การทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม โดยใช้ Nakhonphanom clinical risk score (NP score)

Main Article Content

สุรธินีย์ คูสกุลวัฒน
เกรียงไกร ประเสริฐ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนา clinical risk score (Nakhonphanom score; NP score) ในการทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชนที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลนครพนม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษารูปแบบ case-control เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี จาก เวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนมด้วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้นในการศึกษานี้ คือ 1,006 ราย เป็นผู้ป่วยเสียชีวิต (Case) จำนวน 355 ราย รอดชีวิต (Control) จำนวน 651 ราย เลือกปัจจัยที่ทำนายความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ดีที่สุด ด้วยสถิติ multivariable logistic regression และพัฒนาเป็น Clinical risk score
ผลการศึกษา: ปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชน ประกอบด้วยค่าคะแนน ECOG ≥ 3, WBC < 4,000 cells/mm3, ระดับ lactate ในเลือด > 4 mmol/L, ผลเอกซเรย์ปอด พบ multi-lobar หรือ bilateral pneumonia และมีภาวะ shock โดยค่าคะแนนที่ได้สามารถทำนายการเสียชีวิตในระดับ AuROC ร้อยละ 80.1 (95%CI; 77.30, 82.96) และเมื่อแปลงค่าคะแนนเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะพบความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อค่าคะแนนสูงขึ้น คำนวณค่า likelihood ratio of positive ต่อการเสียชีวิตได้เท่ากับ 0.52 (95%CI; 0.43, 0.62) ในช่วงคะแนนความเสี่ยงต่ำ 2.47 (95%CI; 2.04, 2.99) ช่วงคะแนนความเสี่ยงปานกลางและ 9.96 (95%CI; 2.93, 33.77) ในช่วงคะแนนความเสี่ยงสูง
สรุป: NP score เป็น clinical risk score ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ มีประโยชน์ในการทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ที่รับไว้รักษาในรพ. อย่างไรก็ตาม ควรนำ NP score ไปศึกษาถึงความตรงภายนอก (External Validation) ก่อนนำไปใช้ในเวชปฏิบัติ ช่วยให้แพทย์และพยาบาลเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และนำสู่การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Brar NK, Niederman MS. Management of community-acquired pneumonia: a review and update. Ther Adv Respir Dis. 2011 Feb;5(1):61-78. doi: 10.1177/1753465810381518.

Lim WS, Baudouin SV, George RC, Hill AT, Jamieson C, Le Jeune I, et al. BTS guidelines for the management of community acquired pneumonia in adults: update 2009. Thorax 2009;64 Suppl 3:iii1-55. doi: 10.1136/thx.2009.121434.

Chalmers JD, Mandal P, Singanayagam A, Akram AR, Choudhury G, Short PM, et al. Severity assessment tools to guide ICU admission in community-acquired pneumonia: systematic review and meta-analysis. Intensive Care Med 2011;37(9):1409-20. doi: 10.1007/s00134-011-2261-x.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบ ปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://192.168.100.12/boedb/d506_1/ds_wk2pdf.php?ds=31&yr=63.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบ ปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://192.168.100.12/boedb/d506_1/ds_wk2pdf.php?ds=31&yr=64.

พรอนันต์ โดมทอง. ระบบคะแนนเพื่อทำนายความรุนแรงและการเสียชีวิตในโรคปอดอักเสบติดเชื้อ จากเมลิออยโดสิส. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563;17(2):149-61.

No authors listed. Importance of severity assessment: community-acquired pneumonia. J Assoc Physicians India 2013;61(7 Suppl):14-9. PMID: 24779152.

Fine MJ, Auble TE, Yealy DM, Hanusa BH, Weissfeld LA, Singer DE, et al. A prediction rule to identify low-risk patients with community-acquired pneumonia. N Engl J Med 1997;336(4):243-50. doi: 10.1056/NEJM199701233360402.

Chalmers JD, Singanayagam A, Akram AR, Mandal P, Short PM, Choudhury G, et al. Severity assessment tools for predicting mortality in hospitalized patients with community-acquired pneumonia. Systematic review and meta-analysis. Thorax 2010;65(10):878-83. doi: 10.1136/thx.2009.133280.

Williams MV, Flanders SA, Whitcomb W, Cohn S, Michota F, Holman R, et al. Comprehensive Hospital Medicine: An Evidence Based Approach. Philadelphia: Saunders Elsevier, 2007.

Man SY, Lee N, Ip M, Antonio GE, Chau SS, Mak P, et al. Prospective comparison of three predictive rules for assessing severity of community-acquired pneumonia in Hong Kong. Thorax 2007;62(4):348-53. doi: 10.1136/thx.2006.069740.

Ewig S, Torres A, Woodhead M. Assessment of pneumonia severity: a European perspective. Eur Respir J 2006;27(1):6-8. doi: 10.1183/09031936.06.00130205.

Chalmers JD. ICU admission and severity assessment in community-acquired pneumonia. Crit Care 2009;13(3):156. doi: 10.1186/cc7889.

Charles PG, Wolfe R, Whitby M, Fine MJ, Fuller AJ, Stirling R, et al. SMART-COP: a tool for predicting the need for intensive respiratory or vasopressor support in community-acquired pneumonia. Clin Infect Dis 2008;47(3):375-84. doi: 10.1086/589754.

Yandiola PPE, Capelastegui A, Quintana J, Diez R, Gorordo I, Bilbao A, et al. Prospective comparison of severity scores for predicting clinically relevant outcomes for patients hospitalized with community-acquired pneumonia. Chest 2009;135(6):1572-9. doi: 10.1378/chest.08-2179

Singanayagam A, Chalmers JD, Hill AT. Severity assessment in community-acquired pneumonia: a review. QJM 2009;102(6):379-88. doi: 10.1093/qjmed/hcp027.

Gwak MH, Jo S, Jeong T, Lee JB, Jin YH, Yoon J, et al. Initial serum lactate level is associated with inpatient mortality in patients with community-acquired pneumonia. Am J Emerg Med 2015;33(5):685-90. doi: 10.1016/j.ajem.2015.03.002.

Loke YK, Kwok CS, Niruban A, Myint PK. Value of severity scales in predicting mortality from community-acquired pneumonia: systematic review and meta-analysis. Thorax 2010;65(10):884-90. doi: 10.1136/thx.2009.134072.