การศึกษาลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุดเขต นรัฐกิจ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อลำคอส่วนลึกเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความรุนแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น ภาวะช็อกจากติดเชื้อจนถึงเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกโรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study)โดยศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อลำคอส่วนลึก โดยวินิจฉัยด้วย ICD-10 (J36, J39.0) และนอนพักรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 69 ฉบับ สุ่มคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกจากเวชระเบียนและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.1) มีอายุเฉลี่ย 44.7 ปี (±21.6) โดยช่วงอายุ 3-79 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Buccal space abscess (ร้อยละ 30.4) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2.1 วัน (±1.2) โดยมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1-7 วัน ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว(ร้อยละ 68.2) และพบว่าสาเหตุของการติดเชื้อลำคอส่วนลึกมากที่สุด คือ ฟันผุ (ร้อยละ 60.9) และมีการรักษาด้วยยามากที่สุด (ร้อยละ 53.6)
สรุป: การมีโรคประจำตัวและสาเหตุ(ฟันผุ)ของการติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึก จึงควรเฝ้าระวังภาวะการติดเชื้อในผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่ภาวะฟันผุซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการการติดเชื้อลำคอส่วนลึกต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Rana RS, Moonis G. Head and neck infection and inflammation. Radiol Clin North Am 2011;49(1):165-82. doi: 10.1016/j.rcl.2010.07.013.

Poeschl PW, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 2010;110(2):151-6. doi: 10.1016/j.tripleo.2009.12.039.

Oliver ER, Gillespie MB. Deep neck space infections. In: Flint PW., Haughey BH, Robbins KT, Lund VJ, Thomas JR, Niparko JK, et al., editors. Cummings Otolaryngology-Head and neck surgery. 5th ed. Philadelphia: MOSBY Elsevier; 2007: 226-33.

นันทกร ดำรงรุ่งเรือง. การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2564;41(1):12-23.

โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. ข้อมูลเวชระเบียนและสถิติ ปี 2560-2564. สุรินทร์ : งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศีขรภูมิ; 2563:1-26.

กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562;34(3):321-32.

Kauffmann P, Cordesmeyer R, Tröltzsch M, Sömmer C, Laskawi R. Deep neck infections: A single-center analysis of 63 cases. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2017;22(5):e536-e541. doi: 10.4317/medoral.21799.

พิทยา พลเวียง.ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโรงพยาบาลกุมภวาปี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564;29(2):295-303.

วราลักษณ์ ยั่งสกุล, พิชญนาฏ ศรีเมฆารัตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลพังงา.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2563;34(4):171-83.

ชวน ชีพเจริญรัตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประชานุเคราะห์. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า 2560;18(1):44-55.

อนวัช วรรธนะมณีกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผลการรักษาการติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(3):665-78.

รัชดาพร รุ้งแก้ว. การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563;2(2):213-29.

Ovassapian A, Tuncbilek M, Weitzel EK, Joshi CW. Airway management in adult patients with deep neck infections: a case series and review of the literature. Anesth Analg 2005;100(2):585-9. doi: 10.1213/01.ANE.0000141526.32741.CF.

ธารกมล อนุสิทธิ์ศุภการ.การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึกร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2563;29(1)(ฉบับเสริม 1):47-64.

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์เจริญ สมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดเชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2561;62(5):365-74.

American Diabetes Association. Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Diabetes Care 2014;37(Suppl 1):S81–90. DOI: 10.2337/dc14-S081

Kidambi S, Patel SB. Diabetes mellitus: considerations for dentistry. J Am Dent Assoc 2008 ;139 Suppl:8S-18S. doi: 10.14219/jada.archive.2008.0364.