย เช่น อาการปวด เบื่ออาหาร หายใจเหนื่อย นอนไม่หลับ ซึ่งยาในขนานปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนอง ต่ออาการบางอย่างได้ดีจึงได้มีการนำสารสกัดกัญชาทางการแพทย์มาใช้เป็นทางเลือกในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามการศึกษาถึงผลของการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะ ประคับประคองยังคงมีจำกัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ต่ออาการไม่สุขสบายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยในกลุ่มเดียวชนิดกึ่งทดลองที่มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลัง (Quasi- Experimental study with one group pretest-posttest design) ใช้การเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคองที่ใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 50 คน วัดผลจากแบบประเมินอาการไม่สุขสบาย Edmonton symptom assessment scale (ESAS) มี ค่าความเชื่อมั่น Cronbach's alpha ที่ 0.75 และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพแบบทั่วไป EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย มีความเที่ยงใน การทดสอบซ้ำอยู่ใน ระดับดี (intra-class correlation coefficient = 0.89) โดยเปรียบเทียบคะแนนอาการไม่สุขสบาย ค่าคะแนนอรรถประโยชน์คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยใช้สถิติ Pair T-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด จำนวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 56 มีอายุเฉลี่ย 67.4 ปี ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลัง การใช้สารสกัดกัญชา ทางการแพทย์ พบว่าอาการไม่สุขสบาย ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน (p-value < 0.001) อาการเบื่ออาหาร (p-value =0.007) และอาการเหนื่อยเพลีย (p-value =0.001) ส่วนคุณภาพชีวิต ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.227)
สรุป: การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเบื่ออาหารและอาการเหนื่อยเพลียในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคอง จึงควรมีการสนับสนุน เชิงนโยบายให้มีการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Ryan T, Ingleton C, Gardiner C, Parker C, Gott M, Noble B. Symptom burden, palliative care need and predictors of physical and psychological discomfort in two UK hospitals. BMC Palliat Care 2013;12:11. doi: 10.1186/1472-684X-12-11.
Potter J, Hami F, Bryan T, Quigley C. Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns. Palliat Med 2003;17(4):310-4. doi: 10.1191/0269216303pm760oa.
Martell K, Fairchild A, LeGerrier B, Sinha R, Baker S, Liu H, et al. Rates of cannabis use in patients with cancer. Curr Oncol 2018;25(3):219-225. doi: 10.3747/co.25.3983.
Abrams DI. Integrating cannabis into clinical cancer care. Curr Oncol 2016;23(2):S8-S14. doi: 10.3747/co.23.3099.
Abrams DI, Guzman M. Cannabis in cancer care. Clin Pharmacol Ther 2015;97(6):575-86. doi: 10.1002/cpt.108.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กฎหมาย ประกาศ ระเบียบ – กัญชา กองควบคุมวัตถุเสพติด. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. ค้นได้จาก:URL: กฎหมาย ประกาศ ระเบียบ –กัญชา กองควบคุมวัตถุเสพติด (moph.go.th)
Anderson F, Downing GM, Hill J, Casorso L, Lerch N. Palliative performance scale (PPS): a new tool. J Palliat Care 1996 S;12(1):5-11. PMID: 8857241
Bruera E, Kuehn N, Miller MJ, Selmser P, Macmillan K. The Edmonton Symptom Assessment System (ESAS): a simple method for the assessment of palliative care patients. J Palliat Care 1991;7(2):6-9.PMID: 1714502
Nekolaichuk C, Watanabe S, Beaumont C. The Edmonton Symptom Assessment System: a 15-year retrospective review of validation studies (1991--2006). Palliat Med 2008;22(2):111-22. doi: 10.1177/0269216307087659.
Devlin NJ, Brooks R. EQ-5D and the EuroQol Group: Past, Present and Future. Appl Health Econ Health Policy 2017;15(2):127-37. doi: 10.1007/s40258-017-0310-5.
Pattanaphesaj J, Thavorncharoensap M, Ramos-Goñi JM, Tongsiri S, Ingsrisawang L, Teerawattananon Y. The EQ-5D-5L Valuation study in Thailand. Expert Rev Pharmacoecon Outcomes Res 2018;18(5):551-8. doi: 10.1080/14737167.2018.1494574.
Cyr C, Arboleda MF, Aggarwal SK, Balneaves LG, Daeninck P, Néron A, et al. Cannabis in palliative care: current challenges and practical recommendations. Ann Palliat Med 2018;7(4):463-77. doi: 10.21037/apm.2018.06.04.
Hill KP, Palastro MD, Johnson B, Ditre JW. Cannabis and Pain: A Clinical Review. Cannabis Cannabinoid Res 2017;2(1):96-104. doi: 10.1089/can.2017.0017.
อรรถสิทธิ ศรีสุบัติ, สมชาย ธนะสิทธิชัย, อรุณี ไทยะกุล, สุรีพร คนละเอียด, วรนุตร อรุณรัตนโชติ, ธนะรัตน์ อิมสุวรรณศร, และคณะ. ผลของการใช้ยาสกัดกัญชาชนิด THC เด่นในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารกรมการแพทย์ 2021;45(4):208–14.
Whiting PF, Wolff RF, Deshpande S, Di Nisio M, Duffy S, Hernandez AV, et al. Cannabinoids for Medical Use: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA 2015;313(24):2456-73. doi: 10.1001/jama.2015.6358.
วลีรัตน์ ไกรโกศล, อาสาฬา เชาวน์เจริญ, พลช แหลมหลวง, ณัฐดนัย มุสิกวงศ์, ผกากรอง ขวัญข้าว. ผลและความปลอดภัยของยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่มารับบริการที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารกรมการแพทย์ 2021;46(3):50-9.
Reuter SE, Martin JH. Pharmacokinetics of Cannabis in Cancer Cachexia-Anorexia Syndrome. Clin Pharmacokinet 2016;55(7):807-12. doi: 10.1007/s40262-015-0363-2.
Casarett DJ, Beliveau JN, Arbus MS. Benefit of Tetrahydrocannabinol versus Cannabidiol for Common Palliative Care Symptoms. J Palliat Med 2019;22(10):1180-4. doi: 10.1089/jpm.2018.0658.
Phansila N, Sittiwet C, Wongkongdech R. Comparison of effects of medicinal cannabis or standard palliative care on quality of life of patients with cholangiocarcinoma in Northeast Thailand. F1000 Research 2022;11(20):1-12. DOI:10.12688/f1000research.75060.1 Corpus ID: 245867236