ผลของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน

Main Article Content

ศศิพรรณ จองวัฒนากิจ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมีผลต่ออัตราตายและความพิการที่เพิ่มสูงขึ้น
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 12 ราย เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกแรกเกิด แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาล แบบบันทึกอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: หลังการใช้แนวปฏิบัติอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทารกแรกเกิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พยาบาลวิชาชีพผู้ร่วมใช้แนวปฏิบัติ ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดได้ถูกต้องร้อยละ 92.1 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดอยู่ในระดับมาก
สรุป: แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Almuneef M, Memish ZA, Balkhy HH, Alalem H, Abutaleb A. Ventilator-associated pneumonia in a pediatric intensive care unit in Saudi Arabia: a 30-month prospective surveillance. Infect Control Hosp Epidemiol 2004;25(9):753-8. doi: 10.1086/502472.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาล. ใน: อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : มิ่งเมืองนวรัตน์ ; 2560. ขาดหน้า

ธัญญากร นันทิยกุล. โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด ณ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อัตราการเกิด ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(ฉบับเพิ่มเติม 3):724-35.

Petdachai W. Ventilator-associated pneumonia in a newborn intensive care unit. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004;35(3):724-9. PMID: 15689095.

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย, สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย, ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฺฏิบัติการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย. จุลสารสมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย 2549;15(1):10-21.

จุฬีพรรณ การุโณ. การพัฒนามาตรฐานการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2558.

ลฎาภา พานเทียน. การสร้างแนวปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2563;5(3):45-55.

Kollef MH. Prevention of hospital-associated pneumonia and ventilator-associated pneumonia. Crit Care Med 2004;32(6):1396-405. doi: 10.1097/01.ccm.0000128569.09113.fb.

Augustyn B. Ventilator-associated pneumonia: risk factors and prevention. Crit Care Nurse 2007;27(4):32-6,38-9;quiz 40. PMID: 17671243.

Tablan OC, Anderson LJ, Besser R, Bridges C, Hajjeh R, CDC, et al. Guidelines for preventing health-care--associated pneumonia, 2003: recommendations of CDC and the Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee. MMWR Recomm Rep 2004;53(RR-3):1-36. PMID: 15048056.

หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator) 2563-2565. ลำพูน : หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน ; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

National Health and Medical Research Council. A Guide to the Development Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines. Canberra : National Health and Medical Research Council ; 1999.

มยุรี กมลบุตร, อุดมพร คำล้ำเลิศ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2556;28(1):53-68.