การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลละหานทรายมีปัจจัยหลายอย่างที่ควรพัฒนาและปรับปรุง เช่น CPG ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บุคลากรใหม่ไม่เข้าใจแนวปฏิบัติที่วางไว้ และมีผู้ป่วยมารับยาไม่ต่อเนื่อง ขาดความรู้เรื่องการใช้ยา การพัฒนาระบบให้มีคุณภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบริการตามมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยจากการใช้ยา
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลละหานทราย
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ช่วงเวลา พฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2567 มีผู้ร่วมกระบวนการวิจัยคือ ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 13 คน ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ และกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี 100 คน โดยนำการวิเคราะห์สถานการณ์ของสภาพปัญหาของผู้ป่วย/รูปแบบการบริการของเจ้าหน้าที่ มาใช้ในการประชุมวางแผน การพัฒนาแนวปฏิบัติ และติดตามประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความรู้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสเปรียบเทียบก่อนและหลังศึกษาด้วยสถิติทดสอบที (Paired t-test)
ผลการศึกษา: ประเมินผลหลังปรับรูปแบบใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความรู้ที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (x = 7.5) เป็นระดับมาก (x = 12.8) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ความพึงพอใจมีภาพรวมค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 81.5 และอัตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาต้านไวรัสสามารถกดไวรัสได้สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 99.7
สรุป: การพัฒนารูปแบบทางการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลละหานทราย ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ด้านยาเพิ่มขึ้น มารับยาต่อเนื่อง พึงพอใจในการให้บริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรีชา มนทกานติกุล, ปวีณา สนธิสมบัติ, นวกรณ์ วิมลสาระวงค์, สุทธิพร ภัทรชยากุล. คู่มือสำหรับเภสัชกรการดูแลผู้ติดเชื้อเอช ไอ วีและผู้ป่วยโรคเอดส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด ; 2550.
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการยุติปัญหาเอดส์ ประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2569. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : เอ็นซี คอนเซ็ปต์ ; 2566.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุุมโรค กระทรวงสาธารณสุุข. แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟ ฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2565.
ภัทรกันย์ วงค์ตาหล้า. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในรักษ์สุขภาพ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2564;6(3):91-103.
ประจักร เหิกขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลส่องดาว. วารสารโรคเอดส์ 2564;33(3):151-164. DOI:https://doi.org/10.14456/taj.2021.13
วิญญู จันทร์เนตร, กัลยาณี จันธิมา, ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ. การพัฒนาระบบการจัดบริการที่มีผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์เป็นศูนย์กลาง ในโรงพยาบาล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร.9 2564;27(1):26-35.
อรทัย ศรีทองธรรม, ศุภศรัย สง่าวงศ์, ศิริวรรณ อุทธา, อุบลศรี ทาบุดดา, จิรพันธุ์ อินยาพงศ์. การพัฒนารูปแบบการให้บริการสนับสนุนการกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ภาคอีสาน ประเทศไทย.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2561;16(2):18-37.
วาทินี ทิพจ้อย, อรสา กงตาล. การวิเคราะห์ศักยภาพผู้ให้บริการสุขภาพในการดูแลชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการหญิง และคู่ที่มีผลเลือดบวก ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารโรคเอดส์ 2565 ;34(2):131-143. DOI:https://doi.org/10.14456/taj.2022.10
ดวงเนตร ธรรมกุล, ศิริพร ครุฑกาศ, อุษณีย์ เทพวรชัย, เยาวรัตน์ อินทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์. วารสารวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553;4(2):1-11.
Yamane Taro. Statistics. An introductory analysis. 3rd. ed. New York : Harper and Row ; 1973.
ศิริพรรณ ชาญสุกิจเมธี. แผนที่ความคิด. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2567]. ค้นได้จาก:URL: https://www.si.mahidol.ac.th/TH/DIVISION/NURSING/NDIVISION/N_QD/ADMIN/DOWNLOAD_FILES/34_72_1.PDF.
สิทธิพล บุญมั่น. การพัฒนาเครื่องมือและประเมินความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี. [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว, คณะแพทยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2562.
อุไรวัลย์ โกเสนตอ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ HIV ณ โรงพยาบาลดารารัศมี เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2558;11(1):1-11.