ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

Main Article Content

พิริยา ทิวทอง
ศีตรา มยูขโชติ
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หากได้รับการให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางด้านสุขภาพจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
วัตถุประสงค์: พื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลตติยภูมิและได้รับการคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำนวน 154 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งแบบวัดความรู้เกี่ยวกับตัวเลขมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก 0.7 แบบวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ 6 ด้านได้ค่าเท่ากับ .9 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการพรรณนาผลการศึกษา และใช้สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์แรกร้อยละ 35.7 ครรภ์เดี่ยวทั้งหมด ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 68.4 อายุครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกระหว่าง 5-35 สัปดาห์ โดยเป็นการฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1.3 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ ร้อยละ 50.3 ได้รับการคัดกรองภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ร้อยละ 71.8 โดยร้อยละ 50.0 พบว่ามีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ชนิดไม่พึ่งอินซูลินหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ที่เกี่ยวกับตัวเลขน้อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M=4.7, SD = 1.8; M=5.6, SD = 2.2 ; p<.05) และมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M=100.4, SD = 17.2; M=78.4, SD = 13.6; p<.001)
สรุป: ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้คือควรให้ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์อย่างครบถ้วน จะส่งผลต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพ และทำให้หญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดำ, ทัศณีย์ หนูนารถ, เบญจวรรณ ละหุการ. ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2562;9(2):100-13.

Wendland EM, Torloni MR, Falavigna M, Trujillo J, Dode MA, Campos MA, et al. Gestational diabetes and pregnancy outcomes--a systematic review of the World Health Organization (WHO) and the International Association of Diabetes in Pregnancy Study Groups (IADPSG) diagnostic criteria. BMC Pregnancy Childbirth 2012;12:23. doi: 10.1186/1471-2393-12-23.

Muche AA, Olayemi OO, Gete YK. Prevalence and determinants of gestational diabetes mellitus in Africa based on the updated international diagnostic criteria: a systematic review and meta-analysis. Arch Public Health 2019;77:36. doi: 10.1186/s13690-019-0362-0.

Parnell AS, Correa A, Reece EA. Pre-pregnancy Obesity as a Modifier of Gestational Diabetes and Birth Defects Associations: A Systematic Review. Matern Child Health J 2017;21(5):1105-20. doi: 10.1007/s10995-016-2209-4.

Hinkle SN, Mumford SL, Grantz KL, Silver RM, Mitchell EM, Sjaarda LA, et al. Association of Nausea and Vomiting During Pregnancy With Pregnancy Loss: A Secondary Analysis of a Randomized Clinical Trial. JAMA Intern Med 2016;176(11):1621-7. doi: 10.1001/jamainternmed.2016.5641.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, อรพินท์ สีขาว. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2557:15(2):50-9.

Pirdehghan A, Eslahchi M, Esna-Ashari F, Borzouei S. Health literacy and diabetes control in pregnant women. J Family Med Prim Care 2020;9(2):1048-52. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_891_19.

แสงดาว แจ้งสว่าง, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563: 28(3):79-89.

กรฐณธัช ปัญญาใส พิชามญชุ์ ภูเจริญ, ณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560;28(1): 51 – 62.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560:27(3):91-106.

บุญสืบ โสโสม, เกศแก้ว วิมนมาลา, เยาวดี สุวรณนาคะ, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ: การดูแลที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์เบาหวานในยุคโควิด-19. วารสารแพทย์นาวี 2564:48(1):224-40.

บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารวัดผลการศึกษา. 2539: 2(1),64-70

ปิยะนันท์ ลิ้มเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, อรวรรณ พินิจเลิศสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2559:34(2):58-69.

Meldgaard M, Jensen AL, Johansen AD, Maimburg RD, Maindal HT. Health literacy and related behaviour among pregnant women with obesity: a qualitative interpretive description study. BMC Pregnancy Childbirth 2022;22(1):712. doi: 10.1186/s12884-022-05023-0.

วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ.2562. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ; 2562.