การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลสกลนคร

Main Article Content

ขชล ศรียายาง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ในประเทศไทยบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับการฝึกอบรมการช่วยฟื้น คืนชีพอย่างสม่ำเสมอและโรงพยาบาลสกลนครได้มีการพัฒนาการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ผลการศึกษาที่ได้จะนำไปพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเป็นศูนย์การสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง โรงพยาบาลสกลนครต่อไป
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์และพยาบาลที่เข้าอบรมในโครงการ การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ภายใต้การจัดอบรมของศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ทำการประเมินความรู้และประเมินทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนและหลังการฝึกอบรม และประเมินความพึงพอใจภายหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนาและ ทดสอบค่า Z (Z-test)
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของกลุ่มตัวอย่างมาก ขึ้นก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (P<0.001) และพบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมในทุกด้านในระดับมากที่สุด
สรุป: ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีของโครงการ การช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลสกลนคร และควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของเจ้าหน้าทุกระดับและขยายผลไปยังพื้นที่ ที่รับผิดชอบต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

American Heart Association. Part 9: Interim Guidance to Healthcare Providers for Basic and Advanced Cardiac Life Support in Adults, Children, and Neonates with Suspected or Confirmed COVID-19. [internet]. [Cited 2023 March 3]. https://cpr.heart.org/en/resuscitation-science/cpr-and-ecc-guidelines/covid-19-interim-guidance.

International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies. International first aid and resuscitation guidelines 2016. Geneva : International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies ; 2016.

Perkins GD, Graesner JT, Semeraro F, Olasveengen T, Soar J, Lott C, et al. European Resuscitation Council Guidelines 2021: Executive summary. Resuscitation 2021;161:1-60. doi: 10.1016/j.resuscitation.2021.02.003.

Olasveengen TM, Semeraro F, Ristagno G, Castren M, Handley A, Kuzovlev A, et al. European Resuscitation Council Guidelines 2021: Basic Life Support. Resuscitation 2021;161:98-114. doi: 10.1016/j.resuscitation.2021.02.009.

Gräsner JT, Herlitz J, Tjelmeland IBM, Wnent J, Masterson S, Lilja G, et al. European Resuscitation Council Guidelines 2021: Epidemiology of cardiac arrest in Europe. Resuscitation 2021;161:61-79. doi: 10.1016/j.resuscitation.2021.02.007.

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์ ; 2563.

Munro BH. Statistical Methods for Health Care Research. 5th. ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2005.

Moll-Khosrawi P, Falb A, Pinnschmidt H, Zöllner C, Issleib M. Virtual reality as a teaching method for resuscitation training in undergraduate first year medical students during COVID-19 pandemic: a randomised controlled trial. BMC Med Educ 2022;22(1):483. doi: 10.1186/s12909-022-03533-1.

พรพิไล นิยมถิ่น. การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับทีมกู้ชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2562;22(3):22-30.

ธีราภรณ์ ฉายาวุฒิพงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(1):58-67.

จินดาพร ลันดา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยอาสาสมัครกู้ภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(2):199-206.

ชัจคเณค์ แพรขาว, อรวี ช่างเรือง, สุขุมาล หอมวิเศษวงศา. การส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกรณีเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันให้แก่ประชาชนในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริการวิชาการเพื่อสังคม 2565;1(2):1-13.

ธนาภรณ์ แสงสว่าง, วีระวัฒน์ เธียรประธาน, ไชยพร ยุกเซ็น. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลภายในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2565;2(1):28-36. DOI:https://doi.org/10.14456/jemst.2022.3

บัวบาน ปักการะโต, สหัศถญา สุขจำนงค์, อนุชิต สิ้วอินทร์, วิศรุต ศรีสว่าง, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจร โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(2):134-45. DOI:https://doi.org/10.14456/jemst.2021.14