ผลของการรักษาด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำในห้องฉุกเฉิน ในการป้องกันภาวะชักซ้ำจากภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยที่มีอาการถอนพิษสุราอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สุขุมาล สุนทร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะถอนพิษสุราเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยติดสุรา ผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงที่มีอาการชัก มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะชักซ้ำ Benzodiazepines เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาภาวะถอนพิษสุรา และสามารถป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ชักซ้ำและภาวะสั่นเพ้อจากการถอนพิษสุราได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ยา diazepam ทางหลอดเลือดดำ ณ ห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงในการลดการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยชนิด observational prospective cohort study มิติเก็บข้อมูล prospective cohort time data collection โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงร่วมกับมีภาวะชักที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุรินทร์และรับรักษาไว้เป็นผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 31 สิงหาคมพ.ศ.2566 ติดตามเก็บข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา diazepam ทางหลอดเลือดดำและกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวในห้องฉุกเฉิน และติดตามการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Chi-square
ผลการศึกษา: จากการติดตามกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการรักษาด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำในห้องฉุกเฉินกลุ่มละ 107 ราย ไม่พบการเกิดชักซ้ำในกลุ่มที่ได้รับยา diazepam ทางหลอดเลือดดำตั้งแต่ที่ห้องฉุกเฉิน พบการชักซ้ำในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาคิดเป็นร้อยละ 11.2 แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และการให้ยา diazepam ทางหลอดเลือดดำแก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงในห้องฉุกเฉินช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวในห้องฉุกเฉิน (Absolute Risk Reduction = 11.21, 95% CI = 5.05-17.38).
สรุป: การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษสุราด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำขณะผู้ป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉิน สามารถลดการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เดชา ลลิตอนันต์พงศ์. การถอนสุรา : กลุ่มอาการและการรักษา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2553;54(1):67-79.

Koch-Weser J, Sellers EM, Kalant H. Alcohol intoxication and withdrawal. N Engl J Med 1976;294(14):757-62. doi: 10.1056/NEJM197604012941405.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. นนทบุรี : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2561.

D'Onofrio G, Rathlev NK, Ulrich AS, Fish SS, Freedland ES. Lorazepam for the prevention of recurrent seizures related to alcohol. N Engl J Med 1999;340(12):915-9. doi: 10.1056/NEJM199903253401203.

Rathlev NK, D'Onofrio G, Fish SS, Harrison PM, Bernstein E, Hossack RW, et al. The lack of efficacy of phenytoin in the prevention of recurrent alcohol-related seizures. Ann Emerg Med 1994;23(3):513-8. doi: 10.1016/s0196-0644(94)70070-2.

อังกูร ภัทรากร, ธญรช ทิพยวงษ์, อภิชาต เรณูวัฒนานนท์, พัชรี รัตนแสง, วิมล ลัขณาภิชนชัย, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุรา. ใน: อังกูร ภัทรากร, ธญรช ทิพยวงษ์, อภิชาต เรณูวัฒนานนท์, พัชรี รัตนแสง, วิมล ลัขณาภิชนชัย, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับทีมสหวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2558 : 39-53.

Rogawski MA. Update on the neurobiology of alcohol withdrawal seizures. Epilepsy Curr 2005;5(6):225-30. doi: 10.1111/j.1535-7511.2005.00071.x.

Eyer F, Schuster T, Felgenhauer N, Pfab R, Strubel T, Saugel B, et al. Risk assessment of moderate to severe alcohol withdrawal--predictors for seizures and delirium tremens in the course of withdrawal. Alcohol Alcohol 2011;46(4):427-33. doi: 10.1093/alcalc/agr053.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, พิศวาส ศรีสอน, อมราภรณ์ ฝางแก้ว. ผลการปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมินภาวะ ถอนพิษสุรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2556;15(3):30-42.

Mayo-Smith MF. Pharmacological management of alcohol withdrawal. A meta-analysis and evidence-based practice guideline. American Society of Addiction Medicine Working Group on Pharmacological Management of Alcohol Withdrawal. JAMA 1997;278(2):144-51. doi: 10.1001/jama.278.2.144.

Chabria SB. Inpatient management of alcohol withdrawal: a practical approach. Signa vitae 2008;3(1):24-9. DOI: 10.22514/SV31.042008.3

Cassidy EM, O'Sullivan I, Bradshaw P, Islam T, Onovo C. Symptom-triggered benzodiazepine therapy for alcohol withdrawal syndrome in the emergency department: a comparison with the standard fixed dose benzodiazepine regimen. Emerg Med J 2012;29(10):802-4. doi: 10.1136/emermed-2011-200509.

No authors listed. The ASAM Clinical Practice Guideline on Alcohol Withdrawal Management. J Addict Med 2020;14(3S Suppl 1):1-72. DOI: 10.1097/ADM.0000000000000668

เพ็ญพักตร์ วรรณธนกานต์. ผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามแนวทางการถอนพิษสุราในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่ สัมพันธ์กับการดื่มสุราในโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2549.

Muzyk AJ, Leung JG, Nelson S, Embury ER, Jones SR. The role of diazepam loading for the treatment of alcohol withdrawal syndrome in hospitalized patients. Am J Addict 2013;22(2):113-8. doi: 10.1111/j.1521-0391.2013.00307.x.

Koh JJ, Malczewska M, Doyle-Waters MM, Moe J. Prevention of alcohol withdrawal seizure recurrence and treatment of other alcohol withdrawal symptoms in the emergency department: a rapid review. BMC Emerg Med 2021;21(1):131. doi: 10.1186/s12873-021-00524-1.

Foy A, March S, Drinkwater V. Use of an objective clinical scale in the assessment and management of alcohol withdrawal in a large general hospital. Alcohol Clin Exp Res 1988;12(3):360-4. doi: 10.1111/j.1530-0277.1988.tb00208.x.

Hughes JR. Alcohol withdrawal seizures. Epilepsy Behav 2009;15(2):92-7. doi: 10.1016/j.yebeh.2009.02.037.