ผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉินหลายระบบในโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อัจฉรี สารพัฒน์
คำสอน แซ่อึ้ง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การเจ็บป่วยด้วยภาวะฉุกเฉิน (emergency illness) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันมีภาวะวิกฤตต่อชีวิตและมีความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อการเสียชีวิตและอาจเกิดความพิการ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉินหลายระบบ
วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร จำนวน 168 คน ผู้ป่วย จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกการพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์งานบริการผู้ป่วย แบบสอบถามคุณภาพการพยาบาล และการปฏิบัติตามรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent T-test
ผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีดังนี้ กระบวนการพยาบาล Pre-hospital, In-hospital การดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่ายและการประเมินผล ผลการพัฒนาโดยรวมมีคุณภาพการพยาบาลและการปฏิบัติตามรูปแบบมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ร้อยละของงานบริการผู้ป่วยที่การลดลง ได้แก่ อัตราการหายใจ จากร้อยละ 82.9 เป็น 70.7 ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด จากร้อยละ 7.3 เป็น14.6) ชีพจร จากร้อยละ 87.8 เป็น 82.9 ความดันโลหิต จากร้อยละ 85.4 เป็น 80.5 ร้อยละการเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุณหภูมิกายปกติ จากร้อยละ 12.2 เป็น 22.0 ระบุระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บถูกต้อง ได้แก่ ผู้ป่วยวิกฤต จากร้อยละ 26.9 เป็น 12.2 ไม่ฉุกเฉิน จากร้อยละ 29.3 เป็น 19.5 ไม่เร่งด่วน จากร้อยละ 12.2 เป็น 9.8 ได้รับการผ่าตัดภายใน 60 นาที และ รับการผ่าตัดภายใน 120 นาที จากร้อยละ 12.5 เป็น 78.1 วันนอนโรงพยาบาลต่ำกว่า 5 วัน จากร้อยละ 56.1 เป็น 70.7 และเสียชีวิตที่แผนกฉุกเฉินลดลง จากร้อยละ 2.4 เป็น 0.0
สรุป: รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่จุดเกิดเหตุถึงการจำหน่าย ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Emergency care systems for universal health coverage: ensuring timely care for the acutely ill and injured. Director-General. WHA72.16 - 28 May 2019. [Internet]. [cited 2021 August 21]. Available from:URL: Emergency care systems for universal health coverage: ensuring timely care for the acutely ill and injured (who.int)

World Health Organization. Emergency care systems for universal health coverage. [Internet]. [cited 2021 August 21]. Available from:URL: Universal Health Coverage Day 2022 (who.int)

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(4): 668-80.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนด (ฉบับที่1). กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2556.

รังสฤษฎ์ รังสรรค์. การคัดกรองผู้ป่วยด้วยระบบ Emergency Severity Index (ESI). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:http://ergoldbook.blogspot.com

Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int 2010;107(50):892-8. doi: 10.3238/arztebl.2010.0892.

เนตรญา วิโรจวานิช. ประสทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561;12(1):84-94.

กรองได อุณหสูต และเครือข่ายการพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย Multiple Injury แนวทางการจัดการผู้ป่วย Multiple ตามหลักฐานเชิงประจักษ์. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่2/2559. กรุงเทพมหานคร, 2559. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. การดำเนินการจัดบริการทางการแพทย์วิถีใหม่. สมุทรสาคร : บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด ; 2563.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์ ; 2557.

กันยารัตน์ เกิดแก้ว, นิตยา สินเธาว์. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า 2563; 3(3):94-111.

อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร, วรวุฒิ ขาวทอง, ปารินันท์ คงสมบูรณ์, สมศรี เขียวอ่อน. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43(2):146-51.

อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2):315-28.

National Health and Medical Res-earch Council. A guideline to the developmental, implement-tation and evaluation of clinical practice guidelines. [Internet]. Canberra : Commonwealth of Australia ;1999. [cited 2022 April 9]. Available from:URL: A guide to the Devlopment, Evalution and Implemetation of Clinical Practice Guidelines (nhmrc.gov.au)

ธวัชชัย ตุลวรรธนะ. Initial management in Trauma. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ มศว. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: Initial management in Trauma (swu.ac.th)

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย, โสพิศ เวียงโอสถ. ประสิทธิผลของการใชแนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2562;20(1):66-75.