การป้องกันการจ่ายยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง โดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือนโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

กัญปภัส มัชฌิมาภิโร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การสั่งยาซ้ำซ้อน จัดเป็นความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาชนิดหนึ่งและเป็นการสั่งใช้ยาไม่สมเหตุสมผล อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา และอาจนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อป้องกันและดักจับคำสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง โดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน และศึกษาผลลัพธ์การดำเนินการ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ โดยการศึกษาลักษณะและขนาดของปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน ระยะที่ 2 ดำเนินการโดยออกแบบระบบแจ้งเตือนในโปรแกรมและดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test ผลการวิจัยมีดังนี้
ผลการศึกษ: การศึกษาในปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีการสั่งยาซ้ำซ้อนจำนวน 74 รายงาน คิดเป็นร้อยละ 5.0 โดยมี 2 เหตุการณ์เป็นความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E จากสาเหตุผู้ป่วยได้รับยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง หลังจัดทำโปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 พบว่าโปรแกรมสามารถดักจับการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกัน จำนวน 2,138 และ 2,596 ครั้ง คิดเป็นยากลุ่ม Dihydropyridine Calcium Channel Blockers (DHP-CCBs) 1,023 (ร้อยละ 47.8) 1,349 (ร้อยละ 51.9) Angiotensin Receptor Blockers (ARBs) 53 (ร้อยละ 2.5) 119 (ร้อยละ 4.6) Beta blockers 493 (ร้อยละ 23.1) 627 (ร้อยละ 24.2) Alfa-blockers 569 (ร้อยละ 26.6) 501 (ร้อยละ 19.3) ตามลำดับ เภสัชกร consult แพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยา จำนวน 15 และ 31 ครั้ง แพทย์ปรับคำสั่งการใช้ยาตามคำแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 100.0 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของโปรแกรมแจ้งเตือน HOMC ต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนของกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จาก Chi-square test มีดังนี้คือ ความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ B เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2565 (OR 2.59 95%CI 1.30-5.14 p=0.008) ความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ C ขึ้นไป ที่ลดลงในปีงบประมาณ 2564 (OR 0.17 95%CI 0.04-0.76 p=0.019) และปีงบประมาณ 2565 (OR 0.17 95%CI 0.04-0.75 p=0.017)
สรุป: การป้องกันการสั่งยาซ้ำซ้อนโดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน อาจจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาจากการจ่ายยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกันได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ยังต้องใช้องค์ความรู้ของทีมสหสาขาวิชาชีพในการช่วยคัดกรองคำสั่งใช้ยาของแพทย์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

No authors listed. ASHP guidelines on preventing medication errors in hospitals. Am J Hosp Pharm 1993;50(2):305-14. PMID: 8480790

ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, ปรีชา มนทกานติกุล, บรรณาธิการ. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร : สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ; 2547.

ปิยะนุช สามทิพย์. การศึกษาเชิงรุกของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2557;24(1):20-31.

Hanlon JT, Schmader KE, Semla TP. Update of studies on drug-related problems in older adults. J Am Geriatr Soc 2013;61(8):1365-8. doi: 10.1111/jgs.12354.

Steinman MA, Landefeld CS, Rosenthal GE, Berthenthal D, Sen S, Kaboli PJ. Polypharmacy and prescribing quality in older people. J Am Geriatr Soc 2006;54(10):1516-23. doi: 10.1111/j.1532-5415.2006.00889.x.

Heinze G, Jandeck LM, Hronsky M, Reichardt B, Baumgärtel C, Bucsics A, et al. Prevalence and determinants of unintended double medication of antihypertensive, lipid-lowering, and hypoglycemic drugs in Austria: a nationwide cohort study. Pharmacoepidemiol Drug Saf 2016;25(1):90-9. doi: 10.1002/pds.3898.

Kim DS, Je NK, Kim GJ, Kang H, Kim YJ, Lee S. Therapeutic duplicate prescribing in Korean ambulatory care settings using the National Health Insurance claim data. Int J Clin Pharm 2015;37(1):76-85. doi: 10.1007/s11096-014-0042-7.

ปรีดา เบญจนากาศกุล. อัตราการสั่งยาซ้ำซ้อนของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช. 2559;9(2):53-61.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, กาญจนาภรณ์ ตาราไต, สถาพร ณ ราชสีมา, สุรศักดิ์ ไชยสงค์. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;14(4):405-16.