การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ณปภัช นฤคนธ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: จากสถานการณ์จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นของ จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ครอบคลุม ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสมตามนโยบาย การขับเคลื่อนโครงการ”ครอบคัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา จึงต้องการทราบสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และที่มีบริบทใกล้เคียงกับจังหวัดนครราชสีมา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 390 คน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 9 คน และผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนก
และจัดกลุ่มข้อมูล
ผลการศึกษา: พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น กิจกรรมดูแลสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตามหลักความสุข 5 มิติ (สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ) ปัญหา และแนวทางการแก้ไข (1) จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี การแก้ไขปัญหา โดยการสำรวจจำนวนผู้สูงอายุที่เป็นจริง และผู้สูงอายุต้องเข้าถึงสิทธิการรักษาอย่างทั่วถึง (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 6 ปัจจัย ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ มีการดำเนินงาน การวางแผน ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผล ปรับปรุง (3) การประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หรือ EP-KORAT model มีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้จริง
สรุป: EP-KORAT model สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารประกอบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) – Digital Transformation (nstda.or.th)

Cowgill DO. Aging around the world. Belmont, Calif : Wadsworth Pub. Co. ; 1986.

Marketeer Online. สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://marketeeronline.co/archives/272771.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2565. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาจังหวัด ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี : กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ; 2566.

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA : Jossey-Bass ; 2007.

Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. ed. New York : Harper and Row ; 1973.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2554.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic. html.