การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง : กรณีศึกษา 2 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: มารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ส่งผลให้มารดาหลังคลอดเกิดอาการชักถือเป็นอุบัติการณ์ที่มีความสำคัญและรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั้งในมารดาและทารกในครรภ์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการพยาบาลในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายและหาแนวทางในการพยาบาลมารดาหลังคลอดมีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงให้มีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของมารดาหลังคลอด โรคเดียวกันทั้ง 2 รายที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาล สุรินทร์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ.2566 ขั้นตอนได้แก่ เลือกผู้ป่วยแบบจำเพาะเจาะจง ประเมินมารดาหลัง คลอดวิเคราะห์ข้อมูลปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล อภิปรายผล สรุปและให้ข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด มีประวัติความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ได้มีการประเมินปัญหา กำหนด เป็นการพยาบาลในสามระยะคือ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูและระยะจำหน่าย โดยการมีการติดตามดูแลรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิดตามการ รักษาที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาและจำหน่ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย
สรุป: กระบวนการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สมฤดี กีรติวานิชเสถียร, ภารดี ชาวนรินทร์, นาถสุดา โชติวัฒนาคุณชัย. บทบาทของพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2562:25(4);112- 25.
จรวยพร แก้วตา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่ห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/data-service/or-wor-chor/item/5743.
นิศาชล สุขแก้ว, วรางคณา ชัชเวทย์, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ประสบการณ์การดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(3):32-48.
คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2562-2564. แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567]. ค้นได้จาก:URL: http://externinternguide.files.wordpress.com/2018/03 /og6-preeclampsia-eclampsiaexin.pdf.
จันทร์เพ็ญ อยู่ยง, ศินีนาถ อุ่นเมือง, วาสนา ปานไธสงค์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์เป็นพิษรุนแรงห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2565;6(12):131–43.
วิลาวัณ ทรงยศ. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [ สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567]. ค้นได้จาก:URL: https://www.vachiraphuket.go.th/links/cfee.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลสุรินทร์. ทะเบียนผู้ป่วยงานสูติกรรมหลังคลอดปี 2564 -2566. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์, สุชยา ลือวรรณ. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in pregnancy). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567], ค้นได้จาก:URL:https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6655/.
ปัญญา สนั่นพานิชกุล. ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการเป็นพิษในปัจจุบัน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2558;32(4):364-76.
พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, เพียงเพ็ญ สร้อยสุวรรณ, ขวัญฤดี โกพลรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2560;32(2):117–29.
พัชราภรณ์ เจียรนัยธนะกิจ. การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2563;33(2):12-23.
สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์, กัลยา เป๊ะหมื่นไวย, จุฑารัตน์ กาฬสินธุ์, ชนิตา แป๊ะสกุล , พรรณทิพา ขำโพธิ์. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็มต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2023;29(1):e260594.
ทัตชญา สุนทราเมธากร. กรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ทฤษฏีของโอเร็มกับการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2566;8(2):269-77.
Orem DE. Nursing concepts of practice. St Louis, MO : Mosby Year Book ; 1991.