สัดส่วนระหว่างการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์วิทยากับการวินิจฉัยด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

Main Article Content

พรรณชณัฐ มหรรทัศนพงฐ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การเจาะตรวจน้ำจากช่องเยื่อหุ้มปอดและ ส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์วิทยานั้น เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยน้อย จึงเป็น ที่นิยมและมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี อาการแสดงและภาพรังสีที่สงสัยมะเร็ง วิธีการตรวจนั้นมีทั้งการป้ายเซลล์ลงบนสไลด์โดยตรง วิธีการปั่นตกตะกอน และวิธีเซลล์บล็อก มีหลายงานวิจัยที่สนับสนุนการตรวจด้วยวิธี เซลล์วิทยาร่วมกับเซลล์บล็อก เนื่องจากพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการวินิจฉัยมะเร็งระยะลุกลาม และสามารถระบุชนิดของมะเร็งได้
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบสัดส่วนการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์วิทยาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยด้วยวิธี เซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และนำมาอภิปรายวิเคราะห์ความสำคัญและความจำเป็นของการส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์บล็อก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางของสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดสุรินทร์ที่มีอาการแสดงสงสัยมะเร็งระยะลุกลาม และได้ส่งตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยการทบทวนเวชระเบียน รายงานผลเซลล์วิทยา รายงานผลชิ้นเนื้อ นำข้อมูลพื้นฐานมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาผลลัพธ์เป็นสัดส่วนการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธี เซลล์วิทยาเปรียบเทียบกับ การวินิจฉัยด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยา โดยใช้สถิติ เชิงอนุมาน ด้วยการคำนวณ McNemar's Test เพื่อหาความสำคัญทางสถิติ โดยถือว่ามีนัยสำคัญเมื่อ p-value <0.05
ผลการศึกษา: รายงานสิ่งส่งตรวจจากน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยวิธีเซลล์วิทยา ที่ส่งตรวจในโรงพยาบาลสุรินทร์มีทั้งหมดจำนวน 601 ฉบับ แต่สิ่งส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์บล็อกที่แปลผลได้มีเพียง 109 ตัวอย่าง มาจากผู้ป่วย 86 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 64 ปี และมีอาการแสดงที่สงสัยโรคมะเร็ง ผลการวินิจฉัยของตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มมะเร็ง และกลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็งทุกตัวอย่าง ให้ผลการวินิจฉัยที่ตรงกันทั้งการวินิจฉัยด้วยวิธี Cytological techniques (CT) และการวินิจฉัยด้วยวิธี CT ร่วมกับ Cell block preparation (CB) เมื่อพิจารณาสัดส่วนระหว่างผลการวินิจฉัยด้วยวิธี CT กับการวินิจฉัยด้วยวิธี CT ร่วมกับ CB พบว่าการวินิจฉัยด้วยสองวิธีร่วมกันสามารถเพิ่มผลการวินิจฉัยในกลุ่มมะเร็งได้เป็นร้อยละ 63.3 จากร้อยละ 56.0 ในทางตรงกันข้าม สามารถลดผลการวินิจฉัยในกลุ่มกึ่งมะเร็งลงจากร้อยละ 18.4 เป็นร้อยละ 2.8 ร่วมกับพบความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 3 กลุ่มการวินิจฉัย ทั้งชนิด benign (P=0.002) ชนิด borderline (P=0.000) และชนิด malignant (P=0.008) สามารถระบุชนิดของมะเร็งได้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะมะเร็งในกลุ่ม Metastatic carcinoma (P=0.002) และกลุ่ม Metastatic adenocarcinoma (P=0.000)
สรุป: การวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจด้วยวิธีเซลล์วิทยา เพียงอย่างเดียว และเมื่อตรวจทั้งสองวิธีร่วมกันสามารถช่วยในการระบุชนิดย่อยของมะเร็งได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งในกลุ่ม Adenocarcinoma

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kumar V, Abbas AK, Fausto N, Aster JC. Robbins and Cotran pathologic basis of disease 9th ed. Philadelphia ; Elsevier health sciences ; 2014 : 721-2.

Dermawan JKT, Policarpio-Nicolas ML. Malignancies in Pleural, Peritoneal, and Pericardial Effusions. Arch Pathol Lab Med 2020;144(9):1086-91. doi: 10.5858/arpa.2019-0429-OA.

Assawasaksakul T, Boonsarngsuk V, Incharoen P. A comparative study of conventional cytology and cell block method in the diagnosis of pleural effusion. J Thorac Dis 2017;9(9):3161-7. doi: 10.21037/jtd.2017.08.52.

Gayen S. Malignant Pleural Effusion: Presentation, Diagnosis, and Management. Am J Med 2022;135(10):1188-92. doi: 10.1016/j.amjmed.2022.04.017.

Chandra A, Crothers B, Kurtycz D, Schmitt F, editors. The international system for serous fluid cytopathology. n.p. : Springer ; 2020 : 239-53.

Travis WD, Brambilla E, Noguchi M, Nicholson AG, Geisinger K, Yatabe Y, et al. Diagnosis of lung cancer in small biopsies and cytology: implications of the 2011 International Association for the Study of Lung Cancer/American Thoracic Society/European Respiratory Society classification. Arch Pathol Lab Med 2013;137(5):668-84. doi: 10.5858/arpa.2012-0263-RA.

Rekhtman N, Brandt SM, Sigel CS, Friedlander MA, Riely GJ, Travis WD, et al. Suitability of thoracic cytology for new therapeutic paradigms in non-small cell lung carcinoma: high accuracy of tumor subtyping and feasibility of EGFR and KRAS molecular testing. J Thorac Oncol 2011;6(3):451-8. doi: 10.1097/JTO.0b013e31820517a3.

สุพัตรา รักเอียด, ศุกล ภักดีนิติ, วิษณุ ปานจันทร์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (ปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์ ; 2558.

แพทยสภา. พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.tmc.or.th/statute.php.

ประภาพร พรสุริยะศักดิ์. น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion). [อินเตอร์เน็ท]. 2023 [สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Pleural effusion อ ประภาพร.pdf.

Amin A, DeLellis RA, Fava JL. Modifying phrases in surgical pathology reports: introduction of Standardized Scheme of Reporting Certainty in Pathology Reports (SSRC-Path). Virchows Arch 2021;479(5):1021-9. doi: 10.1007/s00428-021-03155-w.

Ugurluoglu C, Kurtipek E, Unlu Y, Esme H, Duzgun N. Importance of the cell block technique in diagnosing patients with non-small cell carcinoma accompanied by pleural effusion. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16(7):3057-60. doi: 10.7314/apjcp.2015.16.7.3057.

Ma ES, Ng WK, Wong CL. EGFR gene mutation study in cytology specimens. Acta Cytol 2012;56(6):661-8. doi: 10.1159/000343606.

กรกช สร้อยทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์ของยีน Epidermal growth factor receptor (EGFR) กับข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและลักษณะสิ่งส่งตรวจ ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung carcinoma (NSCLC). วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566;38(1):259-68.

Grigoriadou GΙ, Esagian SM, Ryu HS, Nikas IP. Molecular Profiling of Malignant Pleural Effusions with Next Generation Sequencing (NGS): Evidence that Supports Its Role in Cancer Management. J Pers Med 2020;10(4):206. doi: 10.3390/jpm10040206.