ผลของโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความรู้และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชิษณุสรณ์ มีพลัง
ธณกร ปัญญาใสโสภณ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนสุขภาพชุมชนอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณสุข มีบทบาทในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง นำความรู้ที่ถูกต้องไปถ่ายทอดให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความรู้และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
รูปแบบการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน สำหรับเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสุ่มแบบอย่างง่ายร่วมกับสมัครใจเข้าร่วม ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามและแบบประเมินทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: 1) ภายหลังได้รับโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และทักษะการใช้เครื่องเออีดี (AED) 90.3 96.6 และ 98.8 (±11.9, ±9.2,±4.2) ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 62.7 30.0 30.6 (±17.0,±22.7,±21.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) 2) ภายหลังได้รับโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และและทักษะการใช้เครื่องเออีดี (AED 90.3 96.6 และ 98.8 (±11.9, ±9.2,±4.2) ดีกว่ากลุ่มควบคุม 63.9 28.0 31.0 (±18.7, ±22.7,±21.4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
สรุป: โปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสามารถเพิ่มศักยภาพโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้ดีขึ้น ดังนั้น ควรนำโปรแกรมไปใช้กับอาสามาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือบุคคลในครอบครัว และชุมชนในเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization . World health statistics 2022: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization ; 2020.

วริศรา เบ้านู. ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562;6:37-47.

Sricharan KN, Rajesh S, Kundapur R, Meghana HC, Badiger S, Mathew S. Study of Acute Myocardial Infarction in Young Adults: Risk Factors, Presentation and Angiographic Findings. JCDR 2012;6(2):257-60. doi: https://doi.org/10.7860/JCDR/2012/.1995

American Heart Association. AHA Guidelines update for CPR and ECC 2015. Circulation 2015;132(18)Supplement 2:s574-s589. Doi:http://circ.ahajournals.org/content/132/18_suppl_2/S574.

Meier P, Baker P, Jost D, Jacobs I, Henzi B, Knapp G, et al. Chest compressions before defibrillation for out-of-hospital cardiac arrest: a meta-analysis of randomized controlled clinical trials. BMC Med 2010;8:52. doi: 10.1186/1741-7015-8-52.

Bång A, Herlitz J, Martinell S. Interaction between emergency medical dispatcher and caller in suspected out-of-hospital cardiac arrest calls with focus on agonal breathing. A review of 100 tape recordings of true cardiac arrest cases. Resuscitation 2003;56(1):25-34. doi: 10.1016/s0300-9572(02)00278-2.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตรการอบรมฟื้นฟูความรู้ อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ปี พ.ศ. 2553. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย ; 2553.

ทิพย์สุดา พรหมดนตรี, จินตนา ดำเกลี้ยง. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2021;41(3):99-108.

ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปัณณทัต บนขุนทด. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคล ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(2): 6-15.

วงศ์สิริ แจ่มฟ้า, ศิริรัตน์ จำปีเรือง, ศศิธร ชิดนายี. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางสังคม ภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563;5(11): 361-374.

พิมพ์รดา สิริจิตต์ธงชัย. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ. วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา 2561;7(2);35-41.

โรชินี อุปรา, ชยธิดา นนท์เมธาวัฒน์, ทิพย์ ลือชัย, วราภรณ์ บุญยงค์, ปวีณา ยศสุรินทร์, ชลกนก ธนาภควัตกุล. ผลของการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ต่อความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564;13(2):73-86.

Rogers EM. Diffusion of innovations. New York : The Fee Press ; 1983.

โรงพยาบาลโนนสูง. ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลโนนสูง นครราชสีมา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลโนนสูง ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2549.

ธณกร ปัญญาใสโสภณ. ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง ; 2564.