ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวกับค่าน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ศศิวิมล ศิริวิวัฒนกรกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพบภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีจะมีภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตไม่ดีตามมา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานกับค่า
น้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 และปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานระดับดี
วิธีศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน พ.ศ. 2566 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ค่าน้ำตาลสะสม ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้วย สถิติ Pearson, Chi square, Fisher Exact Test, Independent t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 96 คน พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรู้และการปฏิบัติตัวระดับดี 10 คน (ร้อยละ10.4) ระดับไม่ดี 86 คน (ร้อยละ 89.6) โดยผู้ป่วยที่มีความรู้และการปฏิบัติตัวระดับดีมีค่าน้ำตาลสะสมดี (HbA1C≤ 7%) 2 คน และค่าน้ำตาลสะสมไม่ดี (HbA1C>7%) 8 คน ไม่พบความสัมพันธ์ในทางสถิติระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานกับค่าน้ำตาลสะสมเลือด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ สถานภาพ ระดับการศึกษา และ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน
สรุป: ระดับการศึกษาและระยะเวลาการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ร่มเย็น มีเดีย ; 2560.

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):256-68.

นาตยา อดกลั้น. ความรูและการปฏิบัติตัวของผูปวยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2561;1(1):31–9.

คงฤทธิ์ วั นจรูญ, สมจิตต์ สุพรรณทัสน์, ธีรพัฒน์ สุทธิประภา. ความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองพฤติกรรม และสภาวะสุขภาพของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 ตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):130–9.

อณัญญา ลาลุน, ไพฑูรย์ วุฒิโส, ธรณินทร์ คุณแขวน, สิริศักดิ์ อาจวิชัย. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 2562;9(1):48-55.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ; 2564.

ชมพูนุท ชีวะกุล. ความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2563;7(1):25-35.

ฤทธิชัย พิมปา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, สุปรียา ตันสกุล. พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2557;30(3):14-25.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ตั้ม บุญรอด, วิชชาดา สิมลา. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;7(2):25–37.

ธราดล เก่งการพานิช, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, มณฑา เก่งการพานิช, กาญจนา นันทะเสน, กรกนก ลัธธนันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินสมุนไพรเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2558;31(1):13–35.

วรารัตน์ ปาจรียานนท์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ลุนณี สุวรรณโมรา, สุพรรัตน์ ช่องวารินทร์, นวรัตน์ ภูเหิน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;15(1):118-27.

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์, ภรณี วัฒนสมบูรณ, สุปรียา ตันสกุล,พิศาล ชุ่มชื่น. ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 2557;1(1):1–12

ไพฑูรย์ สอนทน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานกับการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563;14(2):86-100.

ดารารัตน์ อุ่มบางตลาด, ศตกมล ประสงค์วัฒนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบเข้ม ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานใน PCU อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18(1):11–23.

วิภาพร สิทธิสาตร์, ศุภาณ์นาฎ สุวรรณกิจ,จันทิมา นวะมะวัฒน์. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพต่อความสามารถในการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขชุมชน 2565;6(2):127–38.

ปกาสิต โอวาทกานนท์, วิริยา สุนทรา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบบ กลุ่มในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555;27(3):236–41.

พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 2553;16(2):218-37.