ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆในร่างกาย รวมถึงมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้เกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ช่วงกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2567 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจมวลกล้ามเนื้อด้วยเครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดแรงบีบมือ ตรวจสมรรถภาพทางกายด้วยการวัดอัตราเร็วในการเดินระยะ 6 เมตรและการลุกนั่งเก้าอี้ 5 ครั้ง วินิจฉัยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ตามเกณฑ์ Asian Working Group for Sarcopenia 2019 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติิเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ chi2, independent t-test, univariable และ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการวิจัย 154 ราย ผ่านเกณฑ์คัดเลือก 150 ราย (ร้อยละ 97.4) พบว่ามีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) 78 ราย (ร้อยละ 52.0) และมีภาวะมวล กล้ามเนื้อน้อยชนิดรุนแรง (Severe sarcopenia) 28 ราย (ร้อยละ 18.7) พิจารณาแยกรายปัจจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ดัชนีมวลกาย OR=0.80(P<0.001) รอบต้นแขน OR=0.78(P<0.001) รอบเอว OR=0.95(P=0.01) รอบน่อง OR=0.81 (P<0.001) และโรคประจำตัว OR=0.38 (P=0.03) พิจารณาปัจจัยร่วมพบว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ aOR=1.09(P=0.02) และดัชนีมวลกาย aOR=0.79(P<0.001) ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางคลินิกได้แก่ การไม่มีผู้ดูแล(aOR=2.10) และผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม (aOR=3.43)
สรุป: 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย อายุที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ปัจจัยป้องกันคือดัชนีมวลกาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร. [อินเตอร์เน็ท]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/1.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548 – 2568 มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับเดือนมีนาคม 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์ ; 2549.
Ackermans LLGC, Rabou J, Basrai M, Schweinlin A, Bischoff SC, Cussenot O, et al. Screening, diagnosis and monitoring of sarcopenia: When to use which tool? Clin Nutr ESPEN. 2022 Apr;48:36-44. doi: 10.1016/j.clnesp.2022.01.027.
Cruz-Jentoft AJ, Bahat G, Bauer J, Boirie Y, Bruyère O, Cederholm T, et al. Sarcopenia: revised European consensus on definition and diagnosis. Age Ageing. 2019 Jan 1;48(1):16-31. doi: 10.1093/ageing/afy169.
Chen LK, Woo J, Assantachai P, Auyeung TW, Chou MY, Iijima K, et al.
Asian Working Group for Sarcopenia: 2019 Consensus Update on Sarcopenia Diagnosis and Treatment. J Am Med Dir Assoc. 2020 Mar;21(3):300-307.e2. doi: 10.1016/j.jamda.2019.12.012.
วชิรนันท์ ศิริกุล. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน (Community Geriatrics). เชียงใหม่ ; ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2564 (เอกสารอัดสำเนา).
Petermann-Rocha F, Balntzi V, Gray SR, Lara J, Ho FK, Pell JP, et al. Global prevalence of sarcopenia and severe sarcopenia: a systematic review and meta-analysis. J Cachexia Sarcopenia Muscle. 2022 Feb;13(1):86-99. doi: 10.1002/jcsm.12783.
Yuan S, Larsson SC. Epidemiology of sarcopenia: Prevalence, risk factors, and consequences. Metabolism. 2023 Jul;144:155533. doi: 10.1016/j.metabol.2023.155533.
Stuck AK, Tsai LT, Freystaetter G, Vellas B, Kanis JA, Rizzoli R, et al.
Comparing Prevalence of Sarcopenia Using Twelve Sarcopenia Definitions in a Large Multinational European Population of Community-Dwelling Older Adults. J Nutr Health Aging. 2023;27(3):205-212. doi: 10.1007/s12603-023-1888-y.
Choo YJ, Chang MC. Prevalence of Sarcopenia Among the Elderly in Korea: A Meta-Analysis. J Prev Med Public Health. 2021 Mar;54(2):96-102. doi: 10.3961/jpmph.21.046.
