ปัจจัยทำนายโอกาสการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดของการใช้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ในคนไข้หัวใจขาดเลือดชนิด Acute ST Segment Elevation Myocardial Infarction
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วย Acute ST segment elevation myocardial infarction (STEMI) ในจังหวัดศรีสะเกษมีระบบเครือข่ายปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจให้แก่ทุกโรงพยาบาลชุมชนผ่านทางไลน์กลุ่มปรึกษา เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและไม่มีข้อห้ามในการให้ยา Streptokinase (SK) ผู้ป่วยจะได้ยาตั้งแต่ที่โรงพยาบาลชุมชนและประเมินที่ 60-90 นาที หลังให้ยาว่าหลอดเลือดโคโรนารีเปิดหรือไม่ ถ้าหลอดเลือดโคโรนารีไม่เปิด ผู้ป่วยจะถูกนำส่งมาห้องสวนหัวใจโรงพยาบาลศรีสะเกษเพื่อทำ Rescue percutaneous coronary angioplasty (Rescue PCI) ในจังหวัดศรีสะเกษมีอำเภอที่อยู่ห่างจากจังหวัดใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที ประมาณ 6 อำเภอ ถ้าสามารถทำนายโอกาสที่หลังจากใช้ยา SK ในผู้ป่วย STEMI แล้วโอกาสที่หลอดเลือดโคโรนารีจะไม่เปิดสูง ในโรงพยาบาลชุมชนที่ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 60 นาที กลุ่มนี้ควรจะเลือก Primary percutaneous coronary angioplasty (Primary PCI) โรงพยาบาลที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที อาจเริ่มให้ยาในรถฉุกเฉินพร้อมส่งตัวมาโรงพยาบาลศรีสะเกษเลยโดยไม่ต้องรอยาครบ 60-90 นาที เพื่อลดโอกาสเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการเสียชีวิตและลดภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด SK ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI
วิธีการศึกษา: Retrospective Cohort Study เก็บข้อมูลตั้งแต่กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566- กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จำนวน 140 คน
โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ถูกรับไว้ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายใน 12 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการและได้รับ SK ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดศรีสะเกษ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 140 คน เพศชายร้อยละ 66.4 ผู้ป่วยที่ล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดหลังให้ยา SK ร้อยละ 31.4 ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของ SK ได้แก่ผู้ป่วย Killip class 4 มี การเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 5.1 เท่า(95%CI 1.8-15.0, p-value 0.003) ของผู้ป่วยที่มี Killip class 1 เมื่อควบคุม left ventricular ejection fraction (LVEF) และระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ผู้ป่วย LVEF< 40% มีการเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 5.9 เท่า (95%CI 1.6-21.9, p-value 0.008) ของผู้ป่วยที่มี LVEF≥ 40% เมื่อควบคุม Killip และระดับ น้ำตาลในเลือดแล้ว ผู้ป่วยระดับ random blood sugar ≥ 200 mg/dl มีการเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 3.0 เท่า (95%CI 1.2-8.0, p-value 0.03) ของผู้ป่วยที่ มี random blood sugar < 200 mg/dl เมื่อควบคุม Killip และ LVEF แล้ว
สรุป: ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่หลอดเลือดโคโรนารีไม่เปิดสูงหลังให้ยา SK คือผู้ป่วย STEMI ที่มีภาวะ Killip class 4, LVEF <40% และมีภาวะน้ำตาลในเลือด (Random blood sugar≥200 mg/dl) ในกรณีที่โรงพยาบาลชุมชนเดินทางน้อยกว่า 60 นาทีอาจพิจารณาทำ Primary PCI หรือในกรณีที่โรงพยาบาลชุมชุมที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที พิจารณาให้ยา SK ในรถฉุกเฉินพร้อมส่งตัวมาโรงพยาบาลศรีสะเกษเลย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. หนังสือสถิติสาธารณสุข พ.ศ.2565. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ; 2566.
กองตรวจราชการ สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2. นนทบุรี : สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ ; 2565.
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ Service plan สาขาหัวใจของจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2567. ศรีสะเกษ : หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ; 2567. (เอกสารอัดสำเนา).
Widimsky P, Wijns W, Fajadet J, de Belder M, Knot J, Aaberge L, et al. Reperfusion therapy for ST elevation acute myocardial infarction in Europe: description of the current situation in 30 countries. Eur Heart J 2010;31(8):943-57. doi: 10.1093/eurheartj/ehp492.
Mahendra S, Setianto BY, Hariawan H. Prediction of failed fibrinolytic using scoring system in ST elevation myocardial infarction patients. ACI 2016;2(2):39-46.
Armstrong PW, Gershlick AH, Goldstein P, Wilcox R, Danays T, Lambert Y, et al. Fibrinolysis or primary PCI in ST-segment elevation myocardial infarction. N Engl J Med 2013;368(15):1379-87. doi: 10.1056/NEJMoa1301092.
Gershlick AH, Stephens-Lloyd A, Hughes S, Abrams KR, Stevens SE, Uren NG, et al. Rescue angioplasty after failed thrombolytic therapy for acute myocardial infarction. N Engl J Med 2005;353(26):2758-68. doi: 10.1056/NEJMoa050849.
ฤดีกร อื้อเศรษฐศักดิ์. ปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ Streptokinase ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Segment Elevation Myocardial Infarction ที่วินิจฉัยและเริ่มใช้ยาที่โรงพยาบาลชุมชน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(2):373-80.
วตากานต์ สุราษฏร์, รชนิศ เย็นสบาย, ณัฐพล ขจรวิทยากุล, ไกรฤกษ์ ชวลิตกุล, กัญญารัตน์ เหล่ายัง, กฤดา เอื้อกฤดาธิการ และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวของการใช้ยา Streptokinase ในการรักษาผู้ป่วย STEMI: การศึกษาแบบย้อนหลัง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2557;8(3):238-450.
Hollenberg SM, Kavinsky CJ, Parrillo JE. Cardiogenic shock. Ann Intern Med 1999;131(1):47-59. doi: 10.7326/0003-4819-131-1-199907060-00010.
Gregg EW, Sattar N, Ali MK. The changing face of diabetes complications. Lancet Diabetes Endocrinol 2016;4(6):537-47. doi: 10.1016/S2213-8587(16)30010-9.
Kataja A, Tarvasmäki T, Lassus J, Cardoso J, Mebazaa A, Køber L, et al. The association of admission blood glucose level with the clinical picture and prognosis in cardiogenic shock - Results from the CardShock Study. Int J Cardiol 2017;226:48-52. doi: 10.1016/j.ijcard.2016.10.033.