ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ธวัชชัย ยืนยาว
เพ็ญนภา บุญเสริม
ปุริตา บุราคร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเกิดโรคในชุมชน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม.จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม.จังหวัดสุรินทร์ ตัวอย่างเป็นอสม.ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,332 คน คัดเลือกเป็นการสุ่มแบบอาสาสมัคร(Volunteer Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One- way ANOVA และ Multiple Regression
ผลการศึกษา: คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอสม.จังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับสูง (M=4.29, SD.=0.55) ปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ปัจจัยเสริม (การได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจจากบุคคล) ความสามารถในการใช้ทรัพยากร ทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกและรายได้ต่อเดือน โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 29.4 (R2=0.294, p=0.015)
สรุปผล: ปัจจัยนำ (ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก) ปัจจัยเอื้อ(ความพอเพียงของทรัพยากรและความสามารถในการใช้ทรัพยากร) ปัจจัยเสริม (การได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจจากบุคคล) และปัจจัยส่วนบุคคล(รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็น อสม.) มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอสม.จังหวัดสุรินทร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ไข้เด็งกี่ (Dengue). [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกครึ่งปีพบผู้ป่วยสะสมสูงกว่า 27,000 ราย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=35376&deptcode=brc.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ฯ สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ปี พ.ศ.2566. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 สัปดาห์ที่ 26 ปีพ.ศ. 2566 (วันที่ 25 มิถุนายน-1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) .[อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:66-situation-26.pdf (moph.go.th)

กรมสนับสนุบบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2554.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อการยกระดับ อสม. เป็น อสม.หมอประจำบ้าน. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/Manual_official.pdf.

Green LW, Kreuter MW, Eds. Health Promotion Planning: An Educational and Ecological Approach. 3rd. ed. Mountain View, CA : Mayfield Publishing Company ; 1999.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.รายงาน อสม.ระดับจังหวัด สุรินทร์. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/osm/district.php?id=32.

Krejcie RV, Morgan DW. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607 – 10.

Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc 1975;66(1):28-31. PMID: 111029.

Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Educ Monogr 1974;2:328–335.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกแยกเป็นรายภูมิภาคของประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรม.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2566;10(2):193-212.

ปราโมทย์ เกรียงตันติวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2550. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2(1) ฉบับเสริม 3:738-46.

สุภาพ หวังข้อกลาง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน บ้านเทพทักษิณ ตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2564;36(2):91-9.

Schwartz NE. Nutrition knowledge, attitudes and practices of Canadian public health nurses. J Nutr Educ 1976; 8(1):28-31. https://doi.org/10.1016/S0022-3182(76)80113-6

สุรพล สิริปิยานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2563;4(8):85-102.

สิวลี รัตนปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 2561;16(2):87-96.