ผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

วัลลภา ดิษสระ
กิตติพงษ์ สอนล้อม
บุญประจักษ์ จันทร์วิน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคข้อเข่าเสื่อมจัดเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ มีภาวะพึ่งพิง โรคข้อเข่าเสื่อมจัดเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น พบผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป มีอาการข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 80
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) ใช้แนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ ได้แก่1) การกำหนดหัวข้อสำหรับการทบทวน 2) การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัย 3) การสืบค้นงานวิจัย 4) การคัดเลือกงานวิจัย 5) การประเมินคุณภาพงานวิจัย 6) การสกัดข้อมูล 7) การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ผลการวิจัย และ 8) การนำเสนอผลการทบทวนงานวิจัย
ผลการศึกษา: จากการสืบค้นทั้งหมด มีงานวิจัย 14 เรื่อง ที่ได้รับการคัดเลือก ในประเด็นผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ก่อนการพอกยาสมุนไพรนั้น ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเข่าที่รุนแรง เมื่อได้รับการพอกยาสมุนไพรแล้ว พบว่าระดับความรู้สึกปวดเข่ามีระดับความรู้สึกปวดลดลง อาการข้อฝืดที่เข่าลดลง
สรุป: สูตรสมุนไพรที่ใช้ในการพอกเข่าเพื่อลดอาการปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายสูตร ซึ่งให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับการใช้ปริมาณสมุนไพรหลัก จึงควรพัฒนา ความรู้ และสนับสนุนการพอกเข่าในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อลดการรับประทานยาและผลข้างเคียงจากยา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, อรพินท์ สีขาว. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(1):393 - 403.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุปี 2565. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=5353

Kensila U, Kuhirunyaratn P, Boonlert A. (2018). Knowledge of care and service mind behavior among caregivers for the elderly in urban areas of udon Thani province. J Med Assoc Thai 2018;101:1423- 8.

คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไทสุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์ ; 2560.

ศิริพร แย้มมูล, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, ศรา ศิรมณีรัตน์. ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่าโรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัด อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2561;1(1):16-27.

รุ่งนภา จันทรา, ชลิตา สุดจันทร์, ชุติกาญจน์ ตั้งรุ่งเจริญ, ญานิกา ทองปา, ฐิติมา นุชยา, ฐิติมา ปานไวและคณะ. ผลของการใช้สมุนไพรพอกเข่าลดอาการปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่า เสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2560;13(1):165-73.

วรกานต์ มุกประดับ. ประสิทธิผลของแผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ; 2563:1120 - 7.

สุพัตรา พรคุ้มทรัพย์, ยงยุทธ วัชรดุลย์, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. การศึกษาผลของยาพอกสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2563;17(2):275 - 84.

อุมาพร เคนศิลา, อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี. ผลของยาพอกสมุนไพรลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29(4):13-21.

เกียรติสุดา เชื้อสุพรรณ,วิชัย โชควิวัฒน์,ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ธวัชชัย กมลธรรม.ประสิทธิผลของการ พอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอ ดอนตูม จังหวัดนครปฐม.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(02):155-.

ชุตินันท์ ขันทะยศ, กนกพร ปัญญาดี. ผลของถุงยาสมุนไพรประคบข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. วารสารสุขภาพภาค 2560;12(4):43-9.

ชัยญา นพคุณวิจัย. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019" สุพรรณบุรี: มปท.; 2562: 944-51.

ปภาวี พรหมสูงวงษ์, สุริยนต์ โคตรชมภู, วิราศิณี อึ้งสำราญ, ธรรมรัตน์ ศรีหะมงคล. ผลของแผ่นแปะเจลจากสมุนไพรขิงและขมิ้น บรรเทาอาการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ; 2563 : 1039-48.

ทัศพร พันธ์งอก, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, ภาคภูมิ รัศมีหิรัญ, ธนกมณ ลีศรี. ผลต่ออาการปวดเข่า และการทรงตัว ระหว่างการพอกเข่าด้วยสมุนไพร และการพอกเย็น ในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อม ในชุมชนวัดหูช้าง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565;16(1):223-35.

ศิริรัตน์ ศรีรักษา, สุธินันท์ วิจิตร, ซากีมะห์ สะมาแล, ชวนชม ขุนเอียด, วิชชาดา สิมลา, ตั้ ม บุญรอด. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าตำรับหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าต่อการบรรเทาอาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า. วาสารหมอยาไทยวิจัย 2563;8(1):47-62.

เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, วินัย สยอวรรณ, วรายุส คตวงค์, ณัฐสุดา แก้ววิเศษ, อิศรา ศิรมณีรัตน์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำารับยาพอกสูตรที่ 1 กับยาพอกสูตรที่ 2 ต่ออาการปวดเข่าและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560;11(1):64 -72.

แก่นเกื้อ นาวาบุญนิยม. ผลการพอกสมุนไพรฤทธิ์เย็นต่ออาการปวดเข่าของกลุ่มผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ; 2561.

กรกฎ ไชยมงคล. ประสิทธิผลของการใช้ยาสมุนไพรตำรับพอกเข่าในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารช่อพะยอม 2562;30(1):119-28.

กมลชนก อบอุ่น, ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร. การพัฒนาครีมนวดเท้าจากนํ้ามันขิงเพื่อบรรเทาอาการชาและปวดที่เท้าในผู้ป่วยโรคเส้นประสาทจากเบาหวาน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2554;7(1):28-38.

ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;18(1):104-11.