การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจส่งผลทั้งผู้เสพ ครอบครัวและชุมชน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และความเข้าใจใน วิธีการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้เชี่ยวชาญการบำบัดฟื้นฟู ผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนและพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยให้อัตรา การคงอยู่ในการบำบัดรักษาฟื้นฟู 90 วัน ครบ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอสตึก จำนวน 30 คน นำมาพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยมีการอบรมภาคทฤษฎี 4 ชั่วโมง ซึ่ง ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ ร้อยละ 80 ขึ้นไป และภาคปฏิบัติการในชุมชน ต้องทำ 12 กิจกรรมตามโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูผู้เสพสารเสพติดในชุมชนโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำหนดความเชี่ยวชาญคือ ดำเนินการ 12 กิจกรรมแล้วมีอัตราการคงอยู่ในการบำบัดฟื้นฟู 90 วัน ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนที่ผ่านประชาคมหมู่บ้านและสมัครใจเข้า รับการบำบัดฟื้นฟูในชุมชน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 30 คน มีอายุเฉลี่ย 48 ปี พบชายร้อยละ 36.6 หญิงร้อยละ 63.4 มีผลคะแนนก่อนเข้าอบรม เฉลี่ย ร้อยละ 49.6 และมีคะแนนหลังเข้าอบรมภาคทฤษฎีเฉลี่ย ร้อยละ 88.9 และดำเนินการ 12 กิจกรรมตามโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูผู้เสพสารเสพติดในชุมชนร้อยละ 100 ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนจำนวน 18 ราย มีการใช้สารแอมเฟตามีนมากที่สุด และพบว่าไม่เคยเข้าบำบัดฟื้นฟูสารเสพ ติดมาก่อน ร้อยละ 88
สรุป: การทำกิจกรรมตามโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูผู้เสพสารเสพติดในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านครบ 12 กิจกรรม พบว่าเกิดภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม ของชุมชนและผู้ใช้สารเสพติดมีอัตราการคงอยู่ในการบำบัดฟื้นฟู 90 วัน ร้อยละ 84.5 และพบความสัมพันธ์ของช่วงคะแนนสอบภาคภาคทฤษฎีที่สูงกับอัตราการคงอยู่ในการบำบัดฟื้นฟู 90 วันที่สูงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.69) และพบความสัมพันธ์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เคยมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดใน ชุมชนมาก่อนกับอัตราการคงอยู่ในการบำบัดฟื้นฟู 90 วันที่สูงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.66)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อารี สุภาวงศ์. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุก โรงพยาบาลทุ่งสง วิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์ .วารสารการพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36 (ฉบับพิเศษ) :160-70.
วีระวัต อุครานันท์, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, บรรณาธิการ. การบำบัดฟื้นฟูโดยมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ใช้ยาเสพติด. ใน: วีระวัต อุครานันท์, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, บรรณาธิการ. แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. นนทบุรี : เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ ; 2562 1 :7-20.
United Nations Office on Drug and Crime. Community Base Treatment and Care for Drug use and Dependence Information Brief for Southeast Asia 2014. [Internet]. [Cited 2023 Jan 20]. Available from:URL: cbtx_brief_EN.pdf (unodc.org)
สรรคเพชร หอมสมบัตร, อาทิตย์ เล่าสุอังกูร. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเครือข่ายลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดเลย.วารสารโรงพยาบาลพุทธโสธร 2565;38 (1) :147-52.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข .แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2564-2566. นนทบุรี : ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ;2564:22-30.
ศูนย์ปราบปรามป้องกันยาเสพติดแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย. สำเนาคำสั่งป้องกันปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติที่ 3/2561. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: 2ceh62y10ackc8ss4k.pdf (moph.go.th)
สำนักระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การศึกษาและวิเคราะห์ การฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ติดยาเสพติด .กรุงเทพฯ : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
กระทรวงสาธารณสุข. การฟื้นฟูและติดตามการดูแลหลังการบำบัดผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพฯ: องค์การทหารผ่านศึกแห่งประเทศไทย ; 2546.
ศรีสุดา ลุนพุฒิ. การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2565 ;12(2):18-29.
โสภิดา ดาวสดใส,จินตนา ศรีธรรมมา,กิตติมา ก้านจักร.ปัจจัยที่มีผลต่อความสมารถในการติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดของคณะกรรมการดำเนินงานติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการเสพติด 2557;2 (2) :11-24.