Chen Z, Li WY, Ho M, Chau PH. The Prevalence of Sarcopenia in Chinese Older Adults: Meta-Analysis and Meta-Regression. Nutrients. 2021 Apr 24;13(5):1441. doi: 10.3390/nu13051441.
Liu J, Zhu Y, Tan JK, Ismail AH, Ibrahim R, Hassan NH. Factors Associated with Sarcopenia among Elderly Individuals Residing in Community and Nursing Home Settings: A Systematic Review with a Meta-Analysis. Nutrients. 2023 Oct 11;15(20):4335. doi: 10.3390/nu15204335.
Ren X, Zhang X, He Q, Du L, Chen K, Chen S, et al. Prevalence of sarcopenia in Chinese community-dwelling elderly: a systematic review. BMC Public Health. 2022 Sep 8;22(1):1702. doi: 10.1186/s12889-022-13909-z.
Yeung SSY, Reijnierse EM, Pham VK, Trappenburg MC, Lim WK, Meskers CGM, et al. Sarcopenia and its association with falls and fractures in older adults: A systematic review and meta-analysis. J Cachexia Sarcopenia Muscle. 2019 Jun;10(3):485-500. doi: 10.1002/jcsm.12411.
Kitamura A, Seino S, Abe T, Nofuji Y, Yokoyama Y, Amano H, et al.
Sarcopenia: prevalence, associated factors, and the risk of mortality and disability in Japanese older adults. J Cachexia Sarcopenia Muscle. 2021 Feb;12(1):30-38. doi: 10.1002/jcsm.12651.
Whaikid P, Piaseu N. The prevalence and factors associated with sarcopenia in Thai older adults: A systematic review and meta-analysis. Int J Nurs Sci. 2023 Dec 3;11(1):31-45. doi: 10.1016/j.ijnss.2023.11.002.
Pongchaiyakul C, Limpawattana P, Kotruchin P, Rajatanavin R. Prevalence of sarcopenia and associated factors among Thai population. J Bone Miner Metab. 2013 May;31(3):346-50. doi: 10.1007/s00774-013-0422-4.
พูนศรี ไชยทองเครือ, ภารดี เต็มเจริญ, วศินา จันทรศิริ, ศริศักดิ์ สุนทรไชย. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ของผู้สูงอายุในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2564;46(2):103-10.
Gao Q, Hu K, Yan C, Zhao B, Mei F, Chen F, et al. Associated Factors of Sarcopenia in Community-Dwelling Older Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis. Nutrients. 2021 Nov 27;13(12):4291. doi: 10.3390/nu13124291.
Wu X, Li X, Xu M, Zhang Z, He L, Li Y. Sarcopenia prevalence and associated factors among older Chinese population: Findings from the China Health and Retirement Longitudinal Study. PLoS One. 2021 Mar 4;16(3):e0247617. doi:10.1371/journal.pone.0247617.
วิสารัตน์ ธีระโกเม, ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน, นริศร ลักขณานุรักษ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุไทย. จุฬาอายุรศาสตร์ 2563;33(1):17-33.
เดชา พรมกลาง, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, สุกัญญา ตันติประสพลาภ. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุใน ชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(1):49-60.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. การใช้บริการสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a.
Calculator.net. Sample Size Calculator. [Internet]. [cited 2023 Dec 21]. Available from:URL: https://www.calculator.net/sample-size-calculator.html.
Sri-On J, Fusakul Y, Kredarunsooksree T, Paksopis T, Ruangsiri R. The prevalence and risk factors of sarcopenia among Thai community-dwelling older adults as defined by the Asian Working Group for Sarcopenia (AWGS-2019) criteria: a cross-sectional study. BMC Geriatr. 2022 Oct 7;22(1):786. doi: 10.1186/s12877-022-03471-z.