การศึกษาลักษณะทางสังคมและผลลัพธ์ทางสูติกรรมแม่วัยรุ่นโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2563

Main Article Content

กุสุมา มีศิลป์
นิธิกุล เต็มเอี่ยม
พงศ์ศิริ ชิดชม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารก ทั้งยังส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษาหน้าที่การงานรวมทั้งรายได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมและผลลัพธ์ทางสูติกรรมของแม่วัยรุ่น ที่มาคลอดโรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2563
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (Descriptive Cross Sectional Study) (Research) ประชากรคือ แม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่มาคลอดโรงพยาบาลศรีสะเกษเดือน มกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: แม่วัยรุ่นจำนวน 412 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 18 ปี (17.8 ± 1.4) ขณะตั้งครรภ์ มีสถานภาพเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 63.3 สถานะทางการศึกษาในวันคลอดบุตรส่วนใหญ่ หยุดเรียน/ลาออก ร้อยละ 51.1 ในปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 55.3 อาชีพของสามีรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 54.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 18.9 และพึ่งพิงรายได้จากพ่อแม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 45.4 ผลลัพธ์ทางสูติกรรมแม่วัยรุ่นคลอดก่อน กำหนดร้อยละ 19.4 และมีภาวะแทรกซ้อนระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด ร้อยละ 18.4 น้ำหนักทารกแรก คลอดต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 21.6 ภาวะสุขภาพของทารกผิดปกติ ร้อยละ 19.2
สรุป: แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในขณะไม่จบศึกษา ออกกลางคันและตกงาน สามี แม่วัยรุ่น อาชีพไม่มั่นคงและตกงาน ครอบครัวแม่วัยรุ่นยังเป็นครอบครัวที่มีภาวะพึ่งพิงพ่อแม่ผู้ปกครอง ผลการตั้งครรภ์และการคลอดแม่วัยรุ่นพบปัญหาการคลอดก่อนกำหนด มีภาวะแทรกซ้อน ในขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด ทารกที่เกิดจากแม่วัยรุ่น พบปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และสุขภาพของทารกไม่แข็งแรงสมบูรณ์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. การประชุมเสนอรายงานขั้นกลาง “โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” 12 เป้าหมาย; 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560; ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ . [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.sdgmove.com/2017/ 04/28/ meeting-1may2016/.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ (พ.ศ. 2560 – 2562). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; 2560.

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง,บุญฤทธิ์ สุขรัตน,ประวิช ชวชลาศัย, ธัชณัท พันตรา, ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, บรรณาธิการ. ผลการเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2558. นนทบุรี : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2560.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลที่สำคัญการใช้ไอชีทีของเด็กและเยาวชน พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานนักงานสถิติแห่งชาติ ;2561.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, วิพรรณ ประจวบเหมาะ, ศิริวรรณ ศิริบุญ, วิราภรณ์ โพธิศิริ, บุศริน บางแก้ว, ชเนตตี มิลินทางกูร. แม่วัยใส: สถานการณ์และบริบทในสังคมไทย. โครงการสำรวจและศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมรอบที่ 1 (มิถุนายน-สิงหาคม 2556). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2556.

บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบาย แนวทางการดำเนินงานและติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2557.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2561 เขตสุขภาพที่10. ศรีสะเกษ : สำนักงาน.; 2561.

สำนักอนามัยเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2559. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2559.

วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(2):82-92.

พิทยา พิสิฐเวช. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์และการคลอดในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558;29(1):101-10.