การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต้องเผชิญปัญหาการเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งใช้ระยะเวลานานในการรักษาพยาบาล เมื่ออาการทรุดลงผู้ป่วยมีทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความเจ็บปวด และอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ จึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ปัญหาสำคัญในดูแลผู้ป่วย คือ การวางแผนการดูแลล่วงหน้า ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน รวมทั้งการปฏิบัติการพยาบาลที่มีความหลากหลาย ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยและพัฒนา
วิธีการวิจัย: ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 – ธันวาคม พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบและ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 75 คน ผู้ป่วยจำนวน 60 และผู้ดูแล 60 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง รูปแบบการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินรูปแบบ แบบวัดความรู้ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ แบบตรวจสอบการปฏิบัติตามรูปแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นของการใช้รูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบวัดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และแบบประเมินคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และ t-test
ผลการวิจัย: 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 1) ด้านโครงสร้างนโยบายพบว่า บุคลากรที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ 2) ด้านอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ พบว่า การยืมไปใช้ที่บ้านมีการชำรุดจากใช้งานไม่ถูกต้อง และขาดงบประมาณในการจัดซื้อ 3) ด้านกระบวนการดูแลผู้ป่วย การส่งปรึกษาแพทย์ที่ดูแลแบบประคับประคองล่าช้า ทำให้การตรวจเยี่ยมและประเมินเพื่อวางแผนการดูแลล่วงหน้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติไม่ได้วัดผลลัพธ์หลังให้ความรู้ 2. ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการทางการพยาบาล ได้แก่ นโยบายการดูแลผู้ป่วย แนวปฏิบัติทางคลินิก (CPG, CNPG, Standing order) มีพยาบาลจัดการรายกรณี 2) ด้านการพยาบาลตามมาตรฐานการดูแล 7 Aspects of care 3) ด้านการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้ การชี้แจงแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย และผลการประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.9, SD=0.1) 3. ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ด้านผู้ปฏิบัติ มีความรู้เพิ่มขึ้น p<0.01) ความคิดเห็นต่อรูปแบบที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.6, SD=0.5) และปฏิบัติตามแนวปฏิบัติร้อยละ 98.7 กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น (p<0.01) ความพึงพอใจต่อบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.9, SD=0.2) ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองดีกว่ากว่ากลุ่มควบคุม (p<0.01) อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ร้อยละ 6.7 อัตราการกลับมารักษาที่แผนกฉุกเฉินร้อยละ10 การดูแลต่อเนื่องที่บ้านร้อยละ 80 การจัดการความปวดด้วย Strong opioid และการวางแผนล่วงหน้าร้อยละ 100
สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีการวางแผนล่วงหน้า พยาบาลวิชาชีพมีแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kuebler KK, Heidrich DE, Esper P. Palliative and end-of-life care : Clinical practice guideline. 2nd. ed. Philadelphia : Mosby ; 2006.
World Health Organization [Internet]. Definition of palliative care [cited 2023 Apr. 4]. Available from:URL: https://www. who.int/cancer/palliative/definition/en/.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2563.
คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2561–2565. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2562.
World Health Organization. Pain relief and palliative care in National cancer control programs. Policies and managerial guidelines. Geneva : Switzerland ; 2002 : 83-91.
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์, บรรณาธิการ. แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาล ศูนย์การุณรักษ์. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา ; 2561.
โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติข้อมูลการให้บริการ ปี พ.ศ. 2564-2566. สุรินทร์ ; โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
Parasuraman A, Zeithaml VA , Berry LL. A Conceptual Model of Service Quality and its Implication for Future Research. J Mark 1985;49(4):41-50. Doi 10.2307/1251430.
จุฬาภรณ์ คำพานุตย์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการจัดการตนเอง อาการหายใจลำบาก สมรรถภาพปอด และความวิตกกังวลในผู้สูงอายุที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2550.
เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะ, ทศพร ผลศิริ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2555;39(4):124-47.
กฤษดา แสวงดี, จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ. การประกันคุณภาพการพยาบาล ในโรงพยาบาล : งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพฯ : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ; 2544.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York : Academic Press ; 1977 : 384.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว ; 2545.
โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติข้อมูลการให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ปี พ.ศ. 2564-2566. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
วาโร เพ็งสวัสดิ์. การวิจัยและการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2552;1(2):1-12.
วัชรธน ขอพรกลาง. การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น ; 2560.
เพ็ญศรี จาบประไพ, บุญสืบ โสโสม, สุนันทา เตโช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง : การดูแลแบบไร้รอยต่อเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(6):1101-11.
นภาพร ตั้งพูลผลวนิชย์, นาถฤดี สุลีสถิร, สุณิสา ชื่นตา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563;5(2):36-45.
วาสนา สวัสดีนฤนาท, อมรพันธุ์ ธานีรัตน์, ธารทิพย์ วิเศษธาร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(1):144-56.
รัตนาภรณ์ รักชาติ, สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, กัญญา ศรีอรุณ, ปานจิต วงศ์ใหญ่, ภัทรนัย ไชยพรม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองและระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนต้นแบบหมู่บ้านปลอดมะเร็ง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2565;4(2):1-19.