ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไตวายในระยะที่สามในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

แสงอรุณ สื่อยรรยงศิริ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายเรื้อรังก็คือโรคเบาหวาน เป้าหมายของการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานนอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลแล้ว ต้องควบคุมปัจจัยอื่นๆทำให้ไตเสื่อมเร็ว
วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไตวายในระยะที่สามในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสุรินทร์
ระเบียบวิธีวิจัย: รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2544 ถึง 31 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ลงทะเบียนในคลินิกเบาหวานในปีพ.ศ. 2552 โดยตัดกลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตต่ำกว่า 30 หน่วย การประเมินข้อมูลย้อนหลังจากผลกลับไปหาเหตุว่าปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่มีผลทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเข้าสู่ระยะที่ 3 และวิเคราะห์ในกลุ่มย่อย โดยการประเมินผู้ป่วยในปีแรกของการเป็นเบาหวานว่า ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานในปีแรกนั้นมีภาวะไตวายหรือมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 626 ราย ชาย 179 ราย หญิง 447 ราย ได้รับการตรวจเลือด 3027 ครั้ง ตัวชี้วัดคือผู้ป่วยที่เป็นมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสาม การทำงานของไตอยู่ที่ 30 ถึง 59 หน่วยต่อปี ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะไตวาย คืออายุผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีความเสี่ยงของการเกิดไตวายเรื้อรังอยู่ที่ 7.67 เท่า (p-value <0.001) ผู้ป่วยที่มีระยะการเป็นเบาหวานนานมากกว่า 10 ปีมีความเสี่ยงอยู่ที่ 2.03 เท่า ถ้าเป็นเบาหวานมากกว่า 20 ปี มีความเสี่ยงที่ 6.2 เท่า และปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมของไตคือการมีภาวะโปรตีนในปัสสาวะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังมากกว่า 3.0 เท่า ซึ่งมีนัยยะสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ตัวแปร (p-value <0.001) เมื่อวิเคราะห์กลุ่มย่อยออกไปในกลุ่มคนไข้ที่เป็นเบาหวานในปีแรกของการวินิจฉัย ก็พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะโปรตีนในปัสสาวะตั้งแต่ปีแรกของการวินิจฉัยเบาหวานสูงถึงร้อยละ 34.4
สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไตวายในระยะที่สามในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสุรินทร์ คืออายุมากกว่า 60 ปี ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานและการมีโปรตีนในปัสสาวะ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. World report on hearing. Geneva: World Health Organization; 2021.

Ogurtsova K, Guariguata L, Barengo NC, Ruiz PL, Sacre JW, Karuranga S, et al. IDF diabetes Atlas: Global estimates of undiagnosed diabetes in adults for 2021. Diabetes Res Clin Pract 2022;183:109118. doi: 10.1016/j.diabres.2021.109118.

No authors in list. Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33) UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Lancet 1998;352(9131):837-53. PMID: 9742976

Diabetes Control and Complications Trial Research Group, Nathan DM, Genuth S, Lachin J, Cleary P, Crofford O, et al. The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long-term complications in insulin-dependent diabetes mellitus. N Engl J Med 1993;329(14):977-86. doi: 10.1056/NEJM199309303291401.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes—2010. Diabetes Care 2010;33 Suppl 1(Suppl 1):S11-61. doi: 10.2337/dc10-S011.

de Boer IH, Khunti K, Sadusky T, Tuttle KR, Neumiller JJ, Rhee CM, Rosas SE, et al. Diabetes Management in Chronic Kidney Disease: A Consensus Report by the American Diabetes Association (ADA) and Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO). Diabetes Care 2022;45(12):3075-90. doi: 10.2337/dci22-0027.

Keane WF, Eknoyan G. Proteinuria, albuminuria, risk, assessment, detection, elimination (PARADE): a position paper of the National Kidney Foundation. Am J Kidney Dis 1999;33(5):1004-10. doi: 10.1016/s0272-6386(99)70442-7.

Ritz E, Stefanski A. Diabetic nephropathy in type II diabetes. Am J Kidney Dis 1996;27(2):167-94. doi: 10.1016/s0272-6386(96)90538-7.

Ritz E, Orth SR. Nephropathy in patients with type 2 diabetes mellitus. N Engl J Med 1999;341(15):1127-33. doi: 10.1056/NEJM199910073411506.

Fabre J, Balant LP, Dayer PG, Fox HM, Vernet AT. The kidney in maturity onset diabetes mellitus: a clinical study of 510 patients. Kidney Int 1982;21(5):730-8. doi: 10.1038/ki.1982.90.

Lea JP, Nicholas SB. Diabetes mellitus and hypertension: key risk factors for kidney disease. J Natl Med Assoc 2002;94(8 Suppl):7S-15S.

azancioğlu R. Risk factors for chronic kidney disease: an update. Kidney Int Suppl (2011) 2013;3(4):368-71. doi: 10.1038/kisup.2013.79.

อัจจิมา กาญจนาภา. โรคไตจากเบาหวานกับวิธีการตรวจ. R&D NEWSLETTER. 2558:22(4);22-4.

จิรวัฒน์ สีตื้อ. ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการท างานของไตลดลง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองร่องซ้อ จังหวัดแพร่.วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2562;27(2):1-15.