ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วยซึ่งหากได้รับการดูแลและฟื้นฟูจากทีมสุขภาพที่มีศักยภาพในด้านผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงจะทำให้มีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 54 คนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 54 คน คัดเลือกเป็นการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เครื่องมือการวิจัย 2 ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์การเปรียบเทียบก่อนและหลังการศึกษาของข้อมูลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ (ความดันโลหิต, ระดับน้ำตาลในเลือด, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, การประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ) และค่าคะแนนสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอสม.ด้วยสถิติทดสอบที (Paired t-test)
ผลการศึกษา: ค่าคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ค่าคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพ(ภาวะสุขภาพปัจจุบัน) ค่าคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพ(ภาวะสุขภาพเทียบกับคนวัยเดียวกัน) และค่าคะแนนสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุหลังเข้าโปรแกรมเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.001
สรุปผล: การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นและยังเพิ่มสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอสม.ให้สูงขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. World Health Statistics 2016: Monitoring health for the SDGs. Sustainable Development Goals. Geneva: Who press; 2016.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2558. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ; 2559.

สุมิตรา วิชา, ณัชพันธ์ มานพ, สุภา ศรีรุ่งเรือง, เบญจพร เสาวภา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์, และคณะ. การศึกษารูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฮ่องห้า อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561;22(43-44):70-85.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม care plan. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1392.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง, ภักดี โพธิ์สิงห์. การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2560;17(3):235-43.

บุษบา แพงบุปผา, ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. การประเมินสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดย Software Care Plan. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20181106105532_4029/20181115093317_2166.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. ข้อมูลผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป. [อินเตอร์เน็ต].2566. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566].ค้นได้จาก:URL: https://srn.hdc.moph.go.th/hdc/admin/login.php.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ; 2559.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press; 1998.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, บวรศม ลีระพันธ์. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ดีเซมเบอรี่ ; 2561.

ธวัชชัย ยืนยาว, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย. พฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของผู้สูงอายุชาวกูยในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):120-32.

Mahoney FI, Barthel DW. Functional Evaluation: The Barthel Index. Md State Med J 1965; 14:61-5. PMID: 14258950.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, ชัยยศ คุณานุสนธิ์, วิพุธ พูลเจริญ.ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : โฮลิสติกพับลิชชิ่ง ; 2542.

Ware JE, Kosinski M, Bjorno, JB, Turner-Bowker DB., Gandek B, Maruish MK. SF-36v2 Health Survey: Administration Guide for Clinical Trial Investigators. Lincoln, RI: QualityMetric, Incorporated; 2008.

กุลวีณ์ วุฒิกร, อิสระ สุวรรณบล, บรรพต วิรุณราช. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559;16(2 ):50-60.

นิชนันท์ สุวรรรกูฏ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564;23(2):18-26.

ธัญรัตน์ บุญล้ำ, วารี กังใจ, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการด้วยตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และเส้นรอบเอว ของผู้สูงอายุภาวะเมตาบอลิก.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2566;31(1):1-16.

นเรศ มณีเทศ.รูปแบบการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงของผู้ดูแลรายกรณี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565; 7(1):49-56.

เกษม เที่ยงรอด.การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. JRKA 2566; 8(6):252-64.

เนติยา แจ่มทิม, จันทร์ทิมา เขียวแก้ว, กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, เอกรัตน์ ปิ่นประภาพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2562; 2(2):62-74.

ประกายมาศ ดอกหอม, ทิพวัลย์ ไชยวงศ์, สัณหวัช ไชยวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565; 18(1):57-67.

อรวรรณ แผนคง, สุนทรีย์ คําเพ็ง, ภทริตา สุวรรณโน, กมลลักษณ์ สูตรสุข. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564;7(4):29-41.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อยกระดับ อสม.เป็นอสม.หมอประจำบ้าน. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2562.

เพ็ญพิมล เปียงแก้ว, วรางคณา จันทร์คง, เอกพล กาละดี.ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2566;6(1):1-14.

วรัญญา จิตรบรรทัด, ธมลวรรณ แก้วกระจก, พิมพจรรณ เรืองพุทธ. ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ในตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2560;23(1):5-16.