การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลบ้านด่าน

Main Article Content

อัญชนา พืดขุนทด

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การบริบาลทางเภสัชกรรม ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเพิ่มความร่วมมือในการรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด และความพึงพอใจต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านด่าน โดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้โรคเบาหวาน และแบบวัดความพึงพอใจในการบริบาลทางเภสัชกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 9.0 และหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 11.3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FPG) เฉลี่ย ก่อนให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 183.9 mg/dl และหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 140.8 mg/dl ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) เฉลี่ย ก่อนให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 8.6 และหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เท่ากับ 6.8 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่า มีความพึงพอใจรวม ร้อยละ 89.2
สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และมีความพึงพอใจที่ดี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes 2018. [Internet]. [cited 2018 July 12]. Available from:URL:https://www.idf.org/aboutdiabetes/what-is-diabetes/facts-figures.html.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี : ร่มเย็น มีเดีย ; 2560.

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561. [ อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: ตัวชี้วัดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561 :: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (thaincd.com)

ศศิธร กิจไพบูลย์ทวี. การบริบาลทางเภสัชกรรม บนหอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31(3):369-83.

นีลนาถ เจ๊ะยอ. ความชุกและปัจจัยทานายความล้มเหลวในการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2559;10(3):333–9.

รจิตา พรินทรากลุ, อาจินต์ สงทับ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564;13(2):345-55.

สมมนัส มนัสไพบูลย์, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศราวุฒิ อู่พุฒินันท์. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13(1):37-51.

Bartz, AE. Basic Statistical Concept. 4th.ed. London : Person ; 1998.

ติยารัตน์ ภูติยา, สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล, กุลชญา ลอยหา. การพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลินในเขตตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย 2564;11(1):91-105.

บุญรักษ์ ฉัตรรัตนกุลชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัว โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 2564;18:167-78.