การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลระดับอำเภอในเขตชุมชนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปี 2565 นโยบายกระทรวงสาธารณสุขมุ่งสู่ประเทศใช้ยาสมเหตุผล โดยกำหนดเป้าหมายให้จังหวัดมีอำเภอใช้ยาสมเหตุผล ซึ่งอำเภอเมืองสุรินทร์ยังไม่บรรลุเป้าหมายจึงเกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพและชุมชนในการแก้ปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพท์การดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลและพัฒนาระบบบริการเป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผลในเขตชุมชนเมือง
วิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในประชากร 3 กลุ่ม 1) ผู้ป่วยโรงพยาบาลสุรินทร์ที่ได้รับวินิจฉัยโรคใน 12 ตัวชี้วัด 2) ผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน 2 ตัวชี้วัด 3) ประชาชนในตำบลนาดีและตะเปียงจรัง มีระยะเวลา 12 เดือน (กรกฎาคม พ.ศ.2565- มิถุนายน พ.ศ.2566) โดยแบ่ง 4 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์จากตัวชี้วัดเทียบกับเป้าหมาย ระยะที่ 2 พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลโดยใช้นโยบาย 1) PLEASE 2) 9มาตรการก้าวหน้าก้าวด้วยกัน 3) เชิงรุกชุมชนใช้ยาสมเหตุผล ระยะที่ 3 ดำเนินการ ระยะที่ 4 ประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Chi-square และ t-test
ผลการวิจัย: ผลลัพธ์หลังพัฒนา อำเภอเมืองสุรินทร์เป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผล โดย1)โรงพยาบาลสุรินทร์ใช้ยาสมเหตุผลระดับ 3 ผ่านเกณฑ์12 ตัวชี้วัดโดยการใช้ยาห้ามใช้ Statin ในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0 และ การใช้ยา Inhaled corticosteroid ในผู้ป่วยหืดเรื้อรังจากร้อยละ 82.3 มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p value<.001) 2)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใช้ยาสมเหตุผลระดับ3 ครบ 27 แห่ง 3) และมีชุมชนใช้ยาสมเหตุผล 2 ชุมชน) ในการพัฒนาพบปัญหาก่อนพัฒนาคือการกำหนดนโยบายการสื่อสารและกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และได้พัฒนากลไก PLEASE 9มาตรการก้าวหน้าก้าวด้วยกัน และเชิงรุกชุมชนใช้ยาสมเหตุผล
สรุป: อำเภอเมืองสุรินทร์เป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผล ที่ประกอบด้วยโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระดับ3 ทุกแห่ง และชุมชนใช้ยาสมเหตุผล 2 ชุมชน จากที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Promoting rational use of medicines. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://www.who.int/activities/promoting-rational-use-of-medicines.
นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินทร์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. Advocacy on rational drug use policy in Thailand. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2565;16(3):281-8.
กรมบัญชีกลาง. แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ กระทรวงการคลัง. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง ; 2561.
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. เร่งขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลผ่านบัญชีนวัตกรรมไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. ค้นได้จาก: URL:https://www.bangkokbiznews.com/social/809889.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ; 2562.
กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:http://ndi.fda.moph.go.th/drug_use.
กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน พัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (Rational Drug Use Community : RDU Community). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ; 2563.
ชัยรัตน์ ฉายากุล, สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ, พาขวัญ ปุณณุปูรต, ผุสดี ปุจฉาการ, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิชนุกูล, นริสา ตัณทัยย์ และคณะ. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ; 2560.
สุทธินี เรื่องสุพันธุ์, วรวุฒิ สุพิชญ์, สมพร พานสุวรรณ. การจัดการเชิงระบบสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายอำเภอโนนสูง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2563;26(2):61-78.
มลิวัลย์ จิระวิโรจน์, รุจาภา โสมาบุตร, ผลการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อระบบการหายใจช่วงบน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลยโสธร. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2564;27(2);65-77.
พรรณนภา ศรีสวัสดิ์. ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล : พื้นที่นำร่องอำเภอใช้ยาสมเหตุผลจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566;2(ฉบับที่ พิเศษ):43-55.
นรากรณ์ นราธิกรณ์ฤทธิ์. ผลลัพธ์การใช้ยาปฏิชีวนะภายหลังการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2563;26(1):52-61.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์ ; 2566.
สมาคมอุุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชููปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและบำบัดโรคหืดในผู้ใหญ่ สำหรับอายุุรแพทย์และแพทย์ทั่วไปในประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี ; 2566.