ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีของผู้ปกครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: เด็กในช่วงวัย 5 ปีแรก เป็นช่วงของรากฐานที่สำคัญของชีวิต ที่มีผลต่อสุขภาพในอนาคต เด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเลี้ยงดูของผู้ดูแลเป็นสำคัญ หากเด็กมีพัฒนาการล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวในอนาคตได้ ดังนั้นเด็กในวัยนี้ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและสามารถเจริญเติบไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีของผู้ปกครอง
สถานที่ศึกษา: ชุมชนท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาความสัมพันธ์ (Descriptive Correlation study)
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดถึงห้าปีที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ G* power 3.1.9.4 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 269 คน
วิธีการทำวิจัย: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปี และส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปี ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Pearson’s Product Moment Correlation Co-efficient
ผลการศึกษา: ผู้ปกครองมีการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.5, SD = 0.4) มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M= 3.9, SD = 0.5) การรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
สรุป: ควรส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงห้าปีที่ถูกต้องโดยเฉพาะด้านการรับวัคซีน และด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานประจำปี 2558 : พลวัตสุขภาวะไทยสู่การขยายเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพสากล. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ; 2558.
กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมกรมอนามัย. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2561: พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2561.
ภรณี แก้วลี. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้าง เสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”.วันที่ 29 กรกฎาคม 2559, มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี ; 2559: 1675-85.
พิณสุดา สิริรังธศรี. การยกระดับคุณภาพ ครูไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน ; 2557.
Rosenstock IM. Historical original at the health belief model. Health Educ Behav 1988;2(4)328-35. https://doi.org/10.1177/109019817400200403
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. New Jersey : Pearson Education : 2006.
ภควดี นนทพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2561;1(3)10-24.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563]. ค้นได้จาก:URL: Ebook1.pdf (thaichilddevelopment.com)
อัจฉราพร ปิติพัฒน์, สิริณัฏฐ์ โภคพัชญ์ภูเบศ, ชลินดา คำศรีพล, สมสมร เรืองวรบูรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2561;34(3):1-10.
สุกัญญา ฆารสินธุ์, วรนุช ไชยวาน. พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตชุมชนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี : 2019;685-695.
สุพัตรา บุญเจียม. พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564;13(2):7-22.
Brooks-Gunn J, Duncan GJ. The effects of poverty on children. Future Child 1997;7(2):55-71. PMID: 9299837
ลาวัลย์ ทาวิทะ, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, มาลี เอื้ออำนวย. พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของผู้ดูแลหลักและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร 2559;43(4)12-22.