มาตรการและระยะเวลาในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

นิธิกุล เต็มเอี่ยม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เริ่มต้นเมื่อมกราคม พ.ศ.2563 ที่อู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดทั่วโลก การควบคุมโรคนี้ทำตามมาตรการของแต่ละประเทศ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยเรือนจำเป็นสถานที่พิเศษที่เมื่อเกิดการระบาดแล้ว การควบคุมโรคหลังการระบาดยากและมักใช้เวลานาน เรือนจำที่ศึกษานี้ มีการระบาดของโรค COVID-19 ในปลายปี พ.ศ. พ.ศ.2564
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษามาตรการและระยะเวลาในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้ข้อจำกัดด้านอัตรากำลังและพื้นที่ ในเรือนจำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลเหตุการณ์ในช่วงเกิดการระบาด รวมถึงมาตรการก่อนเกิดการระบาดจนถึงช่วงระบาด และมาตรการที่ใช้เพื่อควบคุมการระบาดในเรือนจำที่ศึกษา ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลทั้งจากภายในเรือนจำ สถานพยาบาล และการประชุมหารือในวาระต่าง ๆ
ผลการศึกษา: ผลการศึกษา มาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้รับการปรับตามบริบทและสถานการณ์ มาตรการระหว่างการระบาดประกอบด้วยการกักตัว 14 วัน และตรวจ rt PCR ก่อนนำเข้าแดนสองรอบ และมีโรงพยาบาลสนามนอกเรือนจำที่ติดตั้งทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัด ผู้ต้องหาถูกแยกโซนนอนและมีอาสาสมัครเรือนจำช่วยดูแลผู้ติดเชื้อ การคัดแยกใช้การตรวจ ATK และ rt PCR เพื่อคัดกรองผู้เสี่ยง พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดในการระบาดครั้งนี้จำนวน 1,954 ราย ผลการรักษา มีผู้ต้องขังเสียชีวิตหนึ่งราย น้ำหนัก 102 กิโลกรัม ยังไม่มีประวัติรับวัคซีน หลังติดเชื้อพบมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ทีมรักษาของโรงพยาบาลสนามได้ส่งตัวตัวผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลนาน 10 วันจึงเสียชีวิต ผู้ติดเชื้อที่เหลือทั้งหมด รักษาหายเป็นปกติ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อรายแรกจนถึงรายสุดท้าย คือ 22 วัน และรวมระยะการเฝ้าระวังทั้งหมด 36 วัน จึงสิ้นสุดการระบาดในเรือนจำแห่งนี้
สรุป: การควบคุมโรคครั้งนี้ใช้เวลาในการควบคุมโรคและเฝ้าระวังทั้งหมด 36 วัน โดยใช้มาตรการเป็นขั้นตอนตาม บริบท ของพื้นที่ อัตรากำลัง ทรัพยากรและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายภายหลังส่งไปรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะสามารถนำปรับใช้ได้ในกรณีที่มีสถานการณ์และบริบทที่ใกล้เคียงกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Novel Coronavirus (2019-nCoV) : SITUATION REPORT – 1. 21 January 2020. [Internet]. [cited 8 March 2023]. Available from:URL: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200121-sitrep-1-2019-ncov.pdf

โรคไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. [Internet]. [cited 8 March 2023]. Available from:URL: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-03-12-tha-sitrep-19-covid19-pb-th.pdf?sfvrsn=1e179bd4_2

สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สธ. เผยยังคงพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 รายใหม่ เชิญชวนประชาชนพกหน้ากากอนามัยติดตัวป้องกันตนเอง. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/138005/.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย 21 มีนาคม 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2426720220330084652.pdf.

World Health Organization Thailand. COVID-19 Situation, Thailand 10 August 2022. [Internet]. [cited 8 March 2023]. Available from:URL: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_08_10_tha-sitrep-244-covid-19.pdf.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. ฉบับที่ 12 วันที่ 15 มกราคม 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no12-150163.pdf.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ฉบับที่ 367 วันที่ 4 มกราคม 2564. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no367-040164.pdf.

McMichael TM, Currie DW, Clark S, Pogosjans S, Kay M, Schwartz NG, et al. Epidemiology of Covid-19 in a Long-Term Care Facility in King County, Washington. N Engl J Med 2020;382(21):2005-11. doi: 10.1056/NEJMoa2005412

Yang H, Thompson JR. Fighting covid-19 outbreaks in prisons. BMJ 2020;369:m1362. doi: 10.1136/bmj.m1362.

Cingolani M, Caraceni L, Cannovo N, Fedeli P. The COVID-19 Epidemic and the Prison System in Italy. J Correct Health Care 2021;27(1):3-7. doi: 10.1089/jchc.20.04.0026.

ข้อมูลจากการแถลงข่าวภาคเที่ยงโดย ศบค. กระทรวงสาธารณสุข. World Health Organization Thailand . โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด 19) ความคืบหน้าสถานการณ์ในประเทศไทย ฉบับที่ 167 วันที่ 5 เมษายน 2564. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2021_04_05_tha-sitrep-167-covid19.pdf?sfvrsn=cadc2135_5

Leibowitz AI, Siedner MJ, Tsai AC, Mohareb AM. Association Between Prison Crowding and COVID-19 Incidence Rates in Massachusetts Prisons, April 2020-January 2021.

JAMA Intern Med 2021;181(10):1315-21. doi: 10.1001/jamainternmed.2021.4392.

Hershow RB, Segaloff HE, Shockey AC, Florek KR, Murphy SK, DuBose W, et al. Rapid Spread of SARS-CoV-2 in a State Prison After Introduction by Newly Transferred Incarcerated Persons - Wisconsin, August 14-October 22, 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2021;70(13):478-82. doi: 10.15585/mmwr.mm7013a4.

Nowotny KM, Seide K, Brinkley-Rubinstein L. Risk of COVID-19 infection among prison staff in the United States. BMC Public Health 2021;21(1):1036. doi: 10.1186/s12889-021-11077-0.

Silva AID, Maciel ELN, Duque CLC, Gomes CC, Bianchi EDN, Cardoso OA, et al. Prevalence of COVID-19 infection in the prison system in Espírito Santo/Brazil: persons deprived of liberty and justice workers. Rev Bras Epidemiol 2021;24:e210053. doi: 10.1590/1980-549720210053.