ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะปากมดลูกสั้นกับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาครรภ์แรกและครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำในโรงพยาบาลชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะปากมดลูกสั้นในหญิงตั้งครรภ์แรกหรือครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำ กับการคลอดก่อนกำหนดและผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์
วิธีการศึกษา: การศึกษาติดตามไปข้างหน้า เก็บข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จำนวน 144 คน เก็บข้อมูลโดยการวัดความยาวปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์ 16 ถึง 24 สัปดาห์และติดตามไปจนคลอด ทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-squared test หรือ Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: พบว่า ค่าเฉลี่ยของความยาวปากมดลูกในกลุ่มครรภ์แรกมีค่าเท่ากับ 34.0 ± 0.7 มิลลิเมตร ในกลุ่มครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำมีค่าเท่ากับ 38.0 ± 0.9 มิลลิเมตร กลุ่มครรภ์แรกตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้น 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 กลุ่มครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้น 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 พบว่าภาวะปากมดลูกสั้นมีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดในประชากรกลุ่มที่ตั้งครรภ์แรก และมีความ สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของมารดาขณะคลอด เช่น ภาวะทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
สรุปผล: ค่าเฉลี่ยความยาวปากมดลูกของประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้นในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ถือว่ามีประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในกลุ่มตั้งครรภ์ครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อช่วยให้แพทย์มีความตระหนักในเรื่องความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด นำไปสู่การรักษาด้วยยากลุ่มโปรเจสเตอโรนในครรภ์นี้และป้องกันการเกิดการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Practice Bulletin No. 159: Management of Preterm Labor. Obstet gynecol 2016;127(1):e29-e38. doi: 10.1097/AOG.0000000000001265.
Beck S, Wojdyla D, Say L, Betran AP, Merialdi M, Requejo JH, et al. The worldwide incidence of preterm birth: a systematic review of maternal mortality and morbidity. Bull World Health Organ 2010;88(1):31-8. doi: 10.2471/BLT.08.062554.
World Health Organization. World Prematurity Day 2012 . [Internet]. Cited September 18, 2019]. Available from:URL: https://pmnch.who.int/news-and-events/news/item/17-11-2012-world-prematurity-day-2012.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse D J, Spong CY. William obstetrics. 23nded. New York : Mc GRAW- Hill ; 2010.
กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2560. นนทบุรี : กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.
Ressel GW; ACOG. ACOG releases bulletin on managing cervical insufficiency. Am Fam Physician 2004;69(2):436, 439. PMID: 14765786.
Werner EF, Han CS, Pettker CM, Buhimschi CS, Copel JA, Funai EF, et al. Universal cervical-length screening to prevent preterm birth: a cost-effectiveness analysis. Ultrasound Obstet Gynecol 2011;38(1):32-7. doi: 10.1002/uog.8911.
Hibbard JU, Tart M, Moawad AH. Cervical length at 16-22 weeks' gestation and risk for preterm delivery. Obstet Gynecol 2000;96(6):972-8. doi: 10.1016/s0029-7844(00)01074-7.
Lim K, Butt K, Crane JM. SOGC Clinical Practice Guideline. Ultrasonographic cervical length assessment in predicting preterm birth in singleton pregnancies. J Obstet Gynaecol Can 2011;33(5):486-99. doi: 10.1016/S1701-2163(16)34884-8.
Crane JM, Hutchens D. Transvaginal sonographic measurement of cervical length to predict preterm birth in asymptomatic women at increased risk: a systematic review. Ultrasound Obstet Gynecol 2008;31(5):579-87. doi: 10.1002/uog.5323.
Society for Maternal-Fetal Medicine Publications Committee, with assistance of Vincenzo Berghella. Progesterone and preterm birth prevention: translating clinical trials data into clinical practice. Am J Obstet Gynecol 2012;206(5):376-86. doi: 10.1016/j.ajog.2012.03.010.
American College of Obstetricians and Gynecologists; Committee on Practice Bulletins—Obstetrics. ACOG practice bulletin no. 127: Management of preterm labor. Obstet Gynecol 2012;119(6):1308-17. doi: 10.1097/AOG.0b013e31825af2f0.