ประสิทธิภาพของยา Empagliflozin ในการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน การตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะปริมาณมากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราการกรองของไตลดต่ำลง และนำไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด ยากลุ่ม Sodium-glucose co-transporter 2 inhibitors (SGLT2i) เป็นยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มใหม่ สามารถช่วยลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลอการเสื่อมของไต แต่การศึกษาส่วนใหญ่ทำในยุโรปและอเมริกา
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ทำเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา Empagliflozin รับประทานขนาด 10 มิลลิกรัม กับกลุ่มไม่ได้รับประทานยา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัลบูมินในปัสสาวะ เพื่อดูความสามารถในการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลอการเสื่อมของไตในประชากรไทย
วิธีการศึกษา: การศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน คือมีการตรวจพบปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะตั้งแต่ 30 มก./กรัมครีเอตินีนขึ้นไป แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin และกลุ่มไม่ได้รับยา โดยใช้อัตราส่วน 1:2 ติดตามผลการรักษาโดยการตรวจปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและอัตราการกรองของไตก่อนและหลังรับประทานยาเป็นเวลาสองปี
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 246 ราย กลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin จำนวน 82 ราย และกลุ่มไม่ได้รับยาจำนวน 164 ราย หลังรับยาสองปีพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin สามารถการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (475.4 และ 841.4 มก./กรัมครีเอตินีน, p <0.001) และชะลออัตราการกรองของไตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (87.4 และ 78.9 มล./นาที/1.73 ตรม., p 0.009) นอกจากนั้นยังสามารถลดน้ำตาลสะสม ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวได้
สรุป: ยา Empagliflozin สามารถการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลออัตราการกรองของไตได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประชากรไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาการทบทวนมาตรการการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี : กลุ่มพัฒนานโยบายระดับประชากร กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.
Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S, et al. Thailand diabetes registry (TDR) project: clinical status and long term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai 2006;89 (Suppl 1):S1-9. PMID: 17717877
KDIGO: Kidney Disease Improving Global Outcomes. clinical practice guidelines and clinical practice recommendations for diabetes and chronic kidney disease. Kidney Int 2022;122 (Suppl 55):s1-s127. DOI:https://doi.org/10.1016/j.kint.2022.06.008
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes 2023. Diabetes Care 2023;46(Suppl.1):S97–S110. doi: 10.2337/dc23-S017.
Thomas MC, Brownlee M, Susztak K, Sharma K, Jandeleit-Dahm KA, Zoungas S, et al. Diabetic kidney disease. Nat Rev Dis Primers 2015;1:15018. doi: 10.1038/nrdp.2015.18.
Zinman B, Wanner C, Lachin JM, Fitchett D, Bluhmki E, Hantel S, et al. Empagliflozin, Cardiovascular Outcomes, and Mortality in Type 2 Diabetes. N Engl J Med 2015;373(22):2117-28. doi: 10.1056/NEJMoa1504720.
Wanner C, Inzucchi SE, Lachin JM, Fitchett D, von Eynatten M, Mattheus M, et al. Empagliflozin and Progression of Kidney Disease in Type 2 Diabetes. N Engl J Med 2016;375(4):323-34. doi: 10.1056/NEJMoa1515920.
Neuen BL, Young T, Heerspink HJL, Neal B, Perkovic V, Billot L, et al. SGLT2 inhibitors for the prevention of kidney failure in patients with type 2 diabetes: a systematic review and meta-analysis. Lancet Diabetes Endocrinol 2019;7(11):845-54. doi: 10.1016/S2213-8587(19)30256-6.
Herrington WG, Staplin N, Wanner C, Green JB, Hauske SJ, Emberson JR, et al. Empagliflozin in Patients with Chronic Kidney Disease. N Engl J Med 2023;388(2):117-27. doi: 10.1056/NEJMoa2204233.
Zaccardi F, Webb DR, Htike ZZ, Youssef D, Khunti K, Davies MJ. Efficacy and safety of sodium-glucose co-transporter-2 inhibitors in type 2 diabetes mellitus: systematic review and network meta-analysis. Diabetes Obes Metab 2016;18(8):783-94. doi: 10.1111/dom.12670.
Augusto GA, Cassola N, Dualib PM, Saconato H, Melnik T. Sodium-glucose cotransporter-2 inhibitors for type 2 diabetes mellitus in adults: An overview of 46 systematic reviews. Diabetes Obes Metab 2021;23(10):2289-2302. doi: 10.1111/dom.14470.
Vasilakou D, Karagiannis T, Athanasiadou E, Mainou M, Liakos A, Bekiari E, et al. Sodium-glucose cotransporter 2 inhibitors for type 2 diabetes: a systematic review and meta-analysis. Ann Intern Med 2013;159(4):262-74. doi: 10.7326/0003-4819-159-4-201308200-00007